สกศ.เร่งทำแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัด และจังหวัด คาดสรุปได้ก่อนเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2552 ชี้ หากสามารถเชื่อมการศึกษาเข้ากับแผนพัฒนาของกลุ่มจังหวัดและจังหวัดได้ ก็จะสามารถพัฒนาในภาพรวมได้ ยืนยันไม่ใช่แผนที่คิดและสั่งการไปจากส่วนกลางแน่นอน
รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เปิดเผยความคืบหน้าการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัด และจังหวัด ตามที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ มอบหมายว่า จากการประชุมคณะทำงานเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้หารือถึงโครงสร้างและประเด็นของแผนพัฒนาดังกล่าว โดยได้เชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยออกแบบโครงสร้างการทำแผน และได้มอบหมายให้คณะทำงานแต่ละกลุ่มจังหวัด และจังหวัด ไปลงในรายละเอียด โดยบูรณาการกับแผนการพัฒนากลุ่มจังหวัด และจังหวัดของกระทรวงมหาดไทย เพื่อเสนอกลับมายังคณะทำงานส่วนกลางอีกครั้งหนึ่ง คาดว่า น่าจะสามารถสรุปแผนการพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัด และจังหวัดได้ก่อนเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2552 หรืออย่างช้าที่สุดประมาณต้นเดือนมิถุนายน 2552 นี้
“หากสามารถเชื่อมเรื่องของการศึกษาไปยังแผนกลุ่มจังหวัดและจังหวัดได้ น่าจะทำให้การพัฒนาภาพรวมของทั้งกลุ่มจังหวัดและจังหวัดดีขึ้น เช่น ตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดอันดามันต้องการส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยว ก็ต้องดูว่าในส่วนของการศึกษาจะต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งอาจจะต้องส่งเสริมเรื่องการเรียนภาษามากขึ้น โดยไม่เพียงแต่เน้นนักเรียนในโรงเรียน แต่จะต้องดูไปถึงประชาชนที่อยู่นอกระบบด้วย หรือ จังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ต้องการเป็นตลาดการค้าหรือประตูสู่อินโดจีน ก็ต้องดูว่านอกจากเรื่องภาษาแล้วมีความรู้เรื่องการทำธุรกิจเพียงพอหรือยัง จะต้องเพิ่มการเรียนการสอนอะไรเข้าไปอีกบ้าง เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ เป็นต้น และการทำแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัด และ จังหวัด ครั้งนี้จะเป็นสิ่งที่คิดขึ้นมาจากกลุ่มจังหวัด และจังหวัด โดยร่วมมือกับสถานศึกษาในพื้นที่ ไม่ใช่ส่วนกลางทำและสั่งการไปให้ ” เลขาธิการ สกศ.กล่าว
รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เปิดเผยความคืบหน้าการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัด และจังหวัด ตามที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ มอบหมายว่า จากการประชุมคณะทำงานเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้หารือถึงโครงสร้างและประเด็นของแผนพัฒนาดังกล่าว โดยได้เชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยออกแบบโครงสร้างการทำแผน และได้มอบหมายให้คณะทำงานแต่ละกลุ่มจังหวัด และจังหวัด ไปลงในรายละเอียด โดยบูรณาการกับแผนการพัฒนากลุ่มจังหวัด และจังหวัดของกระทรวงมหาดไทย เพื่อเสนอกลับมายังคณะทำงานส่วนกลางอีกครั้งหนึ่ง คาดว่า น่าจะสามารถสรุปแผนการพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัด และจังหวัดได้ก่อนเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2552 หรืออย่างช้าที่สุดประมาณต้นเดือนมิถุนายน 2552 นี้
“หากสามารถเชื่อมเรื่องของการศึกษาไปยังแผนกลุ่มจังหวัดและจังหวัดได้ น่าจะทำให้การพัฒนาภาพรวมของทั้งกลุ่มจังหวัดและจังหวัดดีขึ้น เช่น ตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดอันดามันต้องการส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยว ก็ต้องดูว่าในส่วนของการศึกษาจะต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งอาจจะต้องส่งเสริมเรื่องการเรียนภาษามากขึ้น โดยไม่เพียงแต่เน้นนักเรียนในโรงเรียน แต่จะต้องดูไปถึงประชาชนที่อยู่นอกระบบด้วย หรือ จังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ต้องการเป็นตลาดการค้าหรือประตูสู่อินโดจีน ก็ต้องดูว่านอกจากเรื่องภาษาแล้วมีความรู้เรื่องการทำธุรกิจเพียงพอหรือยัง จะต้องเพิ่มการเรียนการสอนอะไรเข้าไปอีกบ้าง เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ เป็นต้น และการทำแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัด และ จังหวัด ครั้งนี้จะเป็นสิ่งที่คิดขึ้นมาจากกลุ่มจังหวัด และจังหวัด โดยร่วมมือกับสถานศึกษาในพื้นที่ ไม่ใช่ส่วนกลางทำและสั่งการไปให้ ” เลขาธิการ สกศ.กล่าว