สธ.ทุ่มงบกว่า 100 ล้านบาท สร้างโรงพยาบาลประจำอำเภอใน จ.ศรีสะเกษ 2 แห่งคือที่ อ.ขุขันธ์ และ อ.เบญจลักษณ์ โดยที่อ.เบญจลักษณ์ พัฒนาให้เป็นโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ผู้แทนชุมชนมีส่วนร่วมพัฒนาระบบบริหาร บริการ และเป็นศูนย์ต้นแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ แบบองค์รวม
วันที่ 17 เมษายน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงพยาบาลเบญจลักษณ์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ตำบลเสียว อำเภอเบญจลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ และเปิดโรงพยาบาล ขุขันธ์ ตำบลหนองฉลอง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมี นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พญ.ศิริพร กัญชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และข้าราชการเฝ้ารับเสด็จ
พญ.ศิริพร กัญชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้กราบบังคมทูลรายงานว่า โรงพยาบาลเบญจลักษณ์ เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง และเป็น 1 ใน 9 แห่งทั่วประเทศ ที่กระทรวงสาธารณสุขจัดโครงการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 โดยให้ชุมชน ส่งผู้แทน ผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารและพัฒนาระบบบริหารจัดการของโรงพยาบาล เน้นรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้นแบบให้กับชุมชน และจัดระบบบริการรักษาพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลของชุมชน
นอกจากงานรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลแล้ว ยังมีบริการออกเยี่ยมบ้าน เยี่ยมทุกข์สุขประชาชนในชุมชน โดยใช้งบพัฒนาจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ทั้งหมด 16 ล้านบาทเศษ และเปิดให้บริการรับผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2551 เป็นต้นมา
ผลงานที่โดดเด่นของโรงพยาบาลเบญจลักษณ์เฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา ล่าสุดเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการ ด้านการจัดบริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ทุกกลุ่ม ด้วยยาต้านไวรัสเอดส์สูตรต่างๆ ในระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับประเทศอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการรักษาสูงสุด ในการป้องกันปัญหาเชื้อดื้อยา
ทั้งนี้ มีการอบรมแพทย์ พยาบาล และแกนนำผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทั้งในเครือข่ายของโรงพยาบาลและจังหวัดศรีสะเกษ ขณะนี้มีแกนนำผ่านการอบรมแล้วกว่า 200 คน เพื่อออกไปเยี่ยมบ้านผู้ติดเชื้อแทนเจ้าหน้าที่ได้ ติดตามดูแลการกินยาที่ถูกต้องและต่อเนื่อง รวมถึงติดตามปัญหาการถูกกีดกันหรือการตีตราในสังคม ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อเอดส์ลงทะเบียนรับยาที่โรงพยาบาลแห่งนี้ประมาณ 2,000 ราย
ด้านนพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้กราบบังคมทูลรายงานว่า โรงพยาบาลขุขันธ์ เดิมเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง เนื่องจากตั้งอยู่ในอำเภอขนาดใหญ่ ดูแลสุขภาพประชาชนกว่า 150,000 คน มีผู้ป่วยใช้บริการจำนวนมาก ทำให้สถานที่คับแคบ มีพื้นที่เพียง 7 ไร่ ไม่สามารถปรับขยายพื้นที่ได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ปรับขยายและยกฐานะจากโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง เป็นขนาด 120 เตียง และย้ายมาสร้างสถานที่แห่งใหม่ เมื่อต้น พ.ศ.2546 บนที่ราชพัสดุเนื้อที่ 90 ไร่ ที่ตำบลหนองฉลอง ห่างจากที่เดิม 5 กม. โดยใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 90 ล้านบาท นอกจากนี้องค์การบริหารส่วนตำบลและประชาชนใน อ.ขุขันธ์ ได้บริจาคเงิน 4 ล้านบาท จัดซื้อครุภัณฑ์ที่ขาดแคลน ก่อสร้างศาลาพักญาติและห้องพิเศษ รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์รอบโรงพยาบาล ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น และเปิดให้บริการอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่ 9 มกราคม 2549 เป็นต้นมา
สำหรับปัจจุบันมีผู้ป่วยนอกใช้บริการปีละ 11,000 ราย มีผู้ป่วยนอนดูแลรักษาในโรงพยาบาลปีละ 9,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นโรคระบบทางเดินอาหาร และระบบทางเดินหายใจ
วันที่ 17 เมษายน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงพยาบาลเบญจลักษณ์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ตำบลเสียว อำเภอเบญจลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ และเปิดโรงพยาบาล ขุขันธ์ ตำบลหนองฉลอง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมี นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พญ.ศิริพร กัญชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และข้าราชการเฝ้ารับเสด็จ
พญ.ศิริพร กัญชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้กราบบังคมทูลรายงานว่า โรงพยาบาลเบญจลักษณ์ เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง และเป็น 1 ใน 9 แห่งทั่วประเทศ ที่กระทรวงสาธารณสุขจัดโครงการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 โดยให้ชุมชน ส่งผู้แทน ผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารและพัฒนาระบบบริหารจัดการของโรงพยาบาล เน้นรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้นแบบให้กับชุมชน และจัดระบบบริการรักษาพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลของชุมชน
นอกจากงานรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลแล้ว ยังมีบริการออกเยี่ยมบ้าน เยี่ยมทุกข์สุขประชาชนในชุมชน โดยใช้งบพัฒนาจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ทั้งหมด 16 ล้านบาทเศษ และเปิดให้บริการรับผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2551 เป็นต้นมา
ผลงานที่โดดเด่นของโรงพยาบาลเบญจลักษณ์เฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา ล่าสุดเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการ ด้านการจัดบริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ทุกกลุ่ม ด้วยยาต้านไวรัสเอดส์สูตรต่างๆ ในระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับประเทศอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการรักษาสูงสุด ในการป้องกันปัญหาเชื้อดื้อยา
ทั้งนี้ มีการอบรมแพทย์ พยาบาล และแกนนำผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทั้งในเครือข่ายของโรงพยาบาลและจังหวัดศรีสะเกษ ขณะนี้มีแกนนำผ่านการอบรมแล้วกว่า 200 คน เพื่อออกไปเยี่ยมบ้านผู้ติดเชื้อแทนเจ้าหน้าที่ได้ ติดตามดูแลการกินยาที่ถูกต้องและต่อเนื่อง รวมถึงติดตามปัญหาการถูกกีดกันหรือการตีตราในสังคม ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อเอดส์ลงทะเบียนรับยาที่โรงพยาบาลแห่งนี้ประมาณ 2,000 ราย
ด้านนพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้กราบบังคมทูลรายงานว่า โรงพยาบาลขุขันธ์ เดิมเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง เนื่องจากตั้งอยู่ในอำเภอขนาดใหญ่ ดูแลสุขภาพประชาชนกว่า 150,000 คน มีผู้ป่วยใช้บริการจำนวนมาก ทำให้สถานที่คับแคบ มีพื้นที่เพียง 7 ไร่ ไม่สามารถปรับขยายพื้นที่ได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ปรับขยายและยกฐานะจากโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง เป็นขนาด 120 เตียง และย้ายมาสร้างสถานที่แห่งใหม่ เมื่อต้น พ.ศ.2546 บนที่ราชพัสดุเนื้อที่ 90 ไร่ ที่ตำบลหนองฉลอง ห่างจากที่เดิม 5 กม. โดยใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 90 ล้านบาท นอกจากนี้องค์การบริหารส่วนตำบลและประชาชนใน อ.ขุขันธ์ ได้บริจาคเงิน 4 ล้านบาท จัดซื้อครุภัณฑ์ที่ขาดแคลน ก่อสร้างศาลาพักญาติและห้องพิเศษ รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์รอบโรงพยาบาล ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น และเปิดให้บริการอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่ 9 มกราคม 2549 เป็นต้นมา
สำหรับปัจจุบันมีผู้ป่วยนอกใช้บริการปีละ 11,000 ราย มีผู้ป่วยนอนดูแลรักษาในโรงพยาบาลปีละ 9,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นโรคระบบทางเดินอาหาร และระบบทางเดินหายใจ