สภาเภสัชฯ เต้นเอกชนแอบผลิต ผช.เภสัชกร เปิดอบรมทฤษฎี-ปฏิบัติแค่ 90 ชั่วโมง เสียค่าอบรมเกือบ 2 หมื่นบาท เตือนอย่าหลงเชื่อหลอกลวงทำงานร้านขายยา คลินิก โรงพยาบาล เปิดร้านขายยาแทนเภสัชกรตัวจริง เตรียมเอาผิดตามกฎหมาย หากเภสัชกรอยู่เบื้องหลังขู่เพิกถอนใบอนุญาต ส่วนแอบอ้างเป็นเภสัชกรโทษจำคุก 3 ปี ปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท เตือนอยากเป็นเภสัชกร ให้เลือกมหาวิทยาลัยมีคุณภาพ เผยมหาวิทยาลัยบางแห่งสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมไม่ผ่านอื้อ
ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ นายกสภาเภสัชกรรม กล่าวว่า สภาเภสัชฯได้ดำเนินการตรวจสอบ พบว่า มีภาคเอกชนบางกลุ่มดำเนินการอันเข้าข่ายเป็นการหลอกลวงประชาชน ด้วยการลงโฆษณาในเว็บไซต์ต่างๆ เปิดรับสมัครบุคคลศึกษาหลักสูตรระยะสั้นเป็นผู้ช่วยเภสัชกร โดยใช้เวลาเรียนทั้งหมดเพียง 90 ชั่วโมง แบ่งเป็นการเรียนภาคทฤษฎีกับเภสัชกร 12 ชั่วโมง และภาคปฏิบัติจริงในร้านขายยา 78 ชั่วโมง เสียค่าอบรม 12,000-18,000 บาท และระบุด้วยว่า หากผ่านการอบรมจะสามารถเข้าทำงานในร้านขายยา คลินิก โรงพยาบาล และเปิดกิจการร้านขายยาได้เช่นเดียวกับเภสัชกร
“ผู้ที่จะสามารถเปิดร้านขายยาของตนเองได้ หรือจะประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมได้นั้น จะต้องผ่านการสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม โดยผู้ที่จะมีสิทธิ์สอบเพื่อขอรับใบอนุญาตฯได้นั้น จะต้องสำเร็จการศึกษาจากคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่สภาเภสัชกรรมรับรองหลักสูตรเท่านั้น ซึ่งขณะนี้มีหลักสูตร 5 และ 6 ปี คำอวดอ้างการมีงานทำหลังจากผ่านการอบรมเพียง 90 ชั่วโมงแล้วสามารถทำงานแทนเภสัชกรได้นั้น ถือเป็นการหลอกลวงประชาชนทั้งหมด ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ เพราะหากร้านขายยาใดไม่มีเภสัชกรประจำ 24 ชั่วโมง ไม่สามารถดำเนินการได้อยู่แล้ว โดยผู้ช่วยเภสัชกรจะทำงานได้จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของเภสัชกรเท่านั้น ไม่สามารถทำงานแทนเภสัชกรได้”ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช กล่าว
ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช กล่าวต่อว่า ขณะนี้สภาเภสัชฯ กำลังดำเนินการตรวจสอบอย่างเข้มข้น ก่อนมอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายดำเนินการเอาผิดตามกฎหมาย โดยหากพบว่าผู้กระทำความผิดเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม จะถือเป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม มีโทษตั้งแต่ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินสองปี และเพิกถอนใบอนุญาตตามพ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 แต่หากผู้ที่กระทำการอบรมไม่ใช่เภสัชกรและผู้ที่ผ่านการอบรมแล้วเข้าทำงานในลักษณะทำงานแทนเภสชักรตามสถานที่ต่างๆ จะมีความผิดตามมาตรา 28 ของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ที่ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทำการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม หรือแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพดังกล่าว โดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช กล่าวด้วยว่า ส่วนที่มีการลักลอบเปิดการอบรมในลักษณะนี้ อาจเนื่องมาจาก 2 สาเหตุ คือ 1.การขาดแคลนบุคลากรประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและ 2.การต้องการลดต้นทุนของภาคเอกชน ด้วยการไม่จ้างผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรตัวจริงที่ค่าจ้างจะแพงกว่าการจ้างแค่ผู้ช่วยเภสัชกรแล้วลักลอบแอบให้ทำหน้าที่เป็นเภสัชกร ซึ่งขณะนี้คาดว่ามีอยู่จำนวนไม่น้อยในภาคเอกชนที่กระทำเช่นนี้โดยที่ประชาชนไม่สามารถแยกแยะตัวจริงและตัวปลอมได้
“สภาเภสัชฯ กำลังดำเนินการยกร่างระเบียบสภาเภสัชกรรมเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายของเภสัชกร ที่จะต้องเป็นเครื่องแบบสีขาว มีตราสภาเภสัชกรรม และเขียนคำว่าเภสัชกร แต่หากเป็นผู้ช่วยเภสัชกรให้ใช้เครื่องแบบสีอื่น ห้ามใช้เครื่องแบบสีขาวเช่นเดียวกับเภสัชกรอย่างในปัจจุบัน เพื่อให้ประชาชนสามารถจำแนกเภสัชกรจริงและผู้ช่วยเภสัชกรได้ โดยไม่ถูกหลอกเอาเภสัชกรเถื่อนมาจ่ายยาให้ผู้ใช้บริการ” ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช กล่าว
ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ นายกสภาเภสัชกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเอกชนแสดงความสนใจในการเปิดคณะเภสัชกรรมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งขณะนี้มีคณะเภสัชกรรม ใน 17 มหาวิทยาลัย แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาล 12 แห่ง และมหาวิทยาลัยของเอกชน 5 แห่ง สามารถผลิตเภสัชกรได้ปีละ 2,000 คน ซึ่งถือว่าเพียงพอต่อความต้องการของประเทศ หากมีการเปิดคณะเภสัชกรรมเพิ่มมากขึ้นอาจส่งผลต่อตำแหน่งงานในอนาคตได้
“การผลิตเภสัชกรให้มีคุณภาพดี จะต้องลงทุนสูงมาก ซึ่งการลงทุนในภาครัฐหากขาดทุนก็ไม่เป็นไร แต่การลงทุนในภาคเอกชนหากไม่ลงทุนก็อาจได้เภสัชกรที่คุณภาพไม่ดีและไม่เป็น ผลดีในภาพรวม เพราะเห็นได้อย่างชัดเจนในการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมมีความแตก ต่างกันมากระหว่างมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพสูงและคุณภาพต่ำ โดยพบว่ามหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพใน 100 คน สามารถสอบผ่าน 98 คน ขณะที่มหาวิทยาลัยไม่มีคุณภาพสอบ 100คน ผ่านการสอบแค่ 12 คน ส่วนคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 60-70% แต่บางมหาวิทยาลัยมีคะแนนเฉลี่ยเพียง 10% ดังนั้น หากจะเลือกเรียนเภสัชฯ ขอให้พิจารณาเลือกที่เรียนให้ดีด้วย”ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช กล่าว
ดร.ภาวิช กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ สภาเภสัชกรรมกำหนดให้ผู้มีสิทธิ์ได้สมัครเป็นสมาชิกสภาเภสัชกรรมและมีสิทธิ์สอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะต้องศึกษาตามหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต 6 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ.2557 เป็นต้นไป ซึ่งในระหว่างนี้ยังคงมีทั้งหลักสูตร 5 ปีและ 6 ปี โดยมหาวิทยาลัยที่ปรับเป็นหลักสูตร 6 ปีแล้วมี 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ นายกสภาเภสัชกรรม กล่าวว่า สภาเภสัชฯได้ดำเนินการตรวจสอบ พบว่า มีภาคเอกชนบางกลุ่มดำเนินการอันเข้าข่ายเป็นการหลอกลวงประชาชน ด้วยการลงโฆษณาในเว็บไซต์ต่างๆ เปิดรับสมัครบุคคลศึกษาหลักสูตรระยะสั้นเป็นผู้ช่วยเภสัชกร โดยใช้เวลาเรียนทั้งหมดเพียง 90 ชั่วโมง แบ่งเป็นการเรียนภาคทฤษฎีกับเภสัชกร 12 ชั่วโมง และภาคปฏิบัติจริงในร้านขายยา 78 ชั่วโมง เสียค่าอบรม 12,000-18,000 บาท และระบุด้วยว่า หากผ่านการอบรมจะสามารถเข้าทำงานในร้านขายยา คลินิก โรงพยาบาล และเปิดกิจการร้านขายยาได้เช่นเดียวกับเภสัชกร
“ผู้ที่จะสามารถเปิดร้านขายยาของตนเองได้ หรือจะประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมได้นั้น จะต้องผ่านการสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม โดยผู้ที่จะมีสิทธิ์สอบเพื่อขอรับใบอนุญาตฯได้นั้น จะต้องสำเร็จการศึกษาจากคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่สภาเภสัชกรรมรับรองหลักสูตรเท่านั้น ซึ่งขณะนี้มีหลักสูตร 5 และ 6 ปี คำอวดอ้างการมีงานทำหลังจากผ่านการอบรมเพียง 90 ชั่วโมงแล้วสามารถทำงานแทนเภสัชกรได้นั้น ถือเป็นการหลอกลวงประชาชนทั้งหมด ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ เพราะหากร้านขายยาใดไม่มีเภสัชกรประจำ 24 ชั่วโมง ไม่สามารถดำเนินการได้อยู่แล้ว โดยผู้ช่วยเภสัชกรจะทำงานได้จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของเภสัชกรเท่านั้น ไม่สามารถทำงานแทนเภสัชกรได้”ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช กล่าว
ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช กล่าวต่อว่า ขณะนี้สภาเภสัชฯ กำลังดำเนินการตรวจสอบอย่างเข้มข้น ก่อนมอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายดำเนินการเอาผิดตามกฎหมาย โดยหากพบว่าผู้กระทำความผิดเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม จะถือเป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม มีโทษตั้งแต่ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินสองปี และเพิกถอนใบอนุญาตตามพ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 แต่หากผู้ที่กระทำการอบรมไม่ใช่เภสัชกรและผู้ที่ผ่านการอบรมแล้วเข้าทำงานในลักษณะทำงานแทนเภสชักรตามสถานที่ต่างๆ จะมีความผิดตามมาตรา 28 ของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ที่ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทำการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม หรือแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพดังกล่าว โดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช กล่าวด้วยว่า ส่วนที่มีการลักลอบเปิดการอบรมในลักษณะนี้ อาจเนื่องมาจาก 2 สาเหตุ คือ 1.การขาดแคลนบุคลากรประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและ 2.การต้องการลดต้นทุนของภาคเอกชน ด้วยการไม่จ้างผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรตัวจริงที่ค่าจ้างจะแพงกว่าการจ้างแค่ผู้ช่วยเภสัชกรแล้วลักลอบแอบให้ทำหน้าที่เป็นเภสัชกร ซึ่งขณะนี้คาดว่ามีอยู่จำนวนไม่น้อยในภาคเอกชนที่กระทำเช่นนี้โดยที่ประชาชนไม่สามารถแยกแยะตัวจริงและตัวปลอมได้
“สภาเภสัชฯ กำลังดำเนินการยกร่างระเบียบสภาเภสัชกรรมเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายของเภสัชกร ที่จะต้องเป็นเครื่องแบบสีขาว มีตราสภาเภสัชกรรม และเขียนคำว่าเภสัชกร แต่หากเป็นผู้ช่วยเภสัชกรให้ใช้เครื่องแบบสีอื่น ห้ามใช้เครื่องแบบสีขาวเช่นเดียวกับเภสัชกรอย่างในปัจจุบัน เพื่อให้ประชาชนสามารถจำแนกเภสัชกรจริงและผู้ช่วยเภสัชกรได้ โดยไม่ถูกหลอกเอาเภสัชกรเถื่อนมาจ่ายยาให้ผู้ใช้บริการ” ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช กล่าว
ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ นายกสภาเภสัชกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเอกชนแสดงความสนใจในการเปิดคณะเภสัชกรรมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งขณะนี้มีคณะเภสัชกรรม ใน 17 มหาวิทยาลัย แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาล 12 แห่ง และมหาวิทยาลัยของเอกชน 5 แห่ง สามารถผลิตเภสัชกรได้ปีละ 2,000 คน ซึ่งถือว่าเพียงพอต่อความต้องการของประเทศ หากมีการเปิดคณะเภสัชกรรมเพิ่มมากขึ้นอาจส่งผลต่อตำแหน่งงานในอนาคตได้
“การผลิตเภสัชกรให้มีคุณภาพดี จะต้องลงทุนสูงมาก ซึ่งการลงทุนในภาครัฐหากขาดทุนก็ไม่เป็นไร แต่การลงทุนในภาคเอกชนหากไม่ลงทุนก็อาจได้เภสัชกรที่คุณภาพไม่ดีและไม่เป็น ผลดีในภาพรวม เพราะเห็นได้อย่างชัดเจนในการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมมีความแตก ต่างกันมากระหว่างมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพสูงและคุณภาพต่ำ โดยพบว่ามหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพใน 100 คน สามารถสอบผ่าน 98 คน ขณะที่มหาวิทยาลัยไม่มีคุณภาพสอบ 100คน ผ่านการสอบแค่ 12 คน ส่วนคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 60-70% แต่บางมหาวิทยาลัยมีคะแนนเฉลี่ยเพียง 10% ดังนั้น หากจะเลือกเรียนเภสัชฯ ขอให้พิจารณาเลือกที่เรียนให้ดีด้วย”ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช กล่าว
ดร.ภาวิช กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ สภาเภสัชกรรมกำหนดให้ผู้มีสิทธิ์ได้สมัครเป็นสมาชิกสภาเภสัชกรรมและมีสิทธิ์สอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะต้องศึกษาตามหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต 6 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ.2557 เป็นต้นไป ซึ่งในระหว่างนี้ยังคงมีทั้งหลักสูตร 5 ปีและ 6 ปี โดยมหาวิทยาลัยที่ปรับเป็นหลักสูตร 6 ปีแล้วมี 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม