คนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเป็นอันดับหนึ่ง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยมะเร็งที่พบมาก ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก ซึ่งพฤติกรรมการบริโภคเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดโรคมะเร็ง
ทั้งนี้ ตามข้อมูลตามตำราโบราณของหมอพื้นบ้าน รวมถึงนักวิชาการที่มีการศึกษาวิจัยเรื่องผักพื้นบ้านทั้งในและต่างประเทศ ยืนยันว่า ผักพื้นบ้านของไทยมีสารต้านมะเร็งสูง
นพ.ประพจน์ เภตรากาศ รองอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อธิบายว่า ไทยมีผักพื้นบ้านจำนวนมาก จากการสำรวจที่มีหลักฐานอ้างอิงในตำรามีประมาณเกือบ 300 ชนิด โดยจากการค้นคว้าวิจัยวิชาการของศูนย์ปฏิบัติการปลูกพืชทดลอง พบว่า หนึ่ง-ผักพื้นบ้านที่มีประโยชน์และคุณค่านั้นต้องเป็นผักที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในท้องถิ่น หรือการปลูกแบบธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้มีคุณค่าทางอาหารสูง และปลอดภัยจากสารเคมีต่างๆ
สอง-ผักพื้นบ้านมีกากใยสูง ซึ่งจะช่วยลดการดูดซึมไขมัน ทำให้ท้องไม่ผูกและสามารถป้องกันมะเร็งที่เกิดในทางเดินอาหารโดยเฉพาะลำไส้ใหญ่
สาม-มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยป้องกันความเสื่อมของร่างกายตามวัย โดยเฉพาะในวัยสูงอายุ และผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ที่สำคัญคือช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งหรือยับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้
นอกจากนี้ ผักพื้นบ้านหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ใบยอ ยอดกระถิน มีแคลเซียมสูง ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระดูกในเด็กและป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ
“งานวิจัยจำนวนมาก ยืนยันว่า ผักพื้นบ้านทุกชนิด มีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะงานวิจัยของ ม.เกษตรศาสตร์กำแพงแสน พบว่า ผักพื้นบ้านกว่า 90 ชนิด สามารถยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้ เช่น ผักขี้ขวง (สะเดาดิน) มะระขี้นก ใบมะม่วง เพกา ตังโอ๋ แขนงกะหล่ำ ตะไคร้ ชะมวง โหระพา ใบยี่หร่า แมงลัก ถั่วลันเตา แคบ้าน ผักแว่น ยอดสะเดา พริกไทย มะกรูด ชะพลู ใบพลู ผักแพว ใบยอ พลูคาว ขึ้นฉ่าย ใบบัวบก ผักชี ผักชีฝรั่ง กระชาย ข่า ขิง ฟัก สะระแหน่ ดอกขี้เหล็ก หยวกกล้วย ผักชีลาว เป็นต้น”นพ.ประพจน์ แจกแจง
นพ.นรา นาควัฒนานุกูล อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้ข้อมูลเพิ่มอีกว่า จากข้อมูลทางวิชาการพบว่าในผักพื้นบ้านจะมีสารกลุ่มฟลาโวบอยด์ คาโรทีนอยด์ โปรแอนโทไซยานิดีน เทอร์บีน ซึ่งพบว่าช่วยปกป้องร่างกายจากการเป็นมะเร็ง เสริมภูมิต้านทานและชะลอความเสื่อมของร่างกาย โดยผักพื้นบ้านไทยที่มีสารกลุ่มนี้ ได้แก่ ขมิ้นชัน มะระขี้ นก ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด กระเทียม พริก สะเดา
“มีผลวิจัยว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น หากรับประทานผักพื้นบ้านเสริมกันกับการรักษาโรคมะเร็งจะช่วยให้อาการดีขึ้น และหายเร็วขึ้น ซึ่งแนะนำให้รับประทานน้ำพริกกับผัก ขณะเดียวกัน จะต้องลดพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น การรับประทานอาหารหมักดอง อาหารรสเค็ม ทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร การรับประทานนม เนย แอลกอฮอล์ เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม การรับประทานเนื้อแดงเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ เป็นต้น”นพ.นรา แนะนำ
ด้าน “นวนันทน์ กิจทวี" นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญอาหารแม็คโครไบรโอติก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสริมว่า อาหารแม็คโครไบรโอติกสำหรับต้านมะเร็ง ถือเป็นอาหารที่ช่วยสร้างความสมดุลให้แก่ชีวิตหรือหยินและหยาง ซึ่งข้อสำคัญที่ต้องจำไว้ คือ ห้ามรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล และเปลี่ยนมารับประทานข้าวกล้อง ธัญพืช โดยเน้นที่มาจากธรรมชาติ ขณะเดียวกัน ก็ควรปรุงอาหารให้มีความสมดุลกับสภาพร่างกาย อากาศ และสิ่งแวดล้อมในขณะนั้นด้วย
ทั้งนี้ ตามข้อมูลตามตำราโบราณของหมอพื้นบ้าน รวมถึงนักวิชาการที่มีการศึกษาวิจัยเรื่องผักพื้นบ้านทั้งในและต่างประเทศ ยืนยันว่า ผักพื้นบ้านของไทยมีสารต้านมะเร็งสูง
นพ.ประพจน์ เภตรากาศ รองอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อธิบายว่า ไทยมีผักพื้นบ้านจำนวนมาก จากการสำรวจที่มีหลักฐานอ้างอิงในตำรามีประมาณเกือบ 300 ชนิด โดยจากการค้นคว้าวิจัยวิชาการของศูนย์ปฏิบัติการปลูกพืชทดลอง พบว่า หนึ่ง-ผักพื้นบ้านที่มีประโยชน์และคุณค่านั้นต้องเป็นผักที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในท้องถิ่น หรือการปลูกแบบธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้มีคุณค่าทางอาหารสูง และปลอดภัยจากสารเคมีต่างๆ
สอง-ผักพื้นบ้านมีกากใยสูง ซึ่งจะช่วยลดการดูดซึมไขมัน ทำให้ท้องไม่ผูกและสามารถป้องกันมะเร็งที่เกิดในทางเดินอาหารโดยเฉพาะลำไส้ใหญ่
สาม-มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยป้องกันความเสื่อมของร่างกายตามวัย โดยเฉพาะในวัยสูงอายุ และผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ที่สำคัญคือช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งหรือยับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้
นอกจากนี้ ผักพื้นบ้านหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ใบยอ ยอดกระถิน มีแคลเซียมสูง ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระดูกในเด็กและป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ
“งานวิจัยจำนวนมาก ยืนยันว่า ผักพื้นบ้านทุกชนิด มีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะงานวิจัยของ ม.เกษตรศาสตร์กำแพงแสน พบว่า ผักพื้นบ้านกว่า 90 ชนิด สามารถยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้ เช่น ผักขี้ขวง (สะเดาดิน) มะระขี้นก ใบมะม่วง เพกา ตังโอ๋ แขนงกะหล่ำ ตะไคร้ ชะมวง โหระพา ใบยี่หร่า แมงลัก ถั่วลันเตา แคบ้าน ผักแว่น ยอดสะเดา พริกไทย มะกรูด ชะพลู ใบพลู ผักแพว ใบยอ พลูคาว ขึ้นฉ่าย ใบบัวบก ผักชี ผักชีฝรั่ง กระชาย ข่า ขิง ฟัก สะระแหน่ ดอกขี้เหล็ก หยวกกล้วย ผักชีลาว เป็นต้น”นพ.ประพจน์ แจกแจง
นพ.นรา นาควัฒนานุกูล อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้ข้อมูลเพิ่มอีกว่า จากข้อมูลทางวิชาการพบว่าในผักพื้นบ้านจะมีสารกลุ่มฟลาโวบอยด์ คาโรทีนอยด์ โปรแอนโทไซยานิดีน เทอร์บีน ซึ่งพบว่าช่วยปกป้องร่างกายจากการเป็นมะเร็ง เสริมภูมิต้านทานและชะลอความเสื่อมของร่างกาย โดยผักพื้นบ้านไทยที่มีสารกลุ่มนี้ ได้แก่ ขมิ้นชัน มะระขี้ นก ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด กระเทียม พริก สะเดา
“มีผลวิจัยว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น หากรับประทานผักพื้นบ้านเสริมกันกับการรักษาโรคมะเร็งจะช่วยให้อาการดีขึ้น และหายเร็วขึ้น ซึ่งแนะนำให้รับประทานน้ำพริกกับผัก ขณะเดียวกัน จะต้องลดพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น การรับประทานอาหารหมักดอง อาหารรสเค็ม ทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร การรับประทานนม เนย แอลกอฮอล์ เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม การรับประทานเนื้อแดงเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ เป็นต้น”นพ.นรา แนะนำ
ด้าน “นวนันทน์ กิจทวี" นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญอาหารแม็คโครไบรโอติก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสริมว่า อาหารแม็คโครไบรโอติกสำหรับต้านมะเร็ง ถือเป็นอาหารที่ช่วยสร้างความสมดุลให้แก่ชีวิตหรือหยินและหยาง ซึ่งข้อสำคัญที่ต้องจำไว้ คือ ห้ามรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล และเปลี่ยนมารับประทานข้าวกล้อง ธัญพืช โดยเน้นที่มาจากธรรมชาติ ขณะเดียวกัน ก็ควรปรุงอาหารให้มีความสมดุลกับสภาพร่างกาย อากาศ และสิ่งแวดล้อมในขณะนั้นด้วย