คณะกรรมการสิทธิฯ วุฒิสภา, เครือข่ายพ่อแม่ปฏิรูปศึกษา รุมจวก “ชัยวุฒิ” จี้เลิกใช้ GAT/PAT อ้างไม่เป็นธรรมต่อเด็ก “รสนา” ชี้การศึกษาไทยอยู่ในกรอบล้าหลังต้องถอนรากถอนโคน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น.ที่ตึกวุฒิสภา คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาลวุฒิสภา คณะกรรมาธิการการยุติธรรมและการตำรวจวุฒิสภา และกรรมาธิการศึกษาวุฒิสภา จัดสัมมนาเรื่อง “เอเน็ต โอเน็ต” การละเมิดสิทธิทางการศึกษาของเด็กกับอนาคตการสอบเข้ามหาลัย โดยมีนายสมชาย แสวงการ ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนฯ เป็นประธานนางสาวรสนา โตสิตระกูล ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาลฯ โดยมี นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการศึกษาธิการเข้าร่วมสัมมนา
นายชัยวุฒิกล่าวว่า การเปิดคัดเลือกนิสิต นักศึกษาโดยระบบกลาง หรือแอดมิชชัน ไม่ได้เปิดโอกาสให้เด็กเท่าที่ควร แต่นโยบายรัฐบาลนอกจากจะรับเด็กที่มีความรู้ ความสามารถอย่างเดียวไม่พอ ต้องพูดถึงจิตอาสาหรือเด็กที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อเปิดให้นักเรียนเหล่านี้ได้เข้ามหาวิทยาลัยให้ได้เท่าเทียมกับคนเรียนเก่ง และต่อจากนี้เราจะเปิดโอกาสแบบนี้ให้มากขึ้น ส่วนเรื่องความถนัดทั่วไป (GAT) และการสอบความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ (PAT) ทำไมกระทรวงศึกษาฯ จึงเปิดให้นักเรียนสอบถึง 3 ครั้ง ขณะเดียวกัน การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง หรือเอเน็ต เปิดสอบครั้งเดียว และมีปัญหาตามมา ซึ่งตนได้ถามผู้ที่รับผิดชอบได้คำตอบว่าเพราะกระทรวงศึกษาฯ ไม่อยากให้เด็กพลาดโอกาสตนก็พยายามไม่ให้มีปัญหาเรื่องการรับเรียกเงินเกิดขึ้น เพราะเปิดสอบหลายครั้ง อย่างไรก็ตามที่มีเด็กนักเรียนมาสอบ GAT และ PAT น้อยนั้น เพราะว่าทางกระทรวงฯ ไม่ได้ประชาสัมพันธ์เท่าที่ควร เพราะเกรงว่าเด็กจะสับสนและเกรงว่าจะซ้อนกับการสอบเอเน็ต
ด้าน นางสาวรสนา กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการสอบแบบเอเน็ต เพราะกระทรวงศึกษาฯ เอาระบบเด็กแพ้แล้วคัดออก แต่ไม่ได้ทำให้เด็กมีจินตนาการเอง และทำให้เด็กไม่มีความสุข เหมือนบีบให้เด็กมาอยู่ในกรอบแคบลงมาเรื่อยๆ จากที่ตนฟังรัฐมนตรีพูดรู้สึกว่ากรอบการศึกษาเป็นกรอบที่แย่มาก และการศึกษาเป็นระบบที่ล้าหลังมากที่สุด อย่าปล่อยให้ลูกหลานตกอยู่ในอันตราย อย่างนี้ต้องถอนรากถอนโคน เพราะมัวแต่คิดระบบใหม่ๆ ให้มีความสะดวกรวดเร็ว
นายชัยวุฒิกล่าวว่า ตนยอมรับว่าไม่ได้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษามากนัก แต่พอได้รับภาระหน้าที่ก็จะทำให้ดีที่สุด และเท่าที่เข้ามารับตำแหน่งก็ทำงานหนักมาตลอด จะสังเกตว่าตนไม่ค่อยได้เป็นข่าวสักเท่าใด คิดว่ามนุษย์ไม่มีใครสวยทั้งหมดทุกเรื่อง แต่ถ้าคนจะติก็ติได้ทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาทุกคนสามารถพูดได้ทุกเรื่อง
ด้าน พญ.กมลพรรณ ชีวพันธุ์ศรี ประธานเครือข่ายพ่อแม่เพื่อการปฏิรูปศึกษา กล่าวว่า แม้ว่าจะใช้ระบบ GAT PAT ในปี 2553 ก็ไม่มีปัญหา แต่จะเพิ่มปัญหามากขึ้น เด็กจะถูกละเมิดสิทธิ อาทิ ด้านคุณภาพ และโอกาสเท่าเทียมกันด้านการศึกษา ด้านจิตใจ และการจะใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต ปรับเกรด เสี่ยงต่อความอยุติธรรมสูง หากใช้เกณฑ์โรงเรียน แต่หากใช้เกณฑ์บุคคลสุ่มเสียงต่อความไม่โปร่งใส
ด้าน นายสมชาย แสวงการ คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กล่าวถึงกรณีเปิดสอบ GAT/PAT ว่าตนอยากให้รัฐมนตรีช่วยศึกษาธิการไปเสนอต่อที่ประชุม ครม.ว่าให้ยกเลิกGAT/PAT ในปี 53 เพราะถ้าปล่อยไว้จะเป็นปัญหาเรื้อรัง เพราะจะเกิดปัญหาตามมาคือเด็กเข้าเรียนได้ แต่เรียนไม่ได้เพราะไม่มีความชำนาญเฉพาะด้าน ซึ่งระบบนี้ก็เหมือนกับเอเน็ต, โอเน็ตอยู่ดี รัฐบาลจะต้องชัดเจนในเรื่องนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น.ที่ตึกวุฒิสภา คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาลวุฒิสภา คณะกรรมาธิการการยุติธรรมและการตำรวจวุฒิสภา และกรรมาธิการศึกษาวุฒิสภา จัดสัมมนาเรื่อง “เอเน็ต โอเน็ต” การละเมิดสิทธิทางการศึกษาของเด็กกับอนาคตการสอบเข้ามหาลัย โดยมีนายสมชาย แสวงการ ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนฯ เป็นประธานนางสาวรสนา โตสิตระกูล ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาลฯ โดยมี นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการศึกษาธิการเข้าร่วมสัมมนา
นายชัยวุฒิกล่าวว่า การเปิดคัดเลือกนิสิต นักศึกษาโดยระบบกลาง หรือแอดมิชชัน ไม่ได้เปิดโอกาสให้เด็กเท่าที่ควร แต่นโยบายรัฐบาลนอกจากจะรับเด็กที่มีความรู้ ความสามารถอย่างเดียวไม่พอ ต้องพูดถึงจิตอาสาหรือเด็กที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อเปิดให้นักเรียนเหล่านี้ได้เข้ามหาวิทยาลัยให้ได้เท่าเทียมกับคนเรียนเก่ง และต่อจากนี้เราจะเปิดโอกาสแบบนี้ให้มากขึ้น ส่วนเรื่องความถนัดทั่วไป (GAT) และการสอบความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ (PAT) ทำไมกระทรวงศึกษาฯ จึงเปิดให้นักเรียนสอบถึง 3 ครั้ง ขณะเดียวกัน การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง หรือเอเน็ต เปิดสอบครั้งเดียว และมีปัญหาตามมา ซึ่งตนได้ถามผู้ที่รับผิดชอบได้คำตอบว่าเพราะกระทรวงศึกษาฯ ไม่อยากให้เด็กพลาดโอกาสตนก็พยายามไม่ให้มีปัญหาเรื่องการรับเรียกเงินเกิดขึ้น เพราะเปิดสอบหลายครั้ง อย่างไรก็ตามที่มีเด็กนักเรียนมาสอบ GAT และ PAT น้อยนั้น เพราะว่าทางกระทรวงฯ ไม่ได้ประชาสัมพันธ์เท่าที่ควร เพราะเกรงว่าเด็กจะสับสนและเกรงว่าจะซ้อนกับการสอบเอเน็ต
ด้าน นางสาวรสนา กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการสอบแบบเอเน็ต เพราะกระทรวงศึกษาฯ เอาระบบเด็กแพ้แล้วคัดออก แต่ไม่ได้ทำให้เด็กมีจินตนาการเอง และทำให้เด็กไม่มีความสุข เหมือนบีบให้เด็กมาอยู่ในกรอบแคบลงมาเรื่อยๆ จากที่ตนฟังรัฐมนตรีพูดรู้สึกว่ากรอบการศึกษาเป็นกรอบที่แย่มาก และการศึกษาเป็นระบบที่ล้าหลังมากที่สุด อย่าปล่อยให้ลูกหลานตกอยู่ในอันตราย อย่างนี้ต้องถอนรากถอนโคน เพราะมัวแต่คิดระบบใหม่ๆ ให้มีความสะดวกรวดเร็ว
นายชัยวุฒิกล่าวว่า ตนยอมรับว่าไม่ได้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษามากนัก แต่พอได้รับภาระหน้าที่ก็จะทำให้ดีที่สุด และเท่าที่เข้ามารับตำแหน่งก็ทำงานหนักมาตลอด จะสังเกตว่าตนไม่ค่อยได้เป็นข่าวสักเท่าใด คิดว่ามนุษย์ไม่มีใครสวยทั้งหมดทุกเรื่อง แต่ถ้าคนจะติก็ติได้ทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาทุกคนสามารถพูดได้ทุกเรื่อง
ด้าน พญ.กมลพรรณ ชีวพันธุ์ศรี ประธานเครือข่ายพ่อแม่เพื่อการปฏิรูปศึกษา กล่าวว่า แม้ว่าจะใช้ระบบ GAT PAT ในปี 2553 ก็ไม่มีปัญหา แต่จะเพิ่มปัญหามากขึ้น เด็กจะถูกละเมิดสิทธิ อาทิ ด้านคุณภาพ และโอกาสเท่าเทียมกันด้านการศึกษา ด้านจิตใจ และการจะใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต ปรับเกรด เสี่ยงต่อความอยุติธรรมสูง หากใช้เกณฑ์โรงเรียน แต่หากใช้เกณฑ์บุคคลสุ่มเสียงต่อความไม่โปร่งใส
ด้าน นายสมชาย แสวงการ คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กล่าวถึงกรณีเปิดสอบ GAT/PAT ว่าตนอยากให้รัฐมนตรีช่วยศึกษาธิการไปเสนอต่อที่ประชุม ครม.ว่าให้ยกเลิกGAT/PAT ในปี 53 เพราะถ้าปล่อยไว้จะเป็นปัญหาเรื้อรัง เพราะจะเกิดปัญหาตามมาคือเด็กเข้าเรียนได้ แต่เรียนไม่ได้เพราะไม่มีความชำนาญเฉพาะด้าน ซึ่งระบบนี้ก็เหมือนกับเอเน็ต, โอเน็ตอยู่ดี รัฐบาลจะต้องชัดเจนในเรื่องนี้