รพ.มหาราช เมืองย่าโม รับผู้บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุจราจรฉลองปีใหม่รักษาแล้ว 200 ราย เกือบครึ่งเมาสุรา สร้างความหนักใจแพทย์ผู้รักษา โดยเฉพาะรายที่บาดเจ็บทางสมอง แพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยระดับความรู้สึกตัว ว่า เกิดมาจากฤทธิ์เหล้ากดสมอง หรือจากอันตรายการบาดเจ็บ เสนอนักกฎหมายเปิดช่องให้แพทย์สามารถตรวจหาระดับแอลกอฮอล์ในเลือดผู้ป่วยเพื่อการรักษาได้ ชี้ จะเป็นผลดีต่อการรักษา แยกแยะอาการง่ายขึ้น
นายแพทย์วีรศักดิ์ เกียรติผดุงกุล รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2551 ถึง 3 มกราคม 2552 โรงพยาบาลมหาราชได้รับผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรที่มีอาการสาหัสเข้ารักษา 200 ราย เกือบครึ่งเมาสุราด้วย เป็นชายมากกว่าหญิงในอัตรา 4 ต่อ 1 โดยร้อยละ 40 บาดเจ็บที่ศีรษะ สมองกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ไม่รู้สึกตัว ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนานกว่าผู้ป่วยทั่วไปถึง 2-3 เท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้รถจักรยานยนต์และไม่สวมหมวกกันน็อก หรือใส่ แต่เป็นหมวกที่มีคุณภาพต่ำ ไม่พอดีกับศีรษะ หรือไม่ได้ล็อกสายรัดคาง ทำให้หมวกหลุด ศีรษะได้รับอันตรายทั้งแตกหรือมีเลือดคั่งในสมอง ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 60 บาดเจ็บที่ทรวงอก ช่องท้อง แขนขาหัก ซึ่งในจำนวนนี้ร้อยละ 25 เคยได้รับอุบัติเหตุกระดูกหักมาแล้ว
นายแพทย์วีรศักดิ์ กล่าวต่อว่า รอบ 5 วันมานี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ผ่าตัดสมองแล้ว 21 ราย ผู้ที่บาดเจ็บที่สมอง มักจะมีปัญหาระยะยาว ทั้งเรื่องความจำและการขยับของแขนขาขึ้นอยู่กับส่วนที่ได้รับอันตราย บางรายจำใครไม่ได้ เดินไม่ได้ เป็นภาระญาติต้องดูแล โดยเฉพาะรายที่สมองกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง มีเลือดออกในสมองและเนื้อสมองฟกช้ำด้วย จะต้องใช้เวลาฟื้นฟูนานหลายเดือน ค่ารักษาไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาท ตลอดช่วง 7 วันอันตรายนี้ รพ.มหาราช จัดแพทย์เฉพาะทาง 12 สาขา และแพทย์ทั่วไปประจำห้องฉุกเฉินวันละ 24 คน สำรองคลังเลือดไว้ 1,700 ยูนิต เพื่อให้ผู้บาดเจ็บทุกรายได้รับการดูแลอย่างรวดเร็ว ปลอดภัยไม่มีปัญหาพิการซ้ำซ้อน และปัญหาแทรกซ้อน เช่น ไตวายจากเสียเลือดมาก
ทางด้าน นายแพทย์บวร เกียรติมงคล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาศัลยศาสตร์ หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลมหาราชจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ปัญหาของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุในภาพรวมทั่วประเทศขณะนี้ครึ่งต่อครึ่งเมาสุราด้วย การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บกลุ่มนี้มีความยุ่งยาก สร้างความหนักใจให้แพทย์มาก เนื่องจากกฎหมายการตรวจแอลกอฮอล์ในเลือดที่ใช้ในปัจจุบันนี้ ไม่ได้ให้อำนาจกระทรวงสาธารณสุขสั่งตรวจเพื่อการรักษาได้ ต้องรอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ทางปกครองเป็นผู้สั่งให้ตรวจ ทำให้แพทย์ไม่สามารถรู้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดว่ามีเท่าใด และมีผลกับอาการของผู้ป่วยที่ปรากฏหรือไม่
โดยเฉพาะในรายที่บาดเจ็บทางสมองและเมาสุราด้วย การรู้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหลักการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บประเภทนี้ โดยทั่วไปแพทย์จะประเมินความรู้สึกตัว เพื่อติดตามการทำงานของสมองซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ซึ่งในรายที่เมาเหล้านั้น ระดับความรู้สึกอาจเป็นผลจากแอลกอฮอล์ เนื่องจากฤทธิ์แอลกอฮอล์จะไปกดการทำงานของสมอง ทำให้ระดับความรู้สึกตัวต่ำกว่าคนที่ไม่ดื่ม ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง อาจทำให้ถึงขั้นโคม่าได้หากระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมากถึง 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป หรือหากมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 200-300 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะทำเกิดอาการสับสน เอะอะ ง่วงซึม ซึ่งไม่ได้เกิดจากสมองได้รับอันตรายอย่างเดียว
“หากแพทย์รู้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้บาดเจ็บทางสมอง ก็จะเป็นผลดีต่อการดูแลรักษายิ่งขึ้น เพราะสามารถประเมินแยกระดับความรู้สึกตัวผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น และรีบดำเนินการแก้ไข โดยเฉพาะภายใน 12 ชั่วโมงแรก หากระดับแอลกอฮอล์ลดแล้ว แต่อาการผู้ป่วยยังไม่เปลี่ยนแปลง ก็แสดงว่า มาจากสมองได้รับอันตรายมาก ซึ่งจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นไปอย่างรวดเร็ว ขณะนี้การแพทย์สามารถทำได้เพียงตามคำขอของตำรวจในบางรายเท่านั้น จึงอยากให้ฝ่ายกฎหมายช่วยผลักดันเรื่องนี้ เปิดช่องให้แพทย์สามารถตรวจหาระดับแอลกอฮอล์ในผู้ป่วยเมาสุราเพื่อการรักษาได้” นายแพทย์บวร กล่าว
นายแพทย์วีรศักดิ์ เกียรติผดุงกุล รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2551 ถึง 3 มกราคม 2552 โรงพยาบาลมหาราชได้รับผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรที่มีอาการสาหัสเข้ารักษา 200 ราย เกือบครึ่งเมาสุราด้วย เป็นชายมากกว่าหญิงในอัตรา 4 ต่อ 1 โดยร้อยละ 40 บาดเจ็บที่ศีรษะ สมองกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ไม่รู้สึกตัว ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนานกว่าผู้ป่วยทั่วไปถึง 2-3 เท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้รถจักรยานยนต์และไม่สวมหมวกกันน็อก หรือใส่ แต่เป็นหมวกที่มีคุณภาพต่ำ ไม่พอดีกับศีรษะ หรือไม่ได้ล็อกสายรัดคาง ทำให้หมวกหลุด ศีรษะได้รับอันตรายทั้งแตกหรือมีเลือดคั่งในสมอง ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 60 บาดเจ็บที่ทรวงอก ช่องท้อง แขนขาหัก ซึ่งในจำนวนนี้ร้อยละ 25 เคยได้รับอุบัติเหตุกระดูกหักมาแล้ว
นายแพทย์วีรศักดิ์ กล่าวต่อว่า รอบ 5 วันมานี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ผ่าตัดสมองแล้ว 21 ราย ผู้ที่บาดเจ็บที่สมอง มักจะมีปัญหาระยะยาว ทั้งเรื่องความจำและการขยับของแขนขาขึ้นอยู่กับส่วนที่ได้รับอันตราย บางรายจำใครไม่ได้ เดินไม่ได้ เป็นภาระญาติต้องดูแล โดยเฉพาะรายที่สมองกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง มีเลือดออกในสมองและเนื้อสมองฟกช้ำด้วย จะต้องใช้เวลาฟื้นฟูนานหลายเดือน ค่ารักษาไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาท ตลอดช่วง 7 วันอันตรายนี้ รพ.มหาราช จัดแพทย์เฉพาะทาง 12 สาขา และแพทย์ทั่วไปประจำห้องฉุกเฉินวันละ 24 คน สำรองคลังเลือดไว้ 1,700 ยูนิต เพื่อให้ผู้บาดเจ็บทุกรายได้รับการดูแลอย่างรวดเร็ว ปลอดภัยไม่มีปัญหาพิการซ้ำซ้อน และปัญหาแทรกซ้อน เช่น ไตวายจากเสียเลือดมาก
ทางด้าน นายแพทย์บวร เกียรติมงคล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาศัลยศาสตร์ หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลมหาราชจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ปัญหาของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุในภาพรวมทั่วประเทศขณะนี้ครึ่งต่อครึ่งเมาสุราด้วย การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บกลุ่มนี้มีความยุ่งยาก สร้างความหนักใจให้แพทย์มาก เนื่องจากกฎหมายการตรวจแอลกอฮอล์ในเลือดที่ใช้ในปัจจุบันนี้ ไม่ได้ให้อำนาจกระทรวงสาธารณสุขสั่งตรวจเพื่อการรักษาได้ ต้องรอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ทางปกครองเป็นผู้สั่งให้ตรวจ ทำให้แพทย์ไม่สามารถรู้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดว่ามีเท่าใด และมีผลกับอาการของผู้ป่วยที่ปรากฏหรือไม่
โดยเฉพาะในรายที่บาดเจ็บทางสมองและเมาสุราด้วย การรู้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหลักการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บประเภทนี้ โดยทั่วไปแพทย์จะประเมินความรู้สึกตัว เพื่อติดตามการทำงานของสมองซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ซึ่งในรายที่เมาเหล้านั้น ระดับความรู้สึกอาจเป็นผลจากแอลกอฮอล์ เนื่องจากฤทธิ์แอลกอฮอล์จะไปกดการทำงานของสมอง ทำให้ระดับความรู้สึกตัวต่ำกว่าคนที่ไม่ดื่ม ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง อาจทำให้ถึงขั้นโคม่าได้หากระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมากถึง 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป หรือหากมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 200-300 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะทำเกิดอาการสับสน เอะอะ ง่วงซึม ซึ่งไม่ได้เกิดจากสมองได้รับอันตรายอย่างเดียว
“หากแพทย์รู้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้บาดเจ็บทางสมอง ก็จะเป็นผลดีต่อการดูแลรักษายิ่งขึ้น เพราะสามารถประเมินแยกระดับความรู้สึกตัวผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น และรีบดำเนินการแก้ไข โดยเฉพาะภายใน 12 ชั่วโมงแรก หากระดับแอลกอฮอล์ลดแล้ว แต่อาการผู้ป่วยยังไม่เปลี่ยนแปลง ก็แสดงว่า มาจากสมองได้รับอันตรายมาก ซึ่งจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นไปอย่างรวดเร็ว ขณะนี้การแพทย์สามารถทำได้เพียงตามคำขอของตำรวจในบางรายเท่านั้น จึงอยากให้ฝ่ายกฎหมายช่วยผลักดันเรื่องนี้ เปิดช่องให้แพทย์สามารถตรวจหาระดับแอลกอฮอล์ในผู้ป่วยเมาสุราเพื่อการรักษาได้” นายแพทย์บวร กล่าว