อุดรธานี - กระทรวงสาธารณสุขโชว์ศักยภาพในงานประชุมสัมมนาวิชาการทาลัสซีเมียแห่งชาติ ครั้งที่ 15 เปิดตัวชุดทดสอบทาลัสซีเมีย ที่พัฒนาโดยคนไทย เป็นนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งแรกของโลกที่สามารถตรวจหาความผิดปกติของยีนอัลฟา-ทาลัสซีเมีย 1 ได้ ครบทั้ง 2 ชนิด ที่พบบ่อยในประเทศไทย
วันนี้ (22 เม.ย.) เวลา 10.00 น. นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการทาลัสซีเมีย ครั้งที่ 15 ณ โรงแรมเจริญศรีแกรนด์รอยัล จ.อุดรธานี
นายมานิตกล่าวว่า โรคทาลัสซีเมียเป็นโรคเลือดจางที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแต่สามารถป้องกันได้ โดยคู่สามี-ภรรยาควรตรวจเลือดก่อนมีบุตร หากพบว่าสามีหรือภรรยาคนใดคนหนึ่งเป็นพาหะของโรคก็สามารถมีลูกได้ตามปกติ แต่หากพบว่าสามีและภรรยาเป็นพาหะทั้งคู่โอกาสที่ลูกจะเป็นทาลัสซีเมียสูง ทั้งนี้ หญิงที่ตั้งครรภ์ควรรีบไปฝากครรภ์ภายใน 12 สัปดาห์ หากพบว่าลูกมีโอกาสเสี่ยงสูง แพทย์จะให้คำปรึกษาอย่างละเอียด เพื่อให้พ่อแม่มีข้อมูลที่เพียงพอในการวางแผนครอบครัวต่อไป
โดยขั้นตอนดำเนินการทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ซึ่งที่ผ่านมาจังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่ดำเนินการป้องกันละควบคุมได้อย่างเข้มแข็ง ครบวงจร ตั้งแต่ระดับรากหญ้าจนถึงระดับจังหวัด จึงเป็นแบบอย่างที่ดีในการป้องกันโรคทาลัสซีเมีย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวเพิ่มเติมว่า โรคธาลัสซีเมียเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งไม่เพียงแต่มีผลต่อผู้ป่วยและครอบครัวเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย ดังนั้น หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจึงได้ร่วมกันสร้างเครือข่ายในการควบคุมและป้องกันโรคทาลัสซีเมียที่มีประสิทธิภาพและครบวงจร โดยการจัดประชุมสัมมนาวิชาการขึ้นทุกปีซึ่งปีนี้แต่ล่ะหน่วยงานได้ร่วมมือกันบูรณาการในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฎิบัติการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และยังประสบความสำเร็จในการรักษาโรคธาลัสซีเมียด้วยวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจำนวน 2 ราย
นอกจากนี้ยังมีข่าวดีที่สร้างชื่อให้แก่ประเทศไทย โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถคิดค้นชุดทดสอบทาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นนวัตกรรมครั้งแรกของโรกอีกด้วย ซึ่งสามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน แต่ให้ผลถูกต้องแม่นยำ และวิเคราะห์ไม่ยุ่งยาก สามารถตรวจวิเคราะห์ได้เพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น
นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยทั่วไปการวินิจฉัยโรคทาลัสซีเมียทางห้องปฎิบัติการมี 3 ขั้นตอน ขั้นตอนแรก คือ การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยและพาหะของโรค ส่วนใหญ่ใช้การตรวจหาความเปราะของเม็ดเลือดแดง เป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว แต่มีข้อควรระวังคือหากเก็บตัวอย่างเลือดไว้นานเกินไปจะทำให้ผลผิดพลาดได้
ขั้นตอนที่สอง คือ การตรวจยืนยันเพื่อวินิจฉัยพาหะและผู้ป่วยทาลัสซีเมีย มี 2 วิธี คือการตรวจหาชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน และการวินิจฉัยพาหะอัลฟา-ทาลัสซีเมีย ซึ่งทั้ง 2 วิธีมีราคาแพงและผลการวิเคราะห์ช้า
ขั้นตอนสุดท้าย คือ การตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ เป็นการตรวจวินิจฉัยในระดับชีวโมเลกุล ซึ่งเป็นการตรวจหายีนที่ก่อให้เกิดโรคธารัสซีเมียสามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 11-16 สัปดาห์ แต่วิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญสูงมาก
จากปัญหาดังกล่าว กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวจสาธารณสุข จึงได้มีการคิดค้นและพัฒนาชุดทดสอบ DMSc A-thalassemia 1 สำหรับตรวจหาความผิดปกติของยีน A-thalassemia1 ได้ครบทั้ง 2 ชนิด ที่พบในประเทศไทยทั่วทุกภาค คือ ชนิด Southeast Asia (SEA) และชนิดไทย ซึ่งชุดทดสอบดังกล่าวเป็นนวัตกรรมครั้งแรกของโรคที่มีการพัฒนาชุดทดสอบสำหรับตรวจหาความผิดปกติทั้ง 2 ชนิด ดังกล่าวพร้อมกัน โดยอาศัยหลักการการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอและการตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของยีน (Relative Quantitative PCR)
ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยศูนย์วิจัยทางคลินิกได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์ด้วยชุดทดสอบดังกล่าวให้กับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั่วประเทศแล้ว เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุนการควบคุมและป้องกันโรคทาลัสซีเมียของประเทศให้ดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วันนี้ (22 เม.ย.) เวลา 10.00 น. นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการทาลัสซีเมีย ครั้งที่ 15 ณ โรงแรมเจริญศรีแกรนด์รอยัล จ.อุดรธานี
นายมานิตกล่าวว่า โรคทาลัสซีเมียเป็นโรคเลือดจางที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแต่สามารถป้องกันได้ โดยคู่สามี-ภรรยาควรตรวจเลือดก่อนมีบุตร หากพบว่าสามีหรือภรรยาคนใดคนหนึ่งเป็นพาหะของโรคก็สามารถมีลูกได้ตามปกติ แต่หากพบว่าสามีและภรรยาเป็นพาหะทั้งคู่โอกาสที่ลูกจะเป็นทาลัสซีเมียสูง ทั้งนี้ หญิงที่ตั้งครรภ์ควรรีบไปฝากครรภ์ภายใน 12 สัปดาห์ หากพบว่าลูกมีโอกาสเสี่ยงสูง แพทย์จะให้คำปรึกษาอย่างละเอียด เพื่อให้พ่อแม่มีข้อมูลที่เพียงพอในการวางแผนครอบครัวต่อไป
โดยขั้นตอนดำเนินการทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ซึ่งที่ผ่านมาจังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่ดำเนินการป้องกันละควบคุมได้อย่างเข้มแข็ง ครบวงจร ตั้งแต่ระดับรากหญ้าจนถึงระดับจังหวัด จึงเป็นแบบอย่างที่ดีในการป้องกันโรคทาลัสซีเมีย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวเพิ่มเติมว่า โรคธาลัสซีเมียเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งไม่เพียงแต่มีผลต่อผู้ป่วยและครอบครัวเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย ดังนั้น หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจึงได้ร่วมกันสร้างเครือข่ายในการควบคุมและป้องกันโรคทาลัสซีเมียที่มีประสิทธิภาพและครบวงจร โดยการจัดประชุมสัมมนาวิชาการขึ้นทุกปีซึ่งปีนี้แต่ล่ะหน่วยงานได้ร่วมมือกันบูรณาการในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฎิบัติการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และยังประสบความสำเร็จในการรักษาโรคธาลัสซีเมียด้วยวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจำนวน 2 ราย
นอกจากนี้ยังมีข่าวดีที่สร้างชื่อให้แก่ประเทศไทย โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถคิดค้นชุดทดสอบทาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นนวัตกรรมครั้งแรกของโรกอีกด้วย ซึ่งสามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน แต่ให้ผลถูกต้องแม่นยำ และวิเคราะห์ไม่ยุ่งยาก สามารถตรวจวิเคราะห์ได้เพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น
นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยทั่วไปการวินิจฉัยโรคทาลัสซีเมียทางห้องปฎิบัติการมี 3 ขั้นตอน ขั้นตอนแรก คือ การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยและพาหะของโรค ส่วนใหญ่ใช้การตรวจหาความเปราะของเม็ดเลือดแดง เป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว แต่มีข้อควรระวังคือหากเก็บตัวอย่างเลือดไว้นานเกินไปจะทำให้ผลผิดพลาดได้
ขั้นตอนที่สอง คือ การตรวจยืนยันเพื่อวินิจฉัยพาหะและผู้ป่วยทาลัสซีเมีย มี 2 วิธี คือการตรวจหาชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน และการวินิจฉัยพาหะอัลฟา-ทาลัสซีเมีย ซึ่งทั้ง 2 วิธีมีราคาแพงและผลการวิเคราะห์ช้า
ขั้นตอนสุดท้าย คือ การตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ เป็นการตรวจวินิจฉัยในระดับชีวโมเลกุล ซึ่งเป็นการตรวจหายีนที่ก่อให้เกิดโรคธารัสซีเมียสามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 11-16 สัปดาห์ แต่วิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญสูงมาก
จากปัญหาดังกล่าว กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวจสาธารณสุข จึงได้มีการคิดค้นและพัฒนาชุดทดสอบ DMSc A-thalassemia 1 สำหรับตรวจหาความผิดปกติของยีน A-thalassemia1 ได้ครบทั้ง 2 ชนิด ที่พบในประเทศไทยทั่วทุกภาค คือ ชนิด Southeast Asia (SEA) และชนิดไทย ซึ่งชุดทดสอบดังกล่าวเป็นนวัตกรรมครั้งแรกของโรคที่มีการพัฒนาชุดทดสอบสำหรับตรวจหาความผิดปกติทั้ง 2 ชนิด ดังกล่าวพร้อมกัน โดยอาศัยหลักการการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอและการตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของยีน (Relative Quantitative PCR)
ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยศูนย์วิจัยทางคลินิกได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์ด้วยชุดทดสอบดังกล่าวให้กับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั่วประเทศแล้ว เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุนการควบคุมและป้องกันโรคทาลัสซีเมียของประเทศให้ดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ