เครือข่ายผู้ป่วยเตรียมเข้าพบ รมว.สธ.12 ม.ค.นี้ ขอบอร์ด อภ.ชุดใหม่สานต่องานซีแอล จับตาหากไม่เดินหน้าซีแอลเตรียมลุย ด้านหมอชนบท เสนอตั้ง “หมอวิชัย” กลับมาเป็นประธานบอร์ด อภ.อีกรอบ ขณะที่ “ถิรชัย” นัดประชุมบอร์ดครั้งแรก 12 ม.ค.นี้
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ขณะนี้เครือข่ายผู้ป่วย ทั้งเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี เครือข่ายผู้ป่วยโรคไต เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ และเครือข่ายผู้บริโภค ได้ประสานขอเข้าพบนายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ในวันที่ 12 มกราคมนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะปัญหาของการทำงานขององค์การเภสัชกรรม ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ แต่กรรมการบริหาร (บอร์ด) กลับถูกการเมืองแทรกแซงมาตลอด ทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัญหาจะต้องเร่งแก้ไข
“บอร์ด อภ.ชุดเดิมที่มีนพ.วิชัย โชควิวัฒน เป็นประธาน ได้ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ และการทำงานของ อภ.ที่พัฒนาขึ้น โดยเฉพาะการผลักดันให้ อภ.เป็นหน่วยงานที่ผลิตยาเพื่อประชาชนทั้งประเทศ รวมทั้งการสนับสนุนการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) ที่เป็นการแก้ปัญหาการเข้าถึงยาของคนไทยอย่างแท้จริง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เครือข่ายผู้ป่วยอยากให้ผู้บริหาร อภ.ชุดใหม่ สานต่อนโยบายเหล่านี้ต่อไป นอกจากนี้ จะมีการหารือเรื่องปัญหาการฟ้องร้องแพทย์” น.ส.สารี กล่าว
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า เบื้องต้นเครือข่ายผู้ป่วยได้หารือกันโดยมีข้อสรุปร่วมกันว่า ไม่เห็นด้วยหาก อภ.ถูกแทรกแซงในการจัดการบริหาร หรือใช้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการเอื้อประโยชน์ให้กับนักการเมือง เพราะหน้าที่ของ อภ.จะต้องรับผิดชอบเป็นคลังยาเพื่อดูแลคนทั้งประเทศ เป็นเรื่องความมั่นคงของประเทศด้วย และหากบอร์ดพัฒนาองค์กรหวังเพียงแต่กำไร หรือผลิตแต่เครื่องสำอางให้ได้เงินมากๆ แล้วส่งเงินเข้าคลัง ก็ไม่เห็นด้วยเช่นกัน
“คงไม่สามารถระบุเจาะจงตัวบุคคลได้ว่าอยากให้ใครมาเป็นบอร์ดบ้าง เพราะไม่ใช่บทบาทหน้าที่ แต่ว่าไม่ว่าบอร์ดจะเป็นใครบ้างก็ควรยึดตามบทบาทหน้าที่ของ อภ.ที่ยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ซึ่งเครือข่ายจะทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงาน เช่น หากไม่ดำเนินตามนโยบายซีแอลก็อาจมีการประท้วง คัดค้านไม่เห็นด้วยแน่นอน” นายนิมิตร์ กล่าว
ด้านนพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ในวันที่ 14 มกราคมนี้ จะขอเข้าพบ นายวิทยา โดยจะเสนอให้แต่งตั้ง นพ.วิชัย กลับมาเป็นประธานบอร์ด อภ.อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งที่ผ่านมา การทำงานของ นพ.วิชัย มีความชัดเจนว่าสร้างประโยชน์ให้กับ อภ.และประชาชนคนไทยได้เป็นอย่างมาก โดยสามารถประหยัดงบประมาณของ อภ.ในการก่อสร้างโรงงานวัคซีนจากกว่า 1,000 ล้านบาท เหลือเพียง 600 ล้านบาท นอกจากนี้ หากบอร์ดชุด นพ.วิชัย กลับมารับตำแหน่งจะสามารถสานต่อจากงานเดิม โดยเฉพาะเรื่องซีแอล ที่ อภ.เป็นกลไกสำคัญในการนำเข้ายาที่ประกาศใช้ซีแอลด้วย
ขณะที่ นายถิรชัย วุฒิธรรม ประธานกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้ประสานไปยังบอร์ด อภ.ทั้ง 13 คน ขอนัดประชุมบอร์ด อภ.ในวันที่ 12 มกราคมนี้ เป็นการประชุมครั้งแรกหลังจากศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งคุ้มครองบอร์ด อภ.ชุดที่ตนเป็นประธาน อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้รับการตอบรับจากกรรมการคนอื่นๆ แต่อย่างใด
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ขณะนี้เครือข่ายผู้ป่วย ทั้งเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี เครือข่ายผู้ป่วยโรคไต เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ และเครือข่ายผู้บริโภค ได้ประสานขอเข้าพบนายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ในวันที่ 12 มกราคมนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะปัญหาของการทำงานขององค์การเภสัชกรรม ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ แต่กรรมการบริหาร (บอร์ด) กลับถูกการเมืองแทรกแซงมาตลอด ทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัญหาจะต้องเร่งแก้ไข
“บอร์ด อภ.ชุดเดิมที่มีนพ.วิชัย โชควิวัฒน เป็นประธาน ได้ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ และการทำงานของ อภ.ที่พัฒนาขึ้น โดยเฉพาะการผลักดันให้ อภ.เป็นหน่วยงานที่ผลิตยาเพื่อประชาชนทั้งประเทศ รวมทั้งการสนับสนุนการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) ที่เป็นการแก้ปัญหาการเข้าถึงยาของคนไทยอย่างแท้จริง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เครือข่ายผู้ป่วยอยากให้ผู้บริหาร อภ.ชุดใหม่ สานต่อนโยบายเหล่านี้ต่อไป นอกจากนี้ จะมีการหารือเรื่องปัญหาการฟ้องร้องแพทย์” น.ส.สารี กล่าว
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า เบื้องต้นเครือข่ายผู้ป่วยได้หารือกันโดยมีข้อสรุปร่วมกันว่า ไม่เห็นด้วยหาก อภ.ถูกแทรกแซงในการจัดการบริหาร หรือใช้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการเอื้อประโยชน์ให้กับนักการเมือง เพราะหน้าที่ของ อภ.จะต้องรับผิดชอบเป็นคลังยาเพื่อดูแลคนทั้งประเทศ เป็นเรื่องความมั่นคงของประเทศด้วย และหากบอร์ดพัฒนาองค์กรหวังเพียงแต่กำไร หรือผลิตแต่เครื่องสำอางให้ได้เงินมากๆ แล้วส่งเงินเข้าคลัง ก็ไม่เห็นด้วยเช่นกัน
“คงไม่สามารถระบุเจาะจงตัวบุคคลได้ว่าอยากให้ใครมาเป็นบอร์ดบ้าง เพราะไม่ใช่บทบาทหน้าที่ แต่ว่าไม่ว่าบอร์ดจะเป็นใครบ้างก็ควรยึดตามบทบาทหน้าที่ของ อภ.ที่ยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ซึ่งเครือข่ายจะทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงาน เช่น หากไม่ดำเนินตามนโยบายซีแอลก็อาจมีการประท้วง คัดค้านไม่เห็นด้วยแน่นอน” นายนิมิตร์ กล่าว
ด้านนพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ในวันที่ 14 มกราคมนี้ จะขอเข้าพบ นายวิทยา โดยจะเสนอให้แต่งตั้ง นพ.วิชัย กลับมาเป็นประธานบอร์ด อภ.อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งที่ผ่านมา การทำงานของ นพ.วิชัย มีความชัดเจนว่าสร้างประโยชน์ให้กับ อภ.และประชาชนคนไทยได้เป็นอย่างมาก โดยสามารถประหยัดงบประมาณของ อภ.ในการก่อสร้างโรงงานวัคซีนจากกว่า 1,000 ล้านบาท เหลือเพียง 600 ล้านบาท นอกจากนี้ หากบอร์ดชุด นพ.วิชัย กลับมารับตำแหน่งจะสามารถสานต่อจากงานเดิม โดยเฉพาะเรื่องซีแอล ที่ อภ.เป็นกลไกสำคัญในการนำเข้ายาที่ประกาศใช้ซีแอลด้วย
ขณะที่ นายถิรชัย วุฒิธรรม ประธานกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้ประสานไปยังบอร์ด อภ.ทั้ง 13 คน ขอนัดประชุมบอร์ด อภ.ในวันที่ 12 มกราคมนี้ เป็นการประชุมครั้งแรกหลังจากศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งคุ้มครองบอร์ด อภ.ชุดที่ตนเป็นประธาน อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้รับการตอบรับจากกรรมการคนอื่นๆ แต่อย่างใด