กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สธ.เจ๋ง! พัฒนาชุดทดสอบธาลัสซีเมียรายแรกของโลก ระบุ สามารถตรวจหาความผิดปกติของยีนแอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1 ได้ครบทั้ง 2 ชนิด
วันที่ 22 เมษายน ที่โรงแรม เจริญศรี แกรนด์ รอยัล จ.อุดรธานี นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการธาลัสซีเมีย ครั้งที่ 15 ว่า การจัดประชุมสัมมนาวิชาการขึ้นทุกปีซึ่งปีนี้แต่ละหน่วยงานได้ร่วมมือกันบูรณาการในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และยังประสบความสำเร็จในการรักษาโรคธาลัสซีเมียด้วยวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจำนวน 2 ราย นอกจากนี้ ยังมี
ข่าวดีที่สร้างชื่อให้กับประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถคิดค้นชุดทดสอบธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นนวัตกรรมครั้งแรกของโลก ซึ่งสามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน แต่ให้ผลถูกต้องแม่นยำ และวิเคราะห์ไม่ยุ่งยาก สามารถตรวจวิเคราะห์ได้เพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น
นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยทั่วไปการวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียทางห้องปฏิบัติการมี 3 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกคือการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยและพาหะของโรค ส่วนใหญ่ใช้การตรวจหาความเปราะของเม็ดเลือดแดง เป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว แต่มีข้อควรระวัง คือ หากเก็บตัวอย่างเลือดไว้นานเกินไปจะทำให้ ผลผิดพลาดได้ ขั้นตอนที่สองคือการตรวจยืนยันเพื่อวินิจฉัยพาหะและผู้ป่วยธาลัสซีเมีย มี 2 วิธี คือ การตรวจหาชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน และการวินิจฉัยพาหะ อัลฟ่า-ธาลัสซีเมีย (α – thalassemia 1) ซึ่งทั้ง 2 วิธีมีราคาแพงและผลการวิเคราะห์ช้า ขั้นตอนสุดท้ายคือ การตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ เป็นการตรวจวินิจฉัยในระดับชีวโมเลกุล ซึ่งเป็นการตรวจหายีนที่ก่อให้เกิดโรคธาลัสซีเมีย สามารถทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 11-16 สัปดาห์ แต่วิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญสูงมาก
“กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้มีการคิดค้นและพัฒนาชุดทดสอบ DMSc α – thalassemia 1 สำหรับตรวจหาความผิดปกติของยีน α – thalassemia 1 ได้ครบทั้ง 2 ชนิดที่พบในประเทศไทยทั่วทุกภาค คือ ชนิด Southeast Asia (SEA) และชนิดไทย ซึ่งชุดทดสอบดังกล่าวเป็นนวัตกรรมครั้งแรกของโลกที่มีการพัฒนา ชุดทดสอบสำหรับตรวจหาความผิดปกติทั้ง 2 ชนิดดังกล่าวพร้อมกัน โดยอาศัยหลักการการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอและการตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของยีน (Relative Quantitative PCR) ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยศูนย์วิจัยทางคลินิกได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี การตรวจวิเคราะห์ด้วยชุดทดสอบดังกล่าวให้กับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั่วประเทศแล้ว เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุนการควบคุมและป้องกันโรคธาลัสซีเมียของประเทศให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว
วันที่ 22 เมษายน ที่โรงแรม เจริญศรี แกรนด์ รอยัล จ.อุดรธานี นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการธาลัสซีเมีย ครั้งที่ 15 ว่า การจัดประชุมสัมมนาวิชาการขึ้นทุกปีซึ่งปีนี้แต่ละหน่วยงานได้ร่วมมือกันบูรณาการในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และยังประสบความสำเร็จในการรักษาโรคธาลัสซีเมียด้วยวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจำนวน 2 ราย นอกจากนี้ ยังมี
ข่าวดีที่สร้างชื่อให้กับประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถคิดค้นชุดทดสอบธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นนวัตกรรมครั้งแรกของโลก ซึ่งสามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน แต่ให้ผลถูกต้องแม่นยำ และวิเคราะห์ไม่ยุ่งยาก สามารถตรวจวิเคราะห์ได้เพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น
นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยทั่วไปการวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียทางห้องปฏิบัติการมี 3 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกคือการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยและพาหะของโรค ส่วนใหญ่ใช้การตรวจหาความเปราะของเม็ดเลือดแดง เป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว แต่มีข้อควรระวัง คือ หากเก็บตัวอย่างเลือดไว้นานเกินไปจะทำให้ ผลผิดพลาดได้ ขั้นตอนที่สองคือการตรวจยืนยันเพื่อวินิจฉัยพาหะและผู้ป่วยธาลัสซีเมีย มี 2 วิธี คือ การตรวจหาชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน และการวินิจฉัยพาหะ อัลฟ่า-ธาลัสซีเมีย (α – thalassemia 1) ซึ่งทั้ง 2 วิธีมีราคาแพงและผลการวิเคราะห์ช้า ขั้นตอนสุดท้ายคือ การตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ เป็นการตรวจวินิจฉัยในระดับชีวโมเลกุล ซึ่งเป็นการตรวจหายีนที่ก่อให้เกิดโรคธาลัสซีเมีย สามารถทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 11-16 สัปดาห์ แต่วิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญสูงมาก
“กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้มีการคิดค้นและพัฒนาชุดทดสอบ DMSc α – thalassemia 1 สำหรับตรวจหาความผิดปกติของยีน α – thalassemia 1 ได้ครบทั้ง 2 ชนิดที่พบในประเทศไทยทั่วทุกภาค คือ ชนิด Southeast Asia (SEA) และชนิดไทย ซึ่งชุดทดสอบดังกล่าวเป็นนวัตกรรมครั้งแรกของโลกที่มีการพัฒนา ชุดทดสอบสำหรับตรวจหาความผิดปกติทั้ง 2 ชนิดดังกล่าวพร้อมกัน โดยอาศัยหลักการการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอและการตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของยีน (Relative Quantitative PCR) ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยศูนย์วิจัยทางคลินิกได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี การตรวจวิเคราะห์ด้วยชุดทดสอบดังกล่าวให้กับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั่วประเทศแล้ว เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุนการควบคุมและป้องกันโรคธาลัสซีเมียของประเทศให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว