ร่าง.พ.ร.บ.เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในงานบริการสาธารณสุข หรือชื่อเดิมพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ ผ่านกฤษฎีกาแล้ว เตรียมประชุมรับฟังความเห็นครั้งสุดท้ายก่อนนำเสนอเข้าครม.และสภาพิจารณาต่อไป
นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ นายแพทย์ 9 วิชาการด้านสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ชุดที่พิจารณาร่าง พ.ร.บ.เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในงานบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... ซึ่งเป็นร่างที่ปรับปรุงมาจากพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ พ.ศ. ...ได้ประชุมเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีมติให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน เพื่อนำไปประกอบร่าง พ.ร.บ.เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในงานบริการสาธารณสุข ซึ่งขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนภายในของ สคก.ในการตรวจสอบรายละเอียดจากนั้นจะส่งให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณายืนยันความถูกต้องก่อนที่จะเสนอต่อให้เลขาธิการสคก.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อครม.รับหลักการจึงมีการเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
“คาดว่าจะจัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นได้ช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ โดยจะพิจารณาว่ามีประเด็นอะไรที่จะเพิ่มเติมหรือไม่ เนื่องจากมีหลายเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์กันแต่ไม่ถึงกับขัดแย้งกัน ทั้งนี้ เพื่อให้กฎหมายมีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งตามความเห็นส่วนตัวแล้วมองว่า การพิจารณาข้อกฎหมายเป็นไปอย่างตรงไปตรงมา ทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการได้ประโยชน์จากกฎหมายนี้อย่างแน่นอน ซึ่งคงต้องยอมกันเพราะไม่มีใครที่ได้ 100%”นพ.ธเรศกล่าว
นพ.ธเรศ กล่าวต่อว่า สำหรับเนื้อหาสาระสำคัญของกฎหมายโดยหลักการเหมือนเดิม คือ เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นทางการแพทย์โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ถูกผิด แต่มีการเพิ่ม กลไกการเยียวยาผู้เสียหายโดยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เพื่อให้กฎหมายมีความสมบูรณ์มากที่สุด
นพ.ธเรศ กล่าวอีกว่า ส่วนเงินกองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุขนั้น จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการ2 ชุด คือ 1 คณะอนุกรรมพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น และคณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชยที่แต่งตั้งตามกฎหมาย ที่แต่งตั้งตามกฎหมายซึ่งมาจากหลายภาคส่วนเป็นผู้กำหนดรายละเอียดสัดส่วนที่มาของเงินกองทุนว่ามาจากรัฐเท่าใด จากภาคเอกชนเท่าใด รวมทั้งการกำหนดเพดารการชดเชยก็จะต้องมีการกำหนดรายละเอียดด้วย ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหม่ที่จะต้องมีการพิจารณารายละเอียดต่อไป
อนึ่งในส่วนของการชดเชยนั้นผู้เสียหายสามารถยื่นเรื่องภายใน 3-10 ปี หลังจากทราบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น และคณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น ต้องพิจารณาภายใน 30 วัน ขยายเวลาได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 15 วัน ส่วนคณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชย ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ขยายเวลาได้ 1 ครั้ง 30 วัน ในส่วนของการรับเงินชดเชยจะต้องลงนามในสัญญายอมความในคดีแพ่งหากรับเงินชดเชยแล้ว แต่ในเรื่องของคดีอาญาไม่สามารถยอมความกันได้
นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ นายแพทย์ 9 วิชาการด้านสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ชุดที่พิจารณาร่าง พ.ร.บ.เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในงานบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... ซึ่งเป็นร่างที่ปรับปรุงมาจากพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ พ.ศ. ...ได้ประชุมเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีมติให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน เพื่อนำไปประกอบร่าง พ.ร.บ.เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในงานบริการสาธารณสุข ซึ่งขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนภายในของ สคก.ในการตรวจสอบรายละเอียดจากนั้นจะส่งให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณายืนยันความถูกต้องก่อนที่จะเสนอต่อให้เลขาธิการสคก.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อครม.รับหลักการจึงมีการเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
“คาดว่าจะจัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นได้ช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ โดยจะพิจารณาว่ามีประเด็นอะไรที่จะเพิ่มเติมหรือไม่ เนื่องจากมีหลายเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์กันแต่ไม่ถึงกับขัดแย้งกัน ทั้งนี้ เพื่อให้กฎหมายมีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งตามความเห็นส่วนตัวแล้วมองว่า การพิจารณาข้อกฎหมายเป็นไปอย่างตรงไปตรงมา ทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการได้ประโยชน์จากกฎหมายนี้อย่างแน่นอน ซึ่งคงต้องยอมกันเพราะไม่มีใครที่ได้ 100%”นพ.ธเรศกล่าว
นพ.ธเรศ กล่าวต่อว่า สำหรับเนื้อหาสาระสำคัญของกฎหมายโดยหลักการเหมือนเดิม คือ เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นทางการแพทย์โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ถูกผิด แต่มีการเพิ่ม กลไกการเยียวยาผู้เสียหายโดยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เพื่อให้กฎหมายมีความสมบูรณ์มากที่สุด
นพ.ธเรศ กล่าวอีกว่า ส่วนเงินกองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุขนั้น จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการ2 ชุด คือ 1 คณะอนุกรรมพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น และคณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชยที่แต่งตั้งตามกฎหมาย ที่แต่งตั้งตามกฎหมายซึ่งมาจากหลายภาคส่วนเป็นผู้กำหนดรายละเอียดสัดส่วนที่มาของเงินกองทุนว่ามาจากรัฐเท่าใด จากภาคเอกชนเท่าใด รวมทั้งการกำหนดเพดารการชดเชยก็จะต้องมีการกำหนดรายละเอียดด้วย ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหม่ที่จะต้องมีการพิจารณารายละเอียดต่อไป
อนึ่งในส่วนของการชดเชยนั้นผู้เสียหายสามารถยื่นเรื่องภายใน 3-10 ปี หลังจากทราบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น และคณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น ต้องพิจารณาภายใน 30 วัน ขยายเวลาได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 15 วัน ส่วนคณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชย ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ขยายเวลาได้ 1 ครั้ง 30 วัน ในส่วนของการรับเงินชดเชยจะต้องลงนามในสัญญายอมความในคดีแพ่งหากรับเงินชดเชยแล้ว แต่ในเรื่องของคดีอาญาไม่สามารถยอมความกันได้