สพฐ.จับมือกรมการปกครอง ทำระบบข้อมูล นำทะเบียนราษฎรเชื่อมโยงระบบ สพฐ.เช็กจำนวนเด็กตกหล่น ออกกลางคัน ขอความร่วมมือ ผวจ.-นายอำเภอติดตามเยี่ยมบ้าน นร.และให้ สพท.ทำงานร่วมกับกรรมการหมู่บ้านบรรจุของดีในท้องถิ่นในการเรียนการสอน
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมกับนายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมการปกครอง และคณะ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานตามโครงการกรมการปกครองเคลื่อนที่ เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมได้ทำข้อตกลงร่วมกัน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.การจัดทำระบบข้อมูล โดยการนำทะเบียนราษฎร์เชื่อมโยงกับระบบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อตรวจสอบจำนวนเด็กตกหล่น และใช้ประโยชน์ในการสำรวจเด็กเข้าเรียน หรือออกกลางคันได้
2.สนับสนุนในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมนักเรียนไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด ทะเลาะวิวาท รวมถึงความปลอดภัยของเด็กในมิติต่างๆ ตลอดจนขอความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ เพื่อติดตามและเยี่ยมบ้านนักเรียนด้วย และ 3.การจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน ซึ่งในแต่ละพื้นที่มีของดีที่เป็นเอกลักษณ์ และต้องการให้บรรจุอยู่ในการเรียนการสอน หรือทำเป็นแหล่งเรียนรู้ภายนอกให้กับเด็ก ทั้งนี้กรมการปกครองได้ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ได้มีการทำงานร่วมกับกรรมการหมู่บ้าน เพื่อเป็นการประสานงานระหว่างอำเภอกับเขตพื้นที่ได้มากขึ้น
“ความร่วมมือระหว่างสองหน่วยงานจะทำให้เกิดการทำงานร่วมกันแบบมีคุณค่ามากขึ้น และนายอำเภอที่มีประสบการณ์ได้เข้ามาช่วยสะท้อนความคิดในเรื่องการศึกษา เช่น โรงเรียนขนาดเล็ก ความเดือดร้อนของครู เป็นต้น ซึ่ง สพฐ.จะชักชวนให้นายอำเภอเข้ามาช่วยเหลือการศึกษาด้วย เพราะกรมการปกครองมีฐานข้อมูลของประชาชนที่ชัดเจน ซึ่งจะทำให้เราตรวจสอบและทราบข้อมูลเด็กตกหล่นว่ามีอายุและจำนวนเท่าไหร่ที่ยังตกหล่นอยู่ รวมถึงการช่วยเหลือเด็กที่ไม่มีสัญชาติ เพื่อให้เด็กเหล่านี้จะได้ไม่เสียโอกาสทางการศึกษา” คุณหญิงกษมา กล่าว
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมกับนายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมการปกครอง และคณะ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานตามโครงการกรมการปกครองเคลื่อนที่ เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมได้ทำข้อตกลงร่วมกัน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.การจัดทำระบบข้อมูล โดยการนำทะเบียนราษฎร์เชื่อมโยงกับระบบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อตรวจสอบจำนวนเด็กตกหล่น และใช้ประโยชน์ในการสำรวจเด็กเข้าเรียน หรือออกกลางคันได้
2.สนับสนุนในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมนักเรียนไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด ทะเลาะวิวาท รวมถึงความปลอดภัยของเด็กในมิติต่างๆ ตลอดจนขอความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ เพื่อติดตามและเยี่ยมบ้านนักเรียนด้วย และ 3.การจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน ซึ่งในแต่ละพื้นที่มีของดีที่เป็นเอกลักษณ์ และต้องการให้บรรจุอยู่ในการเรียนการสอน หรือทำเป็นแหล่งเรียนรู้ภายนอกให้กับเด็ก ทั้งนี้กรมการปกครองได้ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ได้มีการทำงานร่วมกับกรรมการหมู่บ้าน เพื่อเป็นการประสานงานระหว่างอำเภอกับเขตพื้นที่ได้มากขึ้น
“ความร่วมมือระหว่างสองหน่วยงานจะทำให้เกิดการทำงานร่วมกันแบบมีคุณค่ามากขึ้น และนายอำเภอที่มีประสบการณ์ได้เข้ามาช่วยสะท้อนความคิดในเรื่องการศึกษา เช่น โรงเรียนขนาดเล็ก ความเดือดร้อนของครู เป็นต้น ซึ่ง สพฐ.จะชักชวนให้นายอำเภอเข้ามาช่วยเหลือการศึกษาด้วย เพราะกรมการปกครองมีฐานข้อมูลของประชาชนที่ชัดเจน ซึ่งจะทำให้เราตรวจสอบและทราบข้อมูลเด็กตกหล่นว่ามีอายุและจำนวนเท่าไหร่ที่ยังตกหล่นอยู่ รวมถึงการช่วยเหลือเด็กที่ไม่มีสัญชาติ เพื่อให้เด็กเหล่านี้จะได้ไม่เสียโอกาสทางการศึกษา” คุณหญิงกษมา กล่าว