ประชาชนร้องผ่านเว็บ วธ.จัดโซนนิงสาดน้ำสงกรานต์ป้องกันถนนสายสำคัญใน กทม.-ต่างจังหวัดเกิดอุบัติเหตุ ปลัด วธ.รับลูกขอความร่วมมือไม่สาดน้ำนักซิ่ง ยกเว้นข้าวสาร หรือที่จัดไว้ให้ พร้อมร่อนหนังสือถึง พศ.จัดระเบียบพระ-สามเณรเล่นน้ำสงกรานต์ หวั่นสร้างภาพไม่ดีแก่พระพุทธศาสนา
วันนี้ (24 มี.ค.) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า มีประชาชนเป็นห่วงการเล่นน้ำสงกรานต์แบบผิดๆ ผ่านเว็บไซต์ วธ. www.m-culture.go.th เป็นจำนวนมาก ประเด็นสำคัญๆ ได้แก่ 1.เสนอให้ วธ.รณรงค์ให้ประชาชนใส่ชุดพื้นถิ่นในวันสงกรานต์ เพราะในประเทศญี่ปุ่นเวลามีงานดอกไม้ไฟ คนญี่ปุ่นก็จะร่วมกันใส่ชุดยูกาตะมาร่วมงาน ประเทศไทยเองก็มีชุดประจำชาติที่สวยงามไม่แพ้ชาติใด น่าจะนำมาสวมใส่ในวันสำคัญบ้าง ซึ่งชุดไทยที่ใส่ไม่จำเป็นต้องเป็นชุดไทยสไบเฉียงก็ได้ อาจจะเป็นชุดไทยสมัยใหม่ หรือนุ่งผ้าซิ่น
2.อยากให้ วธ.ออกระเบียบการเล่นน้ำ ในวันสงกรานต์ กำหนดเขตโซนนิง เพราะที่ผ่านมาการเล่นน้ำไม่ใช่ให้สาดกันได้ทุกที่ไม่เว้นข้างถนนหนทาง เป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์มาก จึงอยากให้กำหนดโซนนิง ให้เล่นน้ำในบริเวณที่กำหนด
3.ขอให้เข้มงวดพฤติกรรมของพระภิกษุสามเณรบางรูปที่มาร่วมสาดน้ำสงกรานต์กับประชาชนทั่วไปด้วย เนื่องจากพระบางรูปไปดูสาวเล่นน้ำตกอย่างสนุกสนาน แม้จะเป็นความบังเอิญของพระที่เดินทางมาพบ แต่หากปล่อยไว้จะทำให้ศาสนาวิบัติ และสำหรับบทลงโทษไม่ใช่แค่จับสึกแต่ควรมีบทลงโทษที่มากกว่านี้
ปลัด วธ.กล่าวต่อไปว่า สำหรับมาตรการในการแก้ไขปัญหาเรื่องดังกล่าว ในที่ประชุมการรณรงค์วันสงกรานต์ปี 2552 ซึ่งมี นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน ได้มีการหารือถึงทางออกไว้แล้วดังนี้ วธ.จะมีการรณรงค์ให้ประชาชน เด็กและเยาวชนสวมใส่ผ้าไทย ไม่จำเป็นต้องเป็นผ้าที่แพงแต่เป็นผ้าที่หาได้ในแต่ละท้องถิ่น เช่น ผ้าไทย เสื้อลายดอก ขอให้แต่งตัวอย่างสุภาพไม่ล่อแหลม หญิงสาวขอให้ต่างตัวอย่างรัดกุม ไม่สวมสายเดี่ยวเอวลอย หรือผ้าที่สาดน้ำแล้วเห็นเรือนร่าง อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเองได้ ส่วนการโซนนิงพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์นั้นในที่ประชุมยอมรับว่า เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก หากจะไปห้ามเลยคงไม่ได้ เพราะเป็นวิถีชีวิตคนไทยไปแล้ว ต้องค่อยเป็นค่อยไป ในปีแรกนี้ควรขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีจัดโซนนิ่งพื้นที่เฉพาะให้เล่นน้ำสงกรานต์ โดยเฉพาะตามถนนสายสำคัญ ทางหลวงที่มีการสัญจรกันอย่างหนาแน่นถือว่าอันตรายมาก
“ขอความร่วมมือให้ประชาชนทุกคนระมัดระวังในการเล่นน้ำสงกรานต์ เล่นในพื้นที่ที่ชุมชนกำหนดไว้เท่านั้น เช่น ในพื้นที่กรุงเทพฯที่ถนนข้าวสาร เป็นที่รับรู้กันว่าเปิดให้สาดน้ำสงกรานต์กันได้ จะไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น เพราะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยดูแล ส่วนภูมิภาคขอให้ทางจังหวัดเป็นผู้กำหนดว่าสามารถเล่นน้ำสงกรานต์ในพื้นที่ที่เหมาะสม เช่น ถนนที่ปิดให้เล่นสาดน้ำสงกรานต์ ในวัด ชุมชน ผมอยากให้คนเล่นนึกถึงคนที่ถูกสาดจะเป็นอันตรายด้วย ส่วนเรื่องขอให้ วธ.จัดระเบียบพระภิกษุ สามเณรบางรูปที่มาร่วมสาดน้ำสงกรานต์กับชาวบ้านนั้น ไม่อยู่ในการดูแลของ วธ.แต่จะส่งหนังสือประสานไปยังสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ให้หาทางแก้ไขตามที่ประชาชนร้องเรียนมาโดยเร็วที่สุด”ปลัด วธ.กล่าว
วันนี้ (24 มี.ค.) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า มีประชาชนเป็นห่วงการเล่นน้ำสงกรานต์แบบผิดๆ ผ่านเว็บไซต์ วธ. www.m-culture.go.th เป็นจำนวนมาก ประเด็นสำคัญๆ ได้แก่ 1.เสนอให้ วธ.รณรงค์ให้ประชาชนใส่ชุดพื้นถิ่นในวันสงกรานต์ เพราะในประเทศญี่ปุ่นเวลามีงานดอกไม้ไฟ คนญี่ปุ่นก็จะร่วมกันใส่ชุดยูกาตะมาร่วมงาน ประเทศไทยเองก็มีชุดประจำชาติที่สวยงามไม่แพ้ชาติใด น่าจะนำมาสวมใส่ในวันสำคัญบ้าง ซึ่งชุดไทยที่ใส่ไม่จำเป็นต้องเป็นชุดไทยสไบเฉียงก็ได้ อาจจะเป็นชุดไทยสมัยใหม่ หรือนุ่งผ้าซิ่น
2.อยากให้ วธ.ออกระเบียบการเล่นน้ำ ในวันสงกรานต์ กำหนดเขตโซนนิง เพราะที่ผ่านมาการเล่นน้ำไม่ใช่ให้สาดกันได้ทุกที่ไม่เว้นข้างถนนหนทาง เป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์มาก จึงอยากให้กำหนดโซนนิง ให้เล่นน้ำในบริเวณที่กำหนด
3.ขอให้เข้มงวดพฤติกรรมของพระภิกษุสามเณรบางรูปที่มาร่วมสาดน้ำสงกรานต์กับประชาชนทั่วไปด้วย เนื่องจากพระบางรูปไปดูสาวเล่นน้ำตกอย่างสนุกสนาน แม้จะเป็นความบังเอิญของพระที่เดินทางมาพบ แต่หากปล่อยไว้จะทำให้ศาสนาวิบัติ และสำหรับบทลงโทษไม่ใช่แค่จับสึกแต่ควรมีบทลงโทษที่มากกว่านี้
ปลัด วธ.กล่าวต่อไปว่า สำหรับมาตรการในการแก้ไขปัญหาเรื่องดังกล่าว ในที่ประชุมการรณรงค์วันสงกรานต์ปี 2552 ซึ่งมี นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน ได้มีการหารือถึงทางออกไว้แล้วดังนี้ วธ.จะมีการรณรงค์ให้ประชาชน เด็กและเยาวชนสวมใส่ผ้าไทย ไม่จำเป็นต้องเป็นผ้าที่แพงแต่เป็นผ้าที่หาได้ในแต่ละท้องถิ่น เช่น ผ้าไทย เสื้อลายดอก ขอให้แต่งตัวอย่างสุภาพไม่ล่อแหลม หญิงสาวขอให้ต่างตัวอย่างรัดกุม ไม่สวมสายเดี่ยวเอวลอย หรือผ้าที่สาดน้ำแล้วเห็นเรือนร่าง อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเองได้ ส่วนการโซนนิงพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์นั้นในที่ประชุมยอมรับว่า เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก หากจะไปห้ามเลยคงไม่ได้ เพราะเป็นวิถีชีวิตคนไทยไปแล้ว ต้องค่อยเป็นค่อยไป ในปีแรกนี้ควรขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีจัดโซนนิ่งพื้นที่เฉพาะให้เล่นน้ำสงกรานต์ โดยเฉพาะตามถนนสายสำคัญ ทางหลวงที่มีการสัญจรกันอย่างหนาแน่นถือว่าอันตรายมาก
“ขอความร่วมมือให้ประชาชนทุกคนระมัดระวังในการเล่นน้ำสงกรานต์ เล่นในพื้นที่ที่ชุมชนกำหนดไว้เท่านั้น เช่น ในพื้นที่กรุงเทพฯที่ถนนข้าวสาร เป็นที่รับรู้กันว่าเปิดให้สาดน้ำสงกรานต์กันได้ จะไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น เพราะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยดูแล ส่วนภูมิภาคขอให้ทางจังหวัดเป็นผู้กำหนดว่าสามารถเล่นน้ำสงกรานต์ในพื้นที่ที่เหมาะสม เช่น ถนนที่ปิดให้เล่นสาดน้ำสงกรานต์ ในวัด ชุมชน ผมอยากให้คนเล่นนึกถึงคนที่ถูกสาดจะเป็นอันตรายด้วย ส่วนเรื่องขอให้ วธ.จัดระเบียบพระภิกษุ สามเณรบางรูปที่มาร่วมสาดน้ำสงกรานต์กับชาวบ้านนั้น ไม่อยู่ในการดูแลของ วธ.แต่จะส่งหนังสือประสานไปยังสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ให้หาทางแก้ไขตามที่ประชาชนร้องเรียนมาโดยเร็วที่สุด”ปลัด วธ.กล่าว