มศว เผยสาเหตุที่เด็กไทยอ่อนแอทางวิชาการทุกกลุ่มสาระวิชา เนื่องจากได้ครูไม่ตรงสาขาสอนนักเรียน ชูวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นพื้นฐานการศึกษาด้านภาษาไทยเข้มแข็ง
นายวิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า ทุกครั้งที่มีการสอบวัดความรู้ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นสูง (เอเน็ต) หรือ การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) เมื่อผลการทดสอบออกมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะออกมาเปิดเผยต่อสังคมว่าเด็กไทยอ่อนด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้อ่อนหรือทำคะแนนได้น้อยเพียงแค่วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือภาษาไทยเท่านั้น เด็กไทยอ่อนแอในด้านวิชาการเกือบทุกด้านใน 8 สาระวิชา ได้แก่คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ
ทั้งนี้ เชื่อว่าปัญหาขั้นพื้นฐานในการปฏิรูปการศึกษานั้น เรามักจะพูดกันแต่ระบบ โครงสร้างและมักพูดกันถึงขนาดของโรงเรียน โดยลืมประเด็นสาระสำคัญในเรื่องของครูผู้สอนในแต่ละโรงเรียนต้องมีครูผู้สอนตรงตามกลุ่มทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชา ไม่เคยกระตุ้นและไม่เคยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจังในโรงเรียนจำนวนมากหากขาดครูในวิชาต่างๆ ก็ใช้ครูที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาในรายวิชานั้นๆ ไปสอนแทน
“การปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จได้นั้น กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และรัฐบาลต้องตั้งหลักให้ได้ว่าการจะทำให้โรงเรียนเกิดคุณภาพได้ ต้องให้ครูที่สำเร็จการศึกษาในวิชาเอกตรงสาขานั้นๆ ไปสอนเด็ก และไม่ว่าโรงเรียนจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ต้องวางมาตรฐานเรื่องครูให้ตรงกัน วิชาแต่ละกลุ่มสาระวิชามีความสำคัญเท่าเทียม ถ้าไม่ปรับเปลี่ยนแนวคิดนี้และยังคงให้ความสำคัญกับบางกลุ่มสาระวิชาและทอดทิ้งบางสาระวิชาไป เราจะได้เด็กที่อ่อนแอเหมือนเช่นที่เป็นอยู่ อ่อนแอทางความคิดวิเคราะห์ การใช้เหตุผล อ่อนแอทางศีลธรรม อ่อนแอในเรื่องการดูแลสุขภาพ ไม่ใส่ใจต่อคนรอบข้าง ไม่เข้าใจสังคม เป็นคนเห็นแก่ตัว” นายวิรุณ กล่าว
นายวิรุณ กล่าวว่า ถึงเวลาหรือยังที่ระบบการศึกษาไทยต้องปรับ แต่เดิมเรามีการเรียนคณิตศาสตร์โดยการคิดเลขในใจ เพื่อฝึกสมองให้เด็กคุ้นชินกับตัวเลข หรืออย่างภาษาไทย เดิมมีเรียนการผันวรรณยุกต์ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนภาษาไทย แต่ในปัจจุบันไม่มีการสอนผันวรรณยุกต์ เด็กไทยใช้วิธีจำเป็นคำๆ เมื่อเจอคำแปลกๆ เด็กไทยผันวรรณยุกต์ไม่เป็น อ่านหนังสือไม่ถูก เขียนหนังสือผิด การเขียนตามคำบอก การเขียนย่อความ เขียนเรียงความ อ่านจับใจความ ท่องบทอาขยาน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการฝึกสมองคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทำให้เด็กรู้จักแยกแยะได้ การเรียนการสอนภาษาไทยในรูปแบบนี้ไม่มีอีกแล้ว ถึงเวลาแล้วที่ครูรุ่นใหม่และ ศธ.ต้องกลับมาทบทวนดูว่าอะไรคือพื้นฐานสำคัญของระบบการศึกษา
“ผมอยากเสนอว่ามีงานวิจัยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในระดับปริญญาเอกซึ่งได้ศึกษาที่ มศว เป็นต้นฉบับแบบเรียน 9 – 10 แบบเรียน ถือเป็นพื้นฐานในเรื่องภาษาไทยเข้มแข็งที่ดีมาก ขอเชิญชวนให้ครูภาษาไทยและครูไทยทุกคนได้ศึกษา โดยได้พูดถึงการเรียนภาษาไทยเอาไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นแนวทางการสอนภาษาไทยให้เข้มแข็ง ทาง มศว ได้ขอพระราชานุญาตนำมาพิมพ์เนื่องในวันสมเด็จพระเทพฯ เมื่อหลายปีก่อน ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถหาอ่านหรือศึกษาได้ที่สำนักหอสมุดกลาง มศว” นายวิรุณ กล่าว
นายวิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า ทุกครั้งที่มีการสอบวัดความรู้ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นสูง (เอเน็ต) หรือ การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) เมื่อผลการทดสอบออกมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะออกมาเปิดเผยต่อสังคมว่าเด็กไทยอ่อนด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้อ่อนหรือทำคะแนนได้น้อยเพียงแค่วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือภาษาไทยเท่านั้น เด็กไทยอ่อนแอในด้านวิชาการเกือบทุกด้านใน 8 สาระวิชา ได้แก่คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ
ทั้งนี้ เชื่อว่าปัญหาขั้นพื้นฐานในการปฏิรูปการศึกษานั้น เรามักจะพูดกันแต่ระบบ โครงสร้างและมักพูดกันถึงขนาดของโรงเรียน โดยลืมประเด็นสาระสำคัญในเรื่องของครูผู้สอนในแต่ละโรงเรียนต้องมีครูผู้สอนตรงตามกลุ่มทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชา ไม่เคยกระตุ้นและไม่เคยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจังในโรงเรียนจำนวนมากหากขาดครูในวิชาต่างๆ ก็ใช้ครูที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาในรายวิชานั้นๆ ไปสอนแทน
“การปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จได้นั้น กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และรัฐบาลต้องตั้งหลักให้ได้ว่าการจะทำให้โรงเรียนเกิดคุณภาพได้ ต้องให้ครูที่สำเร็จการศึกษาในวิชาเอกตรงสาขานั้นๆ ไปสอนเด็ก และไม่ว่าโรงเรียนจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ต้องวางมาตรฐานเรื่องครูให้ตรงกัน วิชาแต่ละกลุ่มสาระวิชามีความสำคัญเท่าเทียม ถ้าไม่ปรับเปลี่ยนแนวคิดนี้และยังคงให้ความสำคัญกับบางกลุ่มสาระวิชาและทอดทิ้งบางสาระวิชาไป เราจะได้เด็กที่อ่อนแอเหมือนเช่นที่เป็นอยู่ อ่อนแอทางความคิดวิเคราะห์ การใช้เหตุผล อ่อนแอทางศีลธรรม อ่อนแอในเรื่องการดูแลสุขภาพ ไม่ใส่ใจต่อคนรอบข้าง ไม่เข้าใจสังคม เป็นคนเห็นแก่ตัว” นายวิรุณ กล่าว
นายวิรุณ กล่าวว่า ถึงเวลาหรือยังที่ระบบการศึกษาไทยต้องปรับ แต่เดิมเรามีการเรียนคณิตศาสตร์โดยการคิดเลขในใจ เพื่อฝึกสมองให้เด็กคุ้นชินกับตัวเลข หรืออย่างภาษาไทย เดิมมีเรียนการผันวรรณยุกต์ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนภาษาไทย แต่ในปัจจุบันไม่มีการสอนผันวรรณยุกต์ เด็กไทยใช้วิธีจำเป็นคำๆ เมื่อเจอคำแปลกๆ เด็กไทยผันวรรณยุกต์ไม่เป็น อ่านหนังสือไม่ถูก เขียนหนังสือผิด การเขียนตามคำบอก การเขียนย่อความ เขียนเรียงความ อ่านจับใจความ ท่องบทอาขยาน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการฝึกสมองคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทำให้เด็กรู้จักแยกแยะได้ การเรียนการสอนภาษาไทยในรูปแบบนี้ไม่มีอีกแล้ว ถึงเวลาแล้วที่ครูรุ่นใหม่และ ศธ.ต้องกลับมาทบทวนดูว่าอะไรคือพื้นฐานสำคัญของระบบการศึกษา
“ผมอยากเสนอว่ามีงานวิจัยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในระดับปริญญาเอกซึ่งได้ศึกษาที่ มศว เป็นต้นฉบับแบบเรียน 9 – 10 แบบเรียน ถือเป็นพื้นฐานในเรื่องภาษาไทยเข้มแข็งที่ดีมาก ขอเชิญชวนให้ครูภาษาไทยและครูไทยทุกคนได้ศึกษา โดยได้พูดถึงการเรียนภาษาไทยเอาไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นแนวทางการสอนภาษาไทยให้เข้มแข็ง ทาง มศว ได้ขอพระราชานุญาตนำมาพิมพ์เนื่องในวันสมเด็จพระเทพฯ เมื่อหลายปีก่อน ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถหาอ่านหรือศึกษาได้ที่สำนักหอสมุดกลาง มศว” นายวิรุณ กล่าว