หากนับออกไป อีกเพียงไม่กี่เดือน ก็จะถึงช่วงเวลาแห่งความสุขบนความกดดันของนักเรียนชั้น ม.ปลาย ที่จะได้สลัดความเป็นนักเรียน ย่างก้าวเข้าสู่การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง หรือ การสอบแอดมิชชัน ปี 52 เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นนิสิต/นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งแต่ละคนต้องผ่านด่านการสอบแข่งขันที่แสนโหด บางคนฝึกวิทยายุทธ์ กำลังสมองเตรียมพร้อมลงสนามมาอย่างเต็มที่ แต่บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะเริ่มต้น และเตรียมตัวอย่างไรกับการสอบที่กำลังจะมาถึง
วันนี้มีรุ่นพี่คนเก่งที่ผ่านสนามสอบคัดเลือกระบบแอดมิชชัน 51 และทำคะแนนสูงสุดติดอันดับประเทศ และสูงสุดของแต่ละคณะ มาเผยไม้เด็ด เคล็ดลับการเรียนกัน และนอกจากนี้ ยังมีผู้ใหญ่ใจดีมาอธิบายสัดส่วนการสอบแอดมิชชัน ปี 53 ให้กระจ่างชัดอย่างเข้าใจ และเตรียมพร้อมอย่างถูกทาง รวมถึงนักจิตวิทยาแนะแนว ที่จะให้คำแนะนำในการเตรียมความพร้อมก่อนสอบแอดมิชชัน 52 ที่จะถึงนี้ด้วย
** ตั้งใจเรียนในชั้น มุ่งมั่นแต่ไม่กดดัน
ถ้าพร้อมกันแล้ว...มาพบกับว่าที่นักเขียน/นักแปลอนาคตไกลอย่าง น.ส.กัญญานันท์ สังข์หล่อ หรือ กุ๋งกิ๋ง นิสิตปี 1 อักษรศาสตร์ จุฬาฯ อดีตนักเรียนโรงเรียนราชินีบน ผู้ทำคะแนนได้เป็นอันดับ 2 ของประเทศ และ อันดับ 1 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ด้วยคะแนน 91.04%
กุ๋งกิ๋ง เปิดเผยว่า เธอเตรียมตัวสอบ และเลือกคณะมาตั้งแต่ ม.4 มีความสนใจด้านภาษาเป็นพิเศษ เพราะสนุก และมีประโยชน์ต่อการติดต่อสื่อสาร จึงมุ่งมั่นทบทวนตำราเรียนอย่างสม่ำเสมอ เริ่มจากตั้งใจเรียนกับอาจารย์ในห้อง จับประเด็น ถ้าไม่เข้าใจให้ถามครูทันที เวลาอ่านหนังสือจะอ่านอย่างมีสมาธิ หลังอ่านจบแต่ละบท จะทบทวนอีกรอบ โดยพยายามจำ และนึกเนื้อหาออกเป็นภาพ เพื่อให้จำได้มากขึ้น เวลาว่างจะฟังเพลงคลายเครียด และเลือกเรียนพิเศษบ้างบางวิชา เพื่อเพิ่มความมั่นใจ และเทคนิคการสอบ แต่จะไม่ทิ้งการเรียนในห้องเด็ดขาด เพราะการสอบแอดมิชชันจะเน้นเนื้อหาจากตำราในห้องเรียนเป็นสำคัญ
อย่างไรก็ตาม กุ๋งกิ๋ง ยังฝากด้วยว่า การเตรียมตัวระยะยาวเป็นสิ่งสำคัญ อย่ารอให้ถึงช่วงสอบ แล้วมานั่งอ่าน และติวหนังสือ เพราะจะสร้างความกดดัน และเกิดความเครียด จนทำให้อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ส่งผลต่อการทำข้อสอบในที่สุด และ สิ่งสำคัญคือ การวางแผนชีวิต และค้นหาตัวตนอย่างเป็นระบบไว้ล่วงหน้า จะเป็นตัวสร้างธงให้เรา ถ้าเรามีธง ความมุ่งมั่น และตั้งใจจะเต็มร้อย ดังนั้น ต้องเลือกคณะในใจไว้ก่อน ว่าอยากเรียนอะไร มีความชอบด้านไหนมากเป็นพิเศษ รวมถึงต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับคณะที่เลือกให้มากที่สุด เพราะสิ่งที่เราเลือก คือครึ่งทางเดิน ที่เราเลือกให้ชีวิตในอนาคต
“การติดตามข่าวเป็นเรื่องสำคัญ อย่าฝากความหวังไว้กับอาจารย์แนะแนวของโรงเรียนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องตามข่าวด้วยตัวเอง เพราะจะได้รู้ และเข้าใจระบบแอดมิชชัน ว่า ขณะนี้เคลื่อนไหวไปถึงไหนแล้ว เพื่อจะไม่เสียเปรียบในภายหลัง และอยากจะบอกน้องๆ ทุกคนว่า จงทำ 24 ชั่วโมงของเราให้คุ้มค่าที่สุด อย่าปล่อยเวลาให้เสียไปกับความว่างเปล่า” กุ๋งกิ๋ง ฝากทิ้งท้าย
** จัดระบบความคิด ไม่ติดการท่องจำ
สอดรับกับ นายวีกิจ เจริญสุข หรือ “ไอซ์” อดีตนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ผู้ทำคะแนนได้เป็นอันดับ 3 ของประเทศและอันดับ 1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ด้วยคะแนน 89.72% ที่เผยเคล็ดว่า อย่าไปคร่ำเครียดกับการอ่านหนังสือมากเกินไป เพราะความเครียดจะช่วยลดทอนความจำในระดับหนึ่ง การจะลดความกังวลได้นั้น ต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ไม่ใช่มาเตรียมเอาตอนใกล้สอบ ฉะนั้น ต้องหาตัวเองให้เจอว่าชอบเรียนอะไรมากที่สุด ตอบคำถามตัวเองให้ได้ว่าจะเรียนเพื่ออะไร ทำอะไร? จากนั้นเล็งคณะที่เหมาะสม จากคะแนนที่เรามี และความสะดวกในการเดินทาง ที่สำคัญต้องอ่านหนังสืออย่างมีสมาธิ มีอารมณ์ร่วมในการอ่าน รวมทั้งต้องควบคุม หรือจัดเวลาการอ่านอย่างเหมาะ
“ผมจะไม่เรียนแบบจำ แต่จะเน้นการวิเคราะห์ เชื่อมโยงความเป็นเหตุ และผลของเหตุการณ์ หรือเนื้อหามากกว่า เรียกว่า การจัดระบบความคิดอย่างเป็นระบบ เช่น การปฏิรูปการศึกษาของรัชกาลที่ 5 มีปัจจัยจำเป็นอะไรบ้าง คือทุกอย่าง เราต้องรู้ที่มาที่ไป และวิเคราะห์ย้อนกลับให้ได้ว่าเพราะอะไรถึงเป็นเช่นนั้น นอกจากนี้การอ่านต้องนึกภาพตาม สนุกกับมัน จะทำให้เราเข้าใจมากขึ้น” น้องไอซ์เผยไม้เด็ด
ด้าน น.ส.จิรวรรณ ฉายะวถี หรือ "น้ำฝน" นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ ผู้ที่จะเข้าสู่ช่วงสอบแอดมิชชันในปี 52 เล่าให้ฟังถึงการเตรียมตัวว่า เธอตั้งรับ และเตรียมพร้อมมาตั้งแต่ ม.4 เริ่มจากตื่นเช้า ทำตัวให้สดชื่น ยิ้มกับตัวเองทุกวัน เพื่อสร้างสุขภาพจิตที่ดี เตรียมพร้อมกับการเรียนในวันใหม่ ดูโทรทัศน์ และอ่านหนังสือพิมพ์เพื่อติดตามข่าวสาร จากนั้นกินอาหารเช้าสร้างพลังงาน ถึงโรงเรียนนั่งคุย แลกเปลี่ยนเรื่องราวกับเพื่อน เช่น ละคร หรือสิ่งที่ได้ผ่านพบมา แต่จะเรียนในห้องอย่างตั้งใจ คิดตามบทเรียน ถ้าสงสัยให้ถามอาจารย์ทันที กลับบ้านทำการบ้านเพื่อทบทวนบทเรียน 2 ชั่วโมง ท่องศัพท์อังกฤษ-ญี่ปุ่นวันละ 10 คำ จากนั้นพักผ่อนด้วยการฟังเพลง และเข้านอนไม่เกิน 4 ทุ่ม
"หนูเรียนได้เกรด 3.3 ไม่เคยเรียนพิเศษ เพราะคิดว่าเรียนในห้องก็เพียงพอแล้ว เรียนเล่นอย่างพอดี ด้วยการจัดตารางเวลาให้เหมาะสม รวมทั้งคุยกับผู้รู้ให้มากกว่าคนพาล นอกจากนี้ต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ และทักษะชีวิต สำหรับอนาคต หนูอยากเป็นนักแปล หรือล่ามภาษาญี่ปุ่น เพราะมีใจรัก และรู้ว่าตัวเองชอบเรียนมาตั้งแต่เด็ก" น้ำฝนเล่า
อย่างไรก็ตาม น้ำฝนได้สมัครสอบ GAT(วัดความถนัดทั่วไป)/PAT(วัดความถนัดทางวิชาชีพ)เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงอยากแนะนำให้เพื่อนเลือกสาขา และวิชาที่สอบอย่างเหมาะสม ไม่เลือกสอบทุกวิชา โดยเฉพาะ PAT ควรเลือกให้ตรงสาขา เพื่อลดค่าใช้จ่าย และไม่เสียเวลาในการสอบหลายที่
** สำรวจความชอบตัวเองเล็งเป้าหมายให้ชีวิต
ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ดร.คมเพชร ฉัตรศุภกุล นักวิชาการอิสระ (นักจิตวิทยาและการแนะแนว) ให้คำแนะนำว่า การเรียนคือการเตรียมตัว และเตรียมความพร้อมระยะยาว เพื่อการสร้างงานในอนาคต แต่ปัจจุบันเด็กเรียนเพื่อเก่ง เรียนเพื่อหวังคะแนน ไม่หวังเพื่อสร้างตัวเอง และการประกอบชีพ ทำให้เด็กคิด และทำอะไรไม่เป็น ดังนั้นจึงต้องเข้าใจสติปัญญาของตัวเอง และดูให้ออกว่า เราเหมาะกับการเรียนแบบไหน ค้นหาตัวเองให้พบก่อนที่จะเลือกคณะ หรือสาขาวิชา
นอกจากนี้ยังบอกด้วยว่า ผู้เรียนต้องสำรวจพฤติกรรมของตัวเองว่าชอบอะไรมากที่สุดในโลก เพราะถ้าเรียนแล้วไม่ชอบ จะส่งผลให้ตามหลังเพื่อน และคู่แข่งในวิชาชีพ ด้านความสนใจ เป็นองค์ประกอบทางจิตวิทยาที่สำคัญ ให้ดูว่ามีจิตใจจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานหรือไม่ ทั้งหมดคือการเตรียมตัวที่เด็ก และพ่อแม่ต้องสำรวจอยู่ตลอดเวลา เพื่อความเชื่อมั่น ศรัทธาในสาขาวิชาที่เลือกต่อไป
"เด็กไทยไม่รู้จักตัวเอง และไม่รู้ว่าจะเรียนไปทำไม ยังเป็นปัญหาสังคมที่ต้องเร่งเสริมความบกพร่องดังกล่าว อาจเป็นเพราะการเรียนขาดการเชื่อมโยงระหว่างวิชา กับชีวิต ขาดการเรียนรู้กับธรรมชาติ เพราะการไม่รู้จักตัวตน ทำให้ไร้ธงของชีวิตที่แน่ชัด อาจหลงทาง และเดินทางผิดได้ ดังนั้น จึงต้องร่วมด้วยช่วยกัน เพราะเด็กคืออนาคตของชาติ" นักจิตวิทยาและการแนะแนวเล่า
อย่างไรก็ตาม ดร.คมเพชร ยังบอกด้วยว่า การเตรียมตัวระยะสั้นไม่ช่วยให้เกิดประโยชน์ เพราะเป็นการอัด และเรียนรู้แบบเคร่งเครียด เรียนลัดเพื่อใช้สอบ ไม่ใช่ความรู้ และความเข้าใจที่แท้จริง การสอบคือการเตรียมตัวระยะยาวที่ต้องสะสมองค์ความรู้มาตั้งแต่เกิด ที่สำคัญต้องอย่าลืมการสอดแทรกคุณธรรม และจริยธรรมให้แก่เด็ก และลูก เพราะการที่เก่ง แต่ไร้คุณธรรม และความดีงาม ไม่ใช่คนเก่งที่สมบูรณ์
** เตรียมพร้อมองค์ประกอบแอดมิชชัน
เมื่อเข้าใจแนวทางการเรียน และการสอบจากรุ่นพี่ และนักจิตวิทยาแนะแนวดังกล่าวแล้ว ผู้เข้าสอบต้องเข้าใจสัดส่วนคะแนนระบบแอดมิชชันด้วย ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้อธิบายถึงสัดส่วนคะแนนการสอบแอดมิชชันปี 2552 ว่า จะต้องใช้องค์ประกอบคะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) 35-70% คะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (A-Net) 0-35 % คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ม.ปลาย หรือ จีพีเอเอ็กซ์ 10% คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ม.ปลายรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ (จีพีเอ) 20%
ส่วนแอดมิชชันปี 2553 (สำหรับนักเรียนชั้น ม.5) องค์ประกอบ และค่าน้ำหนักคะแนนจะประกอบด้วย จีพีเอเอ็กซ์ 20%, O-NET 30% นอกจากนี้ยังมีการสอบ GAT 10-50% เช่น ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ แก้โจทย์ปัญหา รวมถึงการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ สอบ 3 ชั่วโมง คะแนนเต็ม 300 คะแนน และ PAT 0-40% รวมทั้งสิ้น 100 % เพิ่มเติมอีกด้วย
สำหรับการสอบ PAT นั้น จะประกอบด้วย PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ (ทัศนศิลป์,ดนตรี,นาฏศิลป์) PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ (ฝรั่งเศสเยอรมัน ญี่ปุ่น จีน บาลี และอาหรับ) สอบ3 ชั่วโมงคะแนนเต็ม 300 คะแนน ข้อสอบปรนัย และอัตนัย (ที่ตอบแบบปรนัย)อย่างไรก็ตาม การสมัครสอบ จะสมัครปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน- 31 ตุลาคม 2551 และสอบ 3 ครั้ง คือ เดือนมีนาคม, กรกฎาคม และตุลาคมปี 2552
นอกจากนี้ สทศ.ได้ประกาศเปิดรับสมัครสอบ GAT/PAT สำหรับนักเรียน ม.6 และม.5 เพิ่มอีก 1 รอบ คือ วันที่ 20 เมษายน - 10 พฤศจิกายน 2552 เพื่อสอบในเดือนกรกฎาคม และหรือเดือนตุลาคม 2552
"นักเรียนไม่จำเป็นต้องสมัครสอบทุกครั้ง และไม่จำเป็นต้องสมัครสอบทุก PAT ควรสมัครเฉพาะ PAT ที่เกี่ยวข้องกับคณะ หรือสาขาวิชาที่ต้องการ ส่วนคะแนนของ GAT/PAT สามารถเก็บไว้ได้ 2 ปี โดยจะเก็บเป็นรายวิชา นอกจากนี้ ทางเราได้เตรียมพร้อมสนามสอบไว้เกือบ 300 แห่ง เพื่อสะดวกในการเดินทางมาสอบ และแนวข้อสอบทั้ง 3 ครั้ง จะใช้รูปแบบเดียวกัน ซึ่งนักเรียนไม่ต้องกังวล" ผอ.สทศ.กล่าว
อย่างไรก็ตาม ทาง สทศ.ได้เปิดให้บริการ Call Center 02-975-5599 เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ที่ต้องการสอบถามข้อมูล หรือสงสัยเกี่ยวกับการสอบ O-Net และการสอบ GAT/PAT โดยเปิดให้บริการทุกวัน (จันทร์-อาทิตย์) เวลา 07.00-19.00 น. ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หรือเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.niets.or.th หรือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา www.cuas.or.th
วันนี้มีรุ่นพี่คนเก่งที่ผ่านสนามสอบคัดเลือกระบบแอดมิชชัน 51 และทำคะแนนสูงสุดติดอันดับประเทศ และสูงสุดของแต่ละคณะ มาเผยไม้เด็ด เคล็ดลับการเรียนกัน และนอกจากนี้ ยังมีผู้ใหญ่ใจดีมาอธิบายสัดส่วนการสอบแอดมิชชัน ปี 53 ให้กระจ่างชัดอย่างเข้าใจ และเตรียมพร้อมอย่างถูกทาง รวมถึงนักจิตวิทยาแนะแนว ที่จะให้คำแนะนำในการเตรียมความพร้อมก่อนสอบแอดมิชชัน 52 ที่จะถึงนี้ด้วย
** ตั้งใจเรียนในชั้น มุ่งมั่นแต่ไม่กดดัน
ถ้าพร้อมกันแล้ว...มาพบกับว่าที่นักเขียน/นักแปลอนาคตไกลอย่าง น.ส.กัญญานันท์ สังข์หล่อ หรือ กุ๋งกิ๋ง นิสิตปี 1 อักษรศาสตร์ จุฬาฯ อดีตนักเรียนโรงเรียนราชินีบน ผู้ทำคะแนนได้เป็นอันดับ 2 ของประเทศ และ อันดับ 1 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ด้วยคะแนน 91.04%
กุ๋งกิ๋ง เปิดเผยว่า เธอเตรียมตัวสอบ และเลือกคณะมาตั้งแต่ ม.4 มีความสนใจด้านภาษาเป็นพิเศษ เพราะสนุก และมีประโยชน์ต่อการติดต่อสื่อสาร จึงมุ่งมั่นทบทวนตำราเรียนอย่างสม่ำเสมอ เริ่มจากตั้งใจเรียนกับอาจารย์ในห้อง จับประเด็น ถ้าไม่เข้าใจให้ถามครูทันที เวลาอ่านหนังสือจะอ่านอย่างมีสมาธิ หลังอ่านจบแต่ละบท จะทบทวนอีกรอบ โดยพยายามจำ และนึกเนื้อหาออกเป็นภาพ เพื่อให้จำได้มากขึ้น เวลาว่างจะฟังเพลงคลายเครียด และเลือกเรียนพิเศษบ้างบางวิชา เพื่อเพิ่มความมั่นใจ และเทคนิคการสอบ แต่จะไม่ทิ้งการเรียนในห้องเด็ดขาด เพราะการสอบแอดมิชชันจะเน้นเนื้อหาจากตำราในห้องเรียนเป็นสำคัญ
อย่างไรก็ตาม กุ๋งกิ๋ง ยังฝากด้วยว่า การเตรียมตัวระยะยาวเป็นสิ่งสำคัญ อย่ารอให้ถึงช่วงสอบ แล้วมานั่งอ่าน และติวหนังสือ เพราะจะสร้างความกดดัน และเกิดความเครียด จนทำให้อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ส่งผลต่อการทำข้อสอบในที่สุด และ สิ่งสำคัญคือ การวางแผนชีวิต และค้นหาตัวตนอย่างเป็นระบบไว้ล่วงหน้า จะเป็นตัวสร้างธงให้เรา ถ้าเรามีธง ความมุ่งมั่น และตั้งใจจะเต็มร้อย ดังนั้น ต้องเลือกคณะในใจไว้ก่อน ว่าอยากเรียนอะไร มีความชอบด้านไหนมากเป็นพิเศษ รวมถึงต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับคณะที่เลือกให้มากที่สุด เพราะสิ่งที่เราเลือก คือครึ่งทางเดิน ที่เราเลือกให้ชีวิตในอนาคต
“การติดตามข่าวเป็นเรื่องสำคัญ อย่าฝากความหวังไว้กับอาจารย์แนะแนวของโรงเรียนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องตามข่าวด้วยตัวเอง เพราะจะได้รู้ และเข้าใจระบบแอดมิชชัน ว่า ขณะนี้เคลื่อนไหวไปถึงไหนแล้ว เพื่อจะไม่เสียเปรียบในภายหลัง และอยากจะบอกน้องๆ ทุกคนว่า จงทำ 24 ชั่วโมงของเราให้คุ้มค่าที่สุด อย่าปล่อยเวลาให้เสียไปกับความว่างเปล่า” กุ๋งกิ๋ง ฝากทิ้งท้าย
** จัดระบบความคิด ไม่ติดการท่องจำ
สอดรับกับ นายวีกิจ เจริญสุข หรือ “ไอซ์” อดีตนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ผู้ทำคะแนนได้เป็นอันดับ 3 ของประเทศและอันดับ 1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ด้วยคะแนน 89.72% ที่เผยเคล็ดว่า อย่าไปคร่ำเครียดกับการอ่านหนังสือมากเกินไป เพราะความเครียดจะช่วยลดทอนความจำในระดับหนึ่ง การจะลดความกังวลได้นั้น ต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ไม่ใช่มาเตรียมเอาตอนใกล้สอบ ฉะนั้น ต้องหาตัวเองให้เจอว่าชอบเรียนอะไรมากที่สุด ตอบคำถามตัวเองให้ได้ว่าจะเรียนเพื่ออะไร ทำอะไร? จากนั้นเล็งคณะที่เหมาะสม จากคะแนนที่เรามี และความสะดวกในการเดินทาง ที่สำคัญต้องอ่านหนังสืออย่างมีสมาธิ มีอารมณ์ร่วมในการอ่าน รวมทั้งต้องควบคุม หรือจัดเวลาการอ่านอย่างเหมาะ
“ผมจะไม่เรียนแบบจำ แต่จะเน้นการวิเคราะห์ เชื่อมโยงความเป็นเหตุ และผลของเหตุการณ์ หรือเนื้อหามากกว่า เรียกว่า การจัดระบบความคิดอย่างเป็นระบบ เช่น การปฏิรูปการศึกษาของรัชกาลที่ 5 มีปัจจัยจำเป็นอะไรบ้าง คือทุกอย่าง เราต้องรู้ที่มาที่ไป และวิเคราะห์ย้อนกลับให้ได้ว่าเพราะอะไรถึงเป็นเช่นนั้น นอกจากนี้การอ่านต้องนึกภาพตาม สนุกกับมัน จะทำให้เราเข้าใจมากขึ้น” น้องไอซ์เผยไม้เด็ด
ด้าน น.ส.จิรวรรณ ฉายะวถี หรือ "น้ำฝน" นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ ผู้ที่จะเข้าสู่ช่วงสอบแอดมิชชันในปี 52 เล่าให้ฟังถึงการเตรียมตัวว่า เธอตั้งรับ และเตรียมพร้อมมาตั้งแต่ ม.4 เริ่มจากตื่นเช้า ทำตัวให้สดชื่น ยิ้มกับตัวเองทุกวัน เพื่อสร้างสุขภาพจิตที่ดี เตรียมพร้อมกับการเรียนในวันใหม่ ดูโทรทัศน์ และอ่านหนังสือพิมพ์เพื่อติดตามข่าวสาร จากนั้นกินอาหารเช้าสร้างพลังงาน ถึงโรงเรียนนั่งคุย แลกเปลี่ยนเรื่องราวกับเพื่อน เช่น ละคร หรือสิ่งที่ได้ผ่านพบมา แต่จะเรียนในห้องอย่างตั้งใจ คิดตามบทเรียน ถ้าสงสัยให้ถามอาจารย์ทันที กลับบ้านทำการบ้านเพื่อทบทวนบทเรียน 2 ชั่วโมง ท่องศัพท์อังกฤษ-ญี่ปุ่นวันละ 10 คำ จากนั้นพักผ่อนด้วยการฟังเพลง และเข้านอนไม่เกิน 4 ทุ่ม
"หนูเรียนได้เกรด 3.3 ไม่เคยเรียนพิเศษ เพราะคิดว่าเรียนในห้องก็เพียงพอแล้ว เรียนเล่นอย่างพอดี ด้วยการจัดตารางเวลาให้เหมาะสม รวมทั้งคุยกับผู้รู้ให้มากกว่าคนพาล นอกจากนี้ต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ และทักษะชีวิต สำหรับอนาคต หนูอยากเป็นนักแปล หรือล่ามภาษาญี่ปุ่น เพราะมีใจรัก และรู้ว่าตัวเองชอบเรียนมาตั้งแต่เด็ก" น้ำฝนเล่า
อย่างไรก็ตาม น้ำฝนได้สมัครสอบ GAT(วัดความถนัดทั่วไป)/PAT(วัดความถนัดทางวิชาชีพ)เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงอยากแนะนำให้เพื่อนเลือกสาขา และวิชาที่สอบอย่างเหมาะสม ไม่เลือกสอบทุกวิชา โดยเฉพาะ PAT ควรเลือกให้ตรงสาขา เพื่อลดค่าใช้จ่าย และไม่เสียเวลาในการสอบหลายที่
** สำรวจความชอบตัวเองเล็งเป้าหมายให้ชีวิต
ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ดร.คมเพชร ฉัตรศุภกุล นักวิชาการอิสระ (นักจิตวิทยาและการแนะแนว) ให้คำแนะนำว่า การเรียนคือการเตรียมตัว และเตรียมความพร้อมระยะยาว เพื่อการสร้างงานในอนาคต แต่ปัจจุบันเด็กเรียนเพื่อเก่ง เรียนเพื่อหวังคะแนน ไม่หวังเพื่อสร้างตัวเอง และการประกอบชีพ ทำให้เด็กคิด และทำอะไรไม่เป็น ดังนั้นจึงต้องเข้าใจสติปัญญาของตัวเอง และดูให้ออกว่า เราเหมาะกับการเรียนแบบไหน ค้นหาตัวเองให้พบก่อนที่จะเลือกคณะ หรือสาขาวิชา
นอกจากนี้ยังบอกด้วยว่า ผู้เรียนต้องสำรวจพฤติกรรมของตัวเองว่าชอบอะไรมากที่สุดในโลก เพราะถ้าเรียนแล้วไม่ชอบ จะส่งผลให้ตามหลังเพื่อน และคู่แข่งในวิชาชีพ ด้านความสนใจ เป็นองค์ประกอบทางจิตวิทยาที่สำคัญ ให้ดูว่ามีจิตใจจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานหรือไม่ ทั้งหมดคือการเตรียมตัวที่เด็ก และพ่อแม่ต้องสำรวจอยู่ตลอดเวลา เพื่อความเชื่อมั่น ศรัทธาในสาขาวิชาที่เลือกต่อไป
"เด็กไทยไม่รู้จักตัวเอง และไม่รู้ว่าจะเรียนไปทำไม ยังเป็นปัญหาสังคมที่ต้องเร่งเสริมความบกพร่องดังกล่าว อาจเป็นเพราะการเรียนขาดการเชื่อมโยงระหว่างวิชา กับชีวิต ขาดการเรียนรู้กับธรรมชาติ เพราะการไม่รู้จักตัวตน ทำให้ไร้ธงของชีวิตที่แน่ชัด อาจหลงทาง และเดินทางผิดได้ ดังนั้น จึงต้องร่วมด้วยช่วยกัน เพราะเด็กคืออนาคตของชาติ" นักจิตวิทยาและการแนะแนวเล่า
อย่างไรก็ตาม ดร.คมเพชร ยังบอกด้วยว่า การเตรียมตัวระยะสั้นไม่ช่วยให้เกิดประโยชน์ เพราะเป็นการอัด และเรียนรู้แบบเคร่งเครียด เรียนลัดเพื่อใช้สอบ ไม่ใช่ความรู้ และความเข้าใจที่แท้จริง การสอบคือการเตรียมตัวระยะยาวที่ต้องสะสมองค์ความรู้มาตั้งแต่เกิด ที่สำคัญต้องอย่าลืมการสอดแทรกคุณธรรม และจริยธรรมให้แก่เด็ก และลูก เพราะการที่เก่ง แต่ไร้คุณธรรม และความดีงาม ไม่ใช่คนเก่งที่สมบูรณ์
** เตรียมพร้อมองค์ประกอบแอดมิชชัน
เมื่อเข้าใจแนวทางการเรียน และการสอบจากรุ่นพี่ และนักจิตวิทยาแนะแนวดังกล่าวแล้ว ผู้เข้าสอบต้องเข้าใจสัดส่วนคะแนนระบบแอดมิชชันด้วย ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้อธิบายถึงสัดส่วนคะแนนการสอบแอดมิชชันปี 2552 ว่า จะต้องใช้องค์ประกอบคะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) 35-70% คะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (A-Net) 0-35 % คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ม.ปลาย หรือ จีพีเอเอ็กซ์ 10% คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ม.ปลายรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ (จีพีเอ) 20%
ส่วนแอดมิชชันปี 2553 (สำหรับนักเรียนชั้น ม.5) องค์ประกอบ และค่าน้ำหนักคะแนนจะประกอบด้วย จีพีเอเอ็กซ์ 20%, O-NET 30% นอกจากนี้ยังมีการสอบ GAT 10-50% เช่น ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ แก้โจทย์ปัญหา รวมถึงการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ สอบ 3 ชั่วโมง คะแนนเต็ม 300 คะแนน และ PAT 0-40% รวมทั้งสิ้น 100 % เพิ่มเติมอีกด้วย
สำหรับการสอบ PAT นั้น จะประกอบด้วย PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ (ทัศนศิลป์,ดนตรี,นาฏศิลป์) PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ (ฝรั่งเศสเยอรมัน ญี่ปุ่น จีน บาลี และอาหรับ) สอบ3 ชั่วโมงคะแนนเต็ม 300 คะแนน ข้อสอบปรนัย และอัตนัย (ที่ตอบแบบปรนัย)อย่างไรก็ตาม การสมัครสอบ จะสมัครปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน- 31 ตุลาคม 2551 และสอบ 3 ครั้ง คือ เดือนมีนาคม, กรกฎาคม และตุลาคมปี 2552
นอกจากนี้ สทศ.ได้ประกาศเปิดรับสมัครสอบ GAT/PAT สำหรับนักเรียน ม.6 และม.5 เพิ่มอีก 1 รอบ คือ วันที่ 20 เมษายน - 10 พฤศจิกายน 2552 เพื่อสอบในเดือนกรกฎาคม และหรือเดือนตุลาคม 2552
"นักเรียนไม่จำเป็นต้องสมัครสอบทุกครั้ง และไม่จำเป็นต้องสมัครสอบทุก PAT ควรสมัครเฉพาะ PAT ที่เกี่ยวข้องกับคณะ หรือสาขาวิชาที่ต้องการ ส่วนคะแนนของ GAT/PAT สามารถเก็บไว้ได้ 2 ปี โดยจะเก็บเป็นรายวิชา นอกจากนี้ ทางเราได้เตรียมพร้อมสนามสอบไว้เกือบ 300 แห่ง เพื่อสะดวกในการเดินทางมาสอบ และแนวข้อสอบทั้ง 3 ครั้ง จะใช้รูปแบบเดียวกัน ซึ่งนักเรียนไม่ต้องกังวล" ผอ.สทศ.กล่าว
อย่างไรก็ตาม ทาง สทศ.ได้เปิดให้บริการ Call Center 02-975-5599 เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ที่ต้องการสอบถามข้อมูล หรือสงสัยเกี่ยวกับการสอบ O-Net และการสอบ GAT/PAT โดยเปิดให้บริการทุกวัน (จันทร์-อาทิตย์) เวลา 07.00-19.00 น. ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หรือเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.niets.or.th หรือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา www.cuas.or.th