เผยผลทดลองปืนฉีดน้ำแรงดันสูง ฉีดน้ำไกลเกิน 6 เมตร พุ่งเป็นเส้นตรงอันตราย เผย เคยมีเด็กตาบอด เพราะปืนฉีดน้ำ เตือนเล่นปืนฉีดน้ำต้องยืนห่างอย่างน้อย 150 เซนติเมตร ไม่เล็งที่ใบหน้า จึงปลอดภัย เตรียมนำข้อมูลเสนอ มอก. พัฒนามาตรฐานปืนฉีดน้ำให้ปลอดภัยขึ้น
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับบริษัท อินเตอร์เทค ทำการศึกษาอันตรายจากปืนฉีดน้ำที่ไม่ใช้ท่อพีวีซี ต่อลูกตาของเด็ก ด้วยการทดลองฉีดน้ำใส่แผ่นฟอยล์ หากแรงดันน้ำทำให้แผ่นฟอยล์ทะลุได้ ก็สามารถทำให้ดวงตาบาดเจ็บได้ ทั้งนี้ ผลการทดลอง พบว่า ปืนที่มีแรงดันสูง สามารถฉีดน้ำได้ไกลเกินกว่า 6 เมตร มีอันตราย สามารถยิงทะลุฟอยล์ได้ในระยะ 150 เซนติเมตร และหากปืนที่ฉีดน้ำออกมาพุ่งเป็นเส้นตรงเส้นเดียว น้ำจะยิ่งมีความแรงมากขึ้น
“หากจะใช้ปืนเหล่านี้เล่นฉีดน้ำใส่คน ควรจะต้องยืนฉีดน้ำให้ห่างอย่างน้อย 150 เซนติเมตร จึงจะปลอดภัย หากฉีดถูกดวงตาก็จะไม่ได้รับการบาดเจ็บ ดังนั้น ผู้ปกครองควรเลือกซื้อปืนฉีดน้ำให้บุตร หลาน ที่มีแรงดันน้อย และฉีดน้ำออกมาเป็นลักษณะฝอย กระจาย ไม่ใช่พุ่งตรงเป็นเส้นเดียว หากฉีดในแนวระนาบ จะต้องฉีดได้ไม่ไกลกว่า 6 เมตร หากฉีดในมุม 45 องศา ต้องไม่ไกลกว่า 10 เมตร จึงจะปลอดภัย และไม่ควรเล็ง หรือฉีดน้ำใส่บริเวณใบหน้าด้วย” รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าว
รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา มีโรงพยาบาลเลิดสิน ได้เก็บข้อมูลพบว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีคนไข้ที่เป็นเด็กมารักษาโรคทางตาจำนวนมาก และมีบางรายตาบอด ซึ่งสันนิษฐานว่า เกิดจากการถูกปืนฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดเข้าดวงตา ทั้งนี้ ในวันที่ 7 เมษายนนี้ จะนำผลการวิจัยเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการพัฒนามาตรฐานของเล่นเด็กที่ 423 ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เพื่อพิจารณาเรื่องคุณภาพ มาตรฐานปืนฉีดน้ำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น
รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ในวันที่ 9-11 เมษายนนี้ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ จะจัดประชุมวิชาการ เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาของเล่นเด็กที่มีอันตราย จำนวน 400 กว่าชิ้น ซึ่งมีจำหน่ายแพร่หลายในประเทศไทย โดยมีสารพิษปนเปื้อน เช่น สารตะกั่ว สารปรอท เป็นต้น รวมทั้งของเล่นบางชิ้น ทำจากโลหะ หรือของแข็ง ทำให้มีความแหลม คม เกิดบาดแผลกับเด็กได้ ซึ่งแม้แต่ของเล่นพื้นบ้านไทยอย่าง ปลาตะเพียนสาน ก็มีอันตรายได้ เพราะมีการใช้ลวดเย็บกระดาษ ที่มีความแหลมคม
ด้าน ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ในฐานะราชวิทยาลัยกุมารแพทย์และสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการศึกษาของอนุกรรมการฝ่ายป้องกันโรคและอุบัติเหตุ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์และสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย อุบัติเหตุที่เป็นสาเหตุของการตายของเด็กไทย อายุระหว่าง 1-14 ปี ตั้งแต่ปี 2547-2551 พบว่า มีเด็กเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุเฉลี่ย 3,175 รายต่อปี หรือเฉลี่ย 264 รายต่อเดือน คิดเป็น ร้อยละ 42 ของการตายทั้งหมด โดยเดือนเมษายนของทุกปี เป็นเดือนที่มีเด็กตายมากที่สุด เฉลี่ย 359 ราย คิดเป็น ร้อยละ 50.21 กลุ่มเด็กที่เสียชีวิตมากที่สุด มีอายุ 6-8 ปี และเด็กอายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป
“อุบัติเหตุที่ทำให้เด็กเสียชีวิตมากที่สุด คือ การจมน้ำ มีเด็กเสียชีวิตเฉลี่ย 1,431 รายต่อปี หรือ 119 รายต่อเดือน ซึ่งแหล่งน้ำรอบๆ บ้าน หรือในละแวกชุมชนที่เด็กอาศัยอยู่เป็นจุดอันตรายที่สุด เช่น บ่อขุด แม่น้ำ คลอง และสระว่ายน้ำ เป็นต้น ซึ่งการป้องกันที่ดีที่สุด คือ เด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป ควรได้รับการสอนเรื่องภัยทางน้ำ สอนว่ายน้ำเพื่อเอาตัวรอดได้ ควรสวมชูชีพทุกครั้งที่ลงเล่นน้ำ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลก ได้จัดทำหลักสูตร ความปลอดภัยทางน้ำ เริ่มทดลองสอนให้เด็กภายในเดือนเมษายนนี้เป็นครั้งแรก ขณะเดียวกัน ในชุมชน จะต้องเฝ้าระวัง โดยทำรั้วกั้นแหล่งน้ำป้องกันเด็กลงไปเล่นน้ำ และควรมีผู้สอดส่องความปลอดภัยให้เด็กในชุมชน” ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าว
ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตรองลงมาคือ อุบัติเหตุจราจร ซึ่งแต่ละปีมีเด็กเสียชีวิตเฉลี่ย 656 ราย หรือ 55 รายต่อเดือน การป้องกันที่ดีที่สุด คือ เด็กต้องเครื่องป้องกัน ทั้งสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมกับอายุทุกครั้งที่นั่งรถจักรยาน และรถจักรยานยนต์ รวมทั้งใช้เข็มขัดนิรภัย ด้วย ส่วนชุมชนจะต้องจัดพื้นที่เล่นปลอดภัยให้กับเด็กแยกออกจากพื้นถนน และควบคุมให้รถทุกประเภทใช้ความเร็วไม่เกิน 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รวมทั้งไม่ให้คนขับดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือให้เด็กซ้อนท้ายคนเมาอย่างเด็ดขาด นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เด็กเสียชีวิตอีก เฉลี่ย 1,087 รายต่อปี คิดเป็น 1 ใน 3 ของสาเหตุการเสียชีวิต เช่น อันตรายจากไฟฟ้า ความร้อน อาวุธปืน ของหนักหล่อนทับ ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้อยู่ใกล้ตัวเด็ก ในบ้าน หรือละแวกบ้าน ทั้งสิ้น
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับบริษัท อินเตอร์เทค ทำการศึกษาอันตรายจากปืนฉีดน้ำที่ไม่ใช้ท่อพีวีซี ต่อลูกตาของเด็ก ด้วยการทดลองฉีดน้ำใส่แผ่นฟอยล์ หากแรงดันน้ำทำให้แผ่นฟอยล์ทะลุได้ ก็สามารถทำให้ดวงตาบาดเจ็บได้ ทั้งนี้ ผลการทดลอง พบว่า ปืนที่มีแรงดันสูง สามารถฉีดน้ำได้ไกลเกินกว่า 6 เมตร มีอันตราย สามารถยิงทะลุฟอยล์ได้ในระยะ 150 เซนติเมตร และหากปืนที่ฉีดน้ำออกมาพุ่งเป็นเส้นตรงเส้นเดียว น้ำจะยิ่งมีความแรงมากขึ้น
“หากจะใช้ปืนเหล่านี้เล่นฉีดน้ำใส่คน ควรจะต้องยืนฉีดน้ำให้ห่างอย่างน้อย 150 เซนติเมตร จึงจะปลอดภัย หากฉีดถูกดวงตาก็จะไม่ได้รับการบาดเจ็บ ดังนั้น ผู้ปกครองควรเลือกซื้อปืนฉีดน้ำให้บุตร หลาน ที่มีแรงดันน้อย และฉีดน้ำออกมาเป็นลักษณะฝอย กระจาย ไม่ใช่พุ่งตรงเป็นเส้นเดียว หากฉีดในแนวระนาบ จะต้องฉีดได้ไม่ไกลกว่า 6 เมตร หากฉีดในมุม 45 องศา ต้องไม่ไกลกว่า 10 เมตร จึงจะปลอดภัย และไม่ควรเล็ง หรือฉีดน้ำใส่บริเวณใบหน้าด้วย” รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าว
รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา มีโรงพยาบาลเลิดสิน ได้เก็บข้อมูลพบว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีคนไข้ที่เป็นเด็กมารักษาโรคทางตาจำนวนมาก และมีบางรายตาบอด ซึ่งสันนิษฐานว่า เกิดจากการถูกปืนฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดเข้าดวงตา ทั้งนี้ ในวันที่ 7 เมษายนนี้ จะนำผลการวิจัยเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการพัฒนามาตรฐานของเล่นเด็กที่ 423 ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เพื่อพิจารณาเรื่องคุณภาพ มาตรฐานปืนฉีดน้ำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น
รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ในวันที่ 9-11 เมษายนนี้ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ จะจัดประชุมวิชาการ เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาของเล่นเด็กที่มีอันตราย จำนวน 400 กว่าชิ้น ซึ่งมีจำหน่ายแพร่หลายในประเทศไทย โดยมีสารพิษปนเปื้อน เช่น สารตะกั่ว สารปรอท เป็นต้น รวมทั้งของเล่นบางชิ้น ทำจากโลหะ หรือของแข็ง ทำให้มีความแหลม คม เกิดบาดแผลกับเด็กได้ ซึ่งแม้แต่ของเล่นพื้นบ้านไทยอย่าง ปลาตะเพียนสาน ก็มีอันตรายได้ เพราะมีการใช้ลวดเย็บกระดาษ ที่มีความแหลมคม
ด้าน ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ในฐานะราชวิทยาลัยกุมารแพทย์และสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการศึกษาของอนุกรรมการฝ่ายป้องกันโรคและอุบัติเหตุ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์และสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย อุบัติเหตุที่เป็นสาเหตุของการตายของเด็กไทย อายุระหว่าง 1-14 ปี ตั้งแต่ปี 2547-2551 พบว่า มีเด็กเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุเฉลี่ย 3,175 รายต่อปี หรือเฉลี่ย 264 รายต่อเดือน คิดเป็น ร้อยละ 42 ของการตายทั้งหมด โดยเดือนเมษายนของทุกปี เป็นเดือนที่มีเด็กตายมากที่สุด เฉลี่ย 359 ราย คิดเป็น ร้อยละ 50.21 กลุ่มเด็กที่เสียชีวิตมากที่สุด มีอายุ 6-8 ปี และเด็กอายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป
“อุบัติเหตุที่ทำให้เด็กเสียชีวิตมากที่สุด คือ การจมน้ำ มีเด็กเสียชีวิตเฉลี่ย 1,431 รายต่อปี หรือ 119 รายต่อเดือน ซึ่งแหล่งน้ำรอบๆ บ้าน หรือในละแวกชุมชนที่เด็กอาศัยอยู่เป็นจุดอันตรายที่สุด เช่น บ่อขุด แม่น้ำ คลอง และสระว่ายน้ำ เป็นต้น ซึ่งการป้องกันที่ดีที่สุด คือ เด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป ควรได้รับการสอนเรื่องภัยทางน้ำ สอนว่ายน้ำเพื่อเอาตัวรอดได้ ควรสวมชูชีพทุกครั้งที่ลงเล่นน้ำ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลก ได้จัดทำหลักสูตร ความปลอดภัยทางน้ำ เริ่มทดลองสอนให้เด็กภายในเดือนเมษายนนี้เป็นครั้งแรก ขณะเดียวกัน ในชุมชน จะต้องเฝ้าระวัง โดยทำรั้วกั้นแหล่งน้ำป้องกันเด็กลงไปเล่นน้ำ และควรมีผู้สอดส่องความปลอดภัยให้เด็กในชุมชน” ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าว
ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตรองลงมาคือ อุบัติเหตุจราจร ซึ่งแต่ละปีมีเด็กเสียชีวิตเฉลี่ย 656 ราย หรือ 55 รายต่อเดือน การป้องกันที่ดีที่สุด คือ เด็กต้องเครื่องป้องกัน ทั้งสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมกับอายุทุกครั้งที่นั่งรถจักรยาน และรถจักรยานยนต์ รวมทั้งใช้เข็มขัดนิรภัย ด้วย ส่วนชุมชนจะต้องจัดพื้นที่เล่นปลอดภัยให้กับเด็กแยกออกจากพื้นถนน และควบคุมให้รถทุกประเภทใช้ความเร็วไม่เกิน 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รวมทั้งไม่ให้คนขับดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือให้เด็กซ้อนท้ายคนเมาอย่างเด็ดขาด นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เด็กเสียชีวิตอีก เฉลี่ย 1,087 รายต่อปี คิดเป็น 1 ใน 3 ของสาเหตุการเสียชีวิต เช่น อันตรายจากไฟฟ้า ความร้อน อาวุธปืน ของหนักหล่อนทับ ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้อยู่ใกล้ตัวเด็ก ในบ้าน หรือละแวกบ้าน ทั้งสิ้น