สพฐ.ทดลองใช้สูตรจุฬาฯ ถ่วงน้ำหนักจีพีเอ เด็ก ม.6 กับผลทดสอบโอเน็ต โรงเรียน 2,685 แห่ง พบโรงเรียนกดเกรด-ปล่อยเกรดอื้อ แค่ 25 โรง ที่เกรดปกติ เผย ทดลองอีก 2 ครั้งก่อนนำใช้จริง เพื่อให้เกรดเด็กเป็นมาตรฐานเดียวกันในการจบหลักสูตร
นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สพฐ.เตรียมนำคะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) มาปรับคะแนนเฉลี่ยรายสาระวิชา (จีพีเอ) ให้เป็นคะแนนใหม่ โดยจะนำมาใช้เป็นเกณฑ์การประเมินในการจบหลักสูตรนั้น ซึ่งทาง สพฐ.ได้ร่วมกับนักวิชาการของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในการศึกษาและสร้างสูตรคณิตศาสตร์ ที่ใช้สำหรับนำคะแนนโอเน็ตมาปรับคะแนนจีพีเอ และได้ทดลองนำสูตรดังกล่าว มาใช้กับโรงเรียนมัธยม จำนวน 2,685 แห่ง โดยใช้คะแนนจีพีเอ ของนักเรียน ม.6 ปีการศึกษา 2548 และคะแนนโอเน็ตของปี 2549
นายสมเกียรติ กล่าวถึงผลการทดลอง พบว่า มีโรงเรียน 1,235 แห่ง ที่กดเกรด หรือค่าเฉลี่ยที่ได้สูงกว่าจีพีเอของเด็ก และโรงเรียน 1,225 แห่ง มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าจีพีเอ หรือโรงเรียนนั้นปล่อยเกรด ขณะเดียวกัน ก็พบว่า มีโรงเรียน 25 แห่ง ที่คิดคะแนนปกติเป็นไปตามาตรฐาน
รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าวเพิ่มว่า ในปีการศึกษา 2550 และ 2551 สพฐ.จะทำการทดลองกับนักเรียนม.6 อีก 2 ครั้ง โดยใช้สูตรเดิม และปีการศึกษา 2552 จะนำคะแนนที่ได้จากการทดสอบมาใช้ในการประเมินจบการศึกษาของนักเรียน แต่ในช่วงนี้จะติดตามดูว่าโรงเรียนที่ปล่อยเกรดนั้น ได้มีการพัฒนาที่เป็นจริงหรือไม่ และในอนาคตข้างหน้าสมุดประจำตัวนักเรียนจะมีการบันทึกคะแนน 3 ส่วนด้วยกัน คือ จีแพ็ค คะแนนโอเน็ต และคะแนนจีแพ็คที่ปรับโดยใช้สูตร Adjusted GPAX
ด้าน นางจิตตรียา ไชยศรีพรหม ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.กล่าวว่า ในวันที่ 19 ก.พ.2552 ทาง สพฐ.จะให้มีการประเมินการทดสอบทางการศึกษา (เอ็นที) ที่ประกอบด้วยวิชา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษาในระดับชั้น ป.3 และระดับชั้น ป.6 ที่จะสอบในวิชาภาษาอังกฤษ และวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยจะสุ่มสอบ จำนวน 25%
นางจิตตรียา กล่าวเพิ่มว่า ทาง สพฐ.ได้มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดสอบนักเรียนชั้น ป.2, ป.5 และ ม.2 ทุกคนในพื้นที่อย่างน้อย 2 วิชา คือ ภาษาไทย และคณิตศาสตร์ โดยจะแบ่งกับเขตพื้นที่คนละครึ่ง เพื่อให้เหมาะสมกับนักเรียน สำหรับข้อสอบในระดับ ป.3 และ ป.6 จะใช้ข้อสอบจากส่วนกลาง สำหรับในส่วนของการจัดสอบระดับชั้น ป.2, ป.5 และระดับชั้น ม.2 จะมอบให้เป็นหน้าที่ของ สพฐ.เป็นผู้ดำเนินการในการจัดสอบ
นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สพฐ.เตรียมนำคะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) มาปรับคะแนนเฉลี่ยรายสาระวิชา (จีพีเอ) ให้เป็นคะแนนใหม่ โดยจะนำมาใช้เป็นเกณฑ์การประเมินในการจบหลักสูตรนั้น ซึ่งทาง สพฐ.ได้ร่วมกับนักวิชาการของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในการศึกษาและสร้างสูตรคณิตศาสตร์ ที่ใช้สำหรับนำคะแนนโอเน็ตมาปรับคะแนนจีพีเอ และได้ทดลองนำสูตรดังกล่าว มาใช้กับโรงเรียนมัธยม จำนวน 2,685 แห่ง โดยใช้คะแนนจีพีเอ ของนักเรียน ม.6 ปีการศึกษา 2548 และคะแนนโอเน็ตของปี 2549
นายสมเกียรติ กล่าวถึงผลการทดลอง พบว่า มีโรงเรียน 1,235 แห่ง ที่กดเกรด หรือค่าเฉลี่ยที่ได้สูงกว่าจีพีเอของเด็ก และโรงเรียน 1,225 แห่ง มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าจีพีเอ หรือโรงเรียนนั้นปล่อยเกรด ขณะเดียวกัน ก็พบว่า มีโรงเรียน 25 แห่ง ที่คิดคะแนนปกติเป็นไปตามาตรฐาน
รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าวเพิ่มว่า ในปีการศึกษา 2550 และ 2551 สพฐ.จะทำการทดลองกับนักเรียนม.6 อีก 2 ครั้ง โดยใช้สูตรเดิม และปีการศึกษา 2552 จะนำคะแนนที่ได้จากการทดสอบมาใช้ในการประเมินจบการศึกษาของนักเรียน แต่ในช่วงนี้จะติดตามดูว่าโรงเรียนที่ปล่อยเกรดนั้น ได้มีการพัฒนาที่เป็นจริงหรือไม่ และในอนาคตข้างหน้าสมุดประจำตัวนักเรียนจะมีการบันทึกคะแนน 3 ส่วนด้วยกัน คือ จีแพ็ค คะแนนโอเน็ต และคะแนนจีแพ็คที่ปรับโดยใช้สูตร Adjusted GPAX
ด้าน นางจิตตรียา ไชยศรีพรหม ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.กล่าวว่า ในวันที่ 19 ก.พ.2552 ทาง สพฐ.จะให้มีการประเมินการทดสอบทางการศึกษา (เอ็นที) ที่ประกอบด้วยวิชา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษาในระดับชั้น ป.3 และระดับชั้น ป.6 ที่จะสอบในวิชาภาษาอังกฤษ และวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยจะสุ่มสอบ จำนวน 25%
นางจิตตรียา กล่าวเพิ่มว่า ทาง สพฐ.ได้มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดสอบนักเรียนชั้น ป.2, ป.5 และ ม.2 ทุกคนในพื้นที่อย่างน้อย 2 วิชา คือ ภาษาไทย และคณิตศาสตร์ โดยจะแบ่งกับเขตพื้นที่คนละครึ่ง เพื่อให้เหมาะสมกับนักเรียน สำหรับข้อสอบในระดับ ป.3 และ ป.6 จะใช้ข้อสอบจากส่วนกลาง สำหรับในส่วนของการจัดสอบระดับชั้น ป.2, ป.5 และระดับชั้น ม.2 จะมอบให้เป็นหน้าที่ของ สพฐ.เป็นผู้ดำเนินการในการจัดสอบ