“ผมมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ และมองไกลไปสู่ระดับสากล จึงอยากจะนำเด็กไทยไปสู่จุดนั้นให้ได้” นี่คือ แนววิสัยทัศน์ ของ “วิศรุต สนธิชัย” ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แหล่งรวม “เด็กหัวกะทิ” ที่อยู่คู่กับวงการศึกษาไทยมาแล้ว 72 ปี และกำลังจะก้าวเข้าสู่ปีที่ 73
แน่นอนว่า ผลพวงของการที่เป็นสถาบันการศึกษาอันดับ 1 ย่อมเป็นภาระที่หนักอึ้งสำหรับผู้บริหาร แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องบอกว่าเป็นงานที่ท้าทายความสามารถเป็นอย่างมาก และที่สำคัญ คือ เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า แทบทุกโรงเรียนในประเทศไทยเฝ้าจับตามองระบบการเรียนการสอนของเตรียมอุดมอย่างไม่วางตาเช่นกัน
** เด็ก ต.อ.ต้องนำความดีสนองสังคม
ผอ.วิศรุต เปิดเผยว่า เตรียมอุดมเป็นโรงเรียนระดับพิเศษที่มีการสอนเฉพาะชั้นมัธยมตอนปลาย (ม.4-6) บริบททั่วไปของโรงเรียนจะประกอบไปด้วย บุคลากร ครูผู้สอนที่เก่ง โดยมีนักเรียนที่เป็นสุดยอดของไทยอยู่รวมกัน โดยการบริหารสามารถแยกได้เป็นกลุ่มๆ คือ กลุ่มงานปกครอง ซึ่งนักเรียนเตรียมอุดมฯ แทบไม่ต้องดูแลอะไรมาก เพียงแค่ย้ำเตือนให้เด็กตระหนักถึงศักยภาพของการเป็นนักเรียน และเฉพาะอย่างยิ่งกับการเป็นโรงเรียนที่ประดับเข็มจุฬาลงกรณ์ จึงต้องให้เกียรติต่อเครื่องแบบ
ขณะเดียวกัน ก็ต้องปลูกฝังนักเรียนในรุ่นปัจจุบันคิดอยู่เสมอ ว่า เมื่อเรียนจบไปแล้วจะทำอะไรที่เป็นประโยชน์เพื่อประเทศได้บ้าง ดังนั้น จึงต้องนำความรู้ความสามารถที่มีอยู่ มากระจายสู่สังคม อีกทั้งในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ก็เชื่อว่าการที่เด็กจะเรียนเก่งได้นั้นต้องมีพื้นจากการเป็นคนดีมาก่อน และขณะเดียวกันก็ต้องเป็นการทำความดีสนองกลับสู่สังคมเช่นกัน
สำหรับด้านวิชาการนั้น ทุกวันนี้โรงเรียนสังกัด สพฐ.ต่างใช้หลักสูตรแกนกลาง ผสมกับวิชาเลือกที่แต่ละโรงเรียนจะจัดสรรให้ แต่ตนเองคิดว่าการใช้หลักสูตรมาตรฐานแกนกลางอย่างเดียวคงไม่พอ เป็นเหตุให้เด็กแต่ละโรงเรียนต้องแสวงหาการเรียนนอกห้องเรียน หรือ กวดวิชาเพิ่มเติม
ดังนั้น สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่จะต้องเพิ่มความเข้มข้นของหลักสูตร หลักสูตรไหนในเมืองไทยที่ดีที่สุด ก็ได้ให้นำมาพิจารณาปรับใช้ และหากหลักสูตรภายในประเทศยังไม่พอ ก็ต้องพิจารณานำหลักสูตรจากต่างประเทศเข้ามารองรับความต้องการของผู้เรียนซึ่งต้องเติมเต็มให้มากที่สุด
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เด็กที่เรียนเก่งอย่างเดียว แต่ขาดในเรื่องของสังคมคงไม่ได้ จึงต้องสร้างกิจกรรมที่หลากหลายภายในโรงเรียนเช่นกัน เช่น ดนตรีหรือกีฬา เป็นต้น
“ถามว่า บริหารงานยากไหม ผมคิดว่าไม่ยาก เพราะผู้อำนวยการแต่ละท่านที่ผ่านมาได้ปูแนวทางที่ดีมาโดยตลอด เราเพียงเข้ามาสานต่อนโยบาย และเข้ามาคิดงานเพิ่มเท่านั้น ซึ่งจะว่าไปแล้วการมารับงานบริหารที่นี่แตกต่างจากที่เดิม (ร.ร.สามเสนวิทยาลัย) มาก เพราะสามเสนฯ จัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษา 6 ระดับ ตั้งแต่ ม.ต้น-ม.ปลาย ทำให้โรงเรียนมีชีวิตที่คละกันทั้งเด็กเล็กและเด็กโต เรื่องของหลักสูตรก็ต้องจัดหลักสูตรถึง 3 หลักสูตร คือ สำหรับเด็กเก่ง เด็กกลาง และเด็กที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ การจัดหลักสูตรต้องจัดตามศักยภาพผู้เรียน ความหลากหลายในเรื่องของโปรแกรมวิชาเรียนจึงมีอยู่มาก แต่เตรียมอุดมฯต้องจัดหลักสูตรที่เป็นรูปแบบเดียวกันคือสำหรับเด็กที่มีศักยภาพในการเรียนสูง” ผอ.วิศรุต ให้ภาพ
** สนองแนวพระราชดำริสู่สากล ด้วยภาษาสเปน
ส่วนคำถามที่ว่า ในโอกาสพิเศษที่ ร.ร.เตรียมอุดมฯ ย่างเข้าสู่ปีที่ 73 ก้าวต่อไปของโรงเรียนจะเดินไปในทิศทางใดนั้น
ผอ.วิศรุต บอกว่า เป้าหมายสำคัญที่สุด ก็คือ การพัฒนาตัวเด็ก ซึ่ง ทุกวันนี้โรงเรียนใหญ่ยังมองแค่การศึกษาภายในประเทศ แต่ตนเองอยากให้มีเปิดวิสัยทัศน์ในการมองโลกการเรียนรู้ให้กว้างกว่าเดิม มองถึงสังคมโลก ซึ่งเมื่อต้องการเช่นนั้นจึงต้องส่งเสริมในเรื่องของเทคโนโลยี ควบคู่ไปกับการพัฒนาหลักสูตรให้เทียบเคียงกับต่างประเทศในกลุ่มวิชาหลักให้มากที่สุด ทั้งเรื่องภาษา วิทยาศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ โดยในส่วนของภาษาเองต้องจัดให้มีอย่างหลากหลาย
กอปรกับแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงต้องการให้เด็กไทยเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาสเปน ทางโรงเรียนจึงสนองแนวพระราชดำริโดยการเปิดสอนในหลักสูตรภาษาสเปน ซึ่งในปีการศึกษา 2552 จะรับนักเรียนเป็นรุ่นแรก จำนวน 25 คน หลังจากปีที่ผ่านมามีการทดลองเรียนโดยใช้นักเรียนที่มีความสนใจ
“อนาคตการแข่งขันในเรื่องของภาษามีความจำเป็นที่สุด ต่อให้เด็กไทยเก่งอย่างไร แต่ขาดทักษะภาษาก็ไม่อาจจะแข่งขันกับนานาประเทศได้”ผอ.ร.ร.เตรียมอุดมฯ ให้ทัศนะ
** เรียนฟรี 15 ปี รบ.ต้องเต็มร้อย
สำหรับนโยบายเรียนฟรี 15 ปีนั้น ผอ.วิศรุต ให้ความเห็นว่า นโยบายเรียนฟรีเป็นสิ่งที่ดี และเห็นด้วยที่รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการศึกษา แต่คิดว่ารัฐบาลต้องทุ่มงบประมาณที่มากกว่านี้ เพราะการเรียนฟรี 15 ปี เป็นเหมือนเส้นบางๆ ถ้าทำต้องทุ่มเต็มร้อย ถ้าทำครึ่งหนึ่งคงไม่เกิดประโยชน์อะไร กลับสร้างผลเสียด้วยซ้ำ ที่สำคัญคือรัฐต้องไม่ลืมว่าเด็กแต่ละคน แต่ละกลุ่ม มีทักษะ ความสามารถและความสนใจที่แตกต่างกัน
ขณะเดียวกัน โรงเรียนแต่ละแห่งก็มีมาตรฐานที่ต่างกัน การผลิตตำราเรียนให้เหมาะสมจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เช่น ในบางโรงเรียนใช้ตำราต่างประเทศ ทำให้ความต้องการไม่เท่ากัน ตรงนี้น่าจะเป็นปัญหา
ขณะที่เรื่อง “แปะเจี๊ยะ” ต้องบอกว่า เป็นคำที่แสลงใจผู้บริหารโรงเรียนแทบทุกคน คำๆ นี้หมายถึงการให้เปล่า การแลกเปลี่ยนหรืออะไรก็แล้วแต่จะนิยาม สำหรับตนแล้วคิดว่า ในเมื่อรัฐเองไม่สามารถที่จะจัดงบประมาณให้เพียงพอต่อความต้องการของโรงเรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอัตรากำลังและสาธารณูปโภคต่างๆ การยื่นมือเข้ามาของผู้ปกครองจึงเกิดขึ้น ด้วยความเห็นใจและพร้อมที่จะช่วยสนับสนุนในสิ่งที่ขาด ก็ไม่ทราบว่าลักษณะนี้เรียกว่าแปะเจี๊ยะหรือไม่
“จริงๆ แล้ว ผลประโยชน์ตกอยู่ที่ตัวเด็กแทบทั้งสิ้น แต่ก็ต้องดูว่าการช่วยเหลือที่เกิดขึ้นอยู่ในระหว่างการคัดเลือกนักเรียน เป็นการต่างตอบแทนหรือไม่ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าทุกๆ โรงเรียนต่างก็มีความจำเป็นในการระดมทรัพยากร ซึ่งอยู่ที่ว่าใครจะได้ผลประโยชน์ ระหว่างเด็ก หรือใครบางคน”
ถึงตรงนี้ ผอ.วิศรุต ฝากทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า อยากเห็นการจัดหลักสูตรและเนื้อหาการสอนให้ตรงกับความสนใจ โดยดูจากศักยภาพของผู้เรียนเอง ดังนั้นควรมองให้ชัดว่า โรงเรียนในบ้านเราตอนนี้อาจจะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มที่ทะลุใยแก้ว กลุ่มกลางๆ ตรงนี้รัฐควรเข้ามาดูแลบ้าง แต่ในกลุ่มสุดท้ายที่รัฐต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ จากนั้นค่อยๆ พัฒนาตั้งแต่กลุ่มสุดท้ายให้ไต่ขึ้นไปสู่กลุ่มแรกให้ได้ ตรงนี้จะเป็นการพัฒนาที่เป็นระบบ และเชื่อว่า ผลดีจะเกิดขึ้นกับผู้เรียน แล้วการพัฒนาตัวผู้เรียนจะเป็นไปในทิศทางที่ดีได้
แน่นอนว่า ผลพวงของการที่เป็นสถาบันการศึกษาอันดับ 1 ย่อมเป็นภาระที่หนักอึ้งสำหรับผู้บริหาร แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องบอกว่าเป็นงานที่ท้าทายความสามารถเป็นอย่างมาก และที่สำคัญ คือ เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า แทบทุกโรงเรียนในประเทศไทยเฝ้าจับตามองระบบการเรียนการสอนของเตรียมอุดมอย่างไม่วางตาเช่นกัน
** เด็ก ต.อ.ต้องนำความดีสนองสังคม
ผอ.วิศรุต เปิดเผยว่า เตรียมอุดมเป็นโรงเรียนระดับพิเศษที่มีการสอนเฉพาะชั้นมัธยมตอนปลาย (ม.4-6) บริบททั่วไปของโรงเรียนจะประกอบไปด้วย บุคลากร ครูผู้สอนที่เก่ง โดยมีนักเรียนที่เป็นสุดยอดของไทยอยู่รวมกัน โดยการบริหารสามารถแยกได้เป็นกลุ่มๆ คือ กลุ่มงานปกครอง ซึ่งนักเรียนเตรียมอุดมฯ แทบไม่ต้องดูแลอะไรมาก เพียงแค่ย้ำเตือนให้เด็กตระหนักถึงศักยภาพของการเป็นนักเรียน และเฉพาะอย่างยิ่งกับการเป็นโรงเรียนที่ประดับเข็มจุฬาลงกรณ์ จึงต้องให้เกียรติต่อเครื่องแบบ
ขณะเดียวกัน ก็ต้องปลูกฝังนักเรียนในรุ่นปัจจุบันคิดอยู่เสมอ ว่า เมื่อเรียนจบไปแล้วจะทำอะไรที่เป็นประโยชน์เพื่อประเทศได้บ้าง ดังนั้น จึงต้องนำความรู้ความสามารถที่มีอยู่ มากระจายสู่สังคม อีกทั้งในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ก็เชื่อว่าการที่เด็กจะเรียนเก่งได้นั้นต้องมีพื้นจากการเป็นคนดีมาก่อน และขณะเดียวกันก็ต้องเป็นการทำความดีสนองกลับสู่สังคมเช่นกัน
สำหรับด้านวิชาการนั้น ทุกวันนี้โรงเรียนสังกัด สพฐ.ต่างใช้หลักสูตรแกนกลาง ผสมกับวิชาเลือกที่แต่ละโรงเรียนจะจัดสรรให้ แต่ตนเองคิดว่าการใช้หลักสูตรมาตรฐานแกนกลางอย่างเดียวคงไม่พอ เป็นเหตุให้เด็กแต่ละโรงเรียนต้องแสวงหาการเรียนนอกห้องเรียน หรือ กวดวิชาเพิ่มเติม
ดังนั้น สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่จะต้องเพิ่มความเข้มข้นของหลักสูตร หลักสูตรไหนในเมืองไทยที่ดีที่สุด ก็ได้ให้นำมาพิจารณาปรับใช้ และหากหลักสูตรภายในประเทศยังไม่พอ ก็ต้องพิจารณานำหลักสูตรจากต่างประเทศเข้ามารองรับความต้องการของผู้เรียนซึ่งต้องเติมเต็มให้มากที่สุด
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เด็กที่เรียนเก่งอย่างเดียว แต่ขาดในเรื่องของสังคมคงไม่ได้ จึงต้องสร้างกิจกรรมที่หลากหลายภายในโรงเรียนเช่นกัน เช่น ดนตรีหรือกีฬา เป็นต้น
“ถามว่า บริหารงานยากไหม ผมคิดว่าไม่ยาก เพราะผู้อำนวยการแต่ละท่านที่ผ่านมาได้ปูแนวทางที่ดีมาโดยตลอด เราเพียงเข้ามาสานต่อนโยบาย และเข้ามาคิดงานเพิ่มเท่านั้น ซึ่งจะว่าไปแล้วการมารับงานบริหารที่นี่แตกต่างจากที่เดิม (ร.ร.สามเสนวิทยาลัย) มาก เพราะสามเสนฯ จัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษา 6 ระดับ ตั้งแต่ ม.ต้น-ม.ปลาย ทำให้โรงเรียนมีชีวิตที่คละกันทั้งเด็กเล็กและเด็กโต เรื่องของหลักสูตรก็ต้องจัดหลักสูตรถึง 3 หลักสูตร คือ สำหรับเด็กเก่ง เด็กกลาง และเด็กที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ การจัดหลักสูตรต้องจัดตามศักยภาพผู้เรียน ความหลากหลายในเรื่องของโปรแกรมวิชาเรียนจึงมีอยู่มาก แต่เตรียมอุดมฯต้องจัดหลักสูตรที่เป็นรูปแบบเดียวกันคือสำหรับเด็กที่มีศักยภาพในการเรียนสูง” ผอ.วิศรุต ให้ภาพ
** สนองแนวพระราชดำริสู่สากล ด้วยภาษาสเปน
ส่วนคำถามที่ว่า ในโอกาสพิเศษที่ ร.ร.เตรียมอุดมฯ ย่างเข้าสู่ปีที่ 73 ก้าวต่อไปของโรงเรียนจะเดินไปในทิศทางใดนั้น
ผอ.วิศรุต บอกว่า เป้าหมายสำคัญที่สุด ก็คือ การพัฒนาตัวเด็ก ซึ่ง ทุกวันนี้โรงเรียนใหญ่ยังมองแค่การศึกษาภายในประเทศ แต่ตนเองอยากให้มีเปิดวิสัยทัศน์ในการมองโลกการเรียนรู้ให้กว้างกว่าเดิม มองถึงสังคมโลก ซึ่งเมื่อต้องการเช่นนั้นจึงต้องส่งเสริมในเรื่องของเทคโนโลยี ควบคู่ไปกับการพัฒนาหลักสูตรให้เทียบเคียงกับต่างประเทศในกลุ่มวิชาหลักให้มากที่สุด ทั้งเรื่องภาษา วิทยาศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ โดยในส่วนของภาษาเองต้องจัดให้มีอย่างหลากหลาย
กอปรกับแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงต้องการให้เด็กไทยเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาสเปน ทางโรงเรียนจึงสนองแนวพระราชดำริโดยการเปิดสอนในหลักสูตรภาษาสเปน ซึ่งในปีการศึกษา 2552 จะรับนักเรียนเป็นรุ่นแรก จำนวน 25 คน หลังจากปีที่ผ่านมามีการทดลองเรียนโดยใช้นักเรียนที่มีความสนใจ
“อนาคตการแข่งขันในเรื่องของภาษามีความจำเป็นที่สุด ต่อให้เด็กไทยเก่งอย่างไร แต่ขาดทักษะภาษาก็ไม่อาจจะแข่งขันกับนานาประเทศได้”ผอ.ร.ร.เตรียมอุดมฯ ให้ทัศนะ
** เรียนฟรี 15 ปี รบ.ต้องเต็มร้อย
สำหรับนโยบายเรียนฟรี 15 ปีนั้น ผอ.วิศรุต ให้ความเห็นว่า นโยบายเรียนฟรีเป็นสิ่งที่ดี และเห็นด้วยที่รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการศึกษา แต่คิดว่ารัฐบาลต้องทุ่มงบประมาณที่มากกว่านี้ เพราะการเรียนฟรี 15 ปี เป็นเหมือนเส้นบางๆ ถ้าทำต้องทุ่มเต็มร้อย ถ้าทำครึ่งหนึ่งคงไม่เกิดประโยชน์อะไร กลับสร้างผลเสียด้วยซ้ำ ที่สำคัญคือรัฐต้องไม่ลืมว่าเด็กแต่ละคน แต่ละกลุ่ม มีทักษะ ความสามารถและความสนใจที่แตกต่างกัน
ขณะเดียวกัน โรงเรียนแต่ละแห่งก็มีมาตรฐานที่ต่างกัน การผลิตตำราเรียนให้เหมาะสมจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เช่น ในบางโรงเรียนใช้ตำราต่างประเทศ ทำให้ความต้องการไม่เท่ากัน ตรงนี้น่าจะเป็นปัญหา
ขณะที่เรื่อง “แปะเจี๊ยะ” ต้องบอกว่า เป็นคำที่แสลงใจผู้บริหารโรงเรียนแทบทุกคน คำๆ นี้หมายถึงการให้เปล่า การแลกเปลี่ยนหรืออะไรก็แล้วแต่จะนิยาม สำหรับตนแล้วคิดว่า ในเมื่อรัฐเองไม่สามารถที่จะจัดงบประมาณให้เพียงพอต่อความต้องการของโรงเรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอัตรากำลังและสาธารณูปโภคต่างๆ การยื่นมือเข้ามาของผู้ปกครองจึงเกิดขึ้น ด้วยความเห็นใจและพร้อมที่จะช่วยสนับสนุนในสิ่งที่ขาด ก็ไม่ทราบว่าลักษณะนี้เรียกว่าแปะเจี๊ยะหรือไม่
“จริงๆ แล้ว ผลประโยชน์ตกอยู่ที่ตัวเด็กแทบทั้งสิ้น แต่ก็ต้องดูว่าการช่วยเหลือที่เกิดขึ้นอยู่ในระหว่างการคัดเลือกนักเรียน เป็นการต่างตอบแทนหรือไม่ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าทุกๆ โรงเรียนต่างก็มีความจำเป็นในการระดมทรัพยากร ซึ่งอยู่ที่ว่าใครจะได้ผลประโยชน์ ระหว่างเด็ก หรือใครบางคน”
ถึงตรงนี้ ผอ.วิศรุต ฝากทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า อยากเห็นการจัดหลักสูตรและเนื้อหาการสอนให้ตรงกับความสนใจ โดยดูจากศักยภาพของผู้เรียนเอง ดังนั้นควรมองให้ชัดว่า โรงเรียนในบ้านเราตอนนี้อาจจะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มที่ทะลุใยแก้ว กลุ่มกลางๆ ตรงนี้รัฐควรเข้ามาดูแลบ้าง แต่ในกลุ่มสุดท้ายที่รัฐต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ จากนั้นค่อยๆ พัฒนาตั้งแต่กลุ่มสุดท้ายให้ไต่ขึ้นไปสู่กลุ่มแรกให้ได้ ตรงนี้จะเป็นการพัฒนาที่เป็นระบบ และเชื่อว่า ผลดีจะเกิดขึ้นกับผู้เรียน แล้วการพัฒนาตัวผู้เรียนจะเป็นไปในทิศทางที่ดีได้