บนพื้นที่แปลงสาธิตการเกษตร พื้นที่พัฒนาป่าไม้ และพื้นที่รอบหมู่บ้านกว่า 123,300 ไร่ ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร คือ พื้นที่การเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือ “สนามเด็กเล่นมีชีวิต” ที่น่าสนใจยิ่ง เนื่องด้วยเต็มไปด้วยคลังความรู้ให้ได้ค้นหามากมาย
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นประกายความคิดให้กลุ่มบริษัท ฮอนด้า ในประเทศไทย จัดกิจกรรมค่ายเสริมความรู้ ระดับภูมิภาค ให้กับ 30 โรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในโครงการ โรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม เฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ 5 หัวข้อ “ตามรอยเท้าพ่อ...กับฮอนด้า” ขึ้น เพื่อส่งเสริม ผลักดันให้โรงเรียน ชุมชน เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และนำความรู้ที่ได้ กลับไปพัฒนาตนเอง โรงเรียน และชุมชนอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
และต่อไปนี้ คือ สิ่งที่เด็กและชุมชนได้รับจากการมาเข้าค่ายในครั้งนี้.....
สิริคุตน์ สีคำ หรือ “น้องโก๋” อายุ 13 ปี นักเรียนชั้น ม.1 โรงเรียนโพธิ์ตากพิทยาคม จ.หนองคาย ลูกศิษย์ อ.กุ้ง บอกว่า สนใจทำโครงการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม เพราะอยากทำให้โลกกลายเป็นสีเขียว จึงรับไม้ต่อจากรุ่นพี่ และเริ่มเข้าร่วมโครงการกับโรงเรียน ร่วมมือสานต่อกับชุมชน นำปัญหามาสร้างทางออก เช่น นำเศษใบไม้ที่เกลื่อนเป็นขยะในโรงเรียน มาทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ เพิ่มสารอาหารในดิน ได้ผักปลอดสารพิษ รวมทั้งสร้างรายได้ในโรงเรียน และชุมชน อยากให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติง่ายๆ เพียงแค่เริ่มจากตัวเราเอง
“การเข้าค่ายเป็นตำราธรรมชาติที่หาไม่ได้จากที่ไหน เพราะเป็นการเดินตามรอยเท้าพ่อหลวง ซึ่งช่วยเสริมความรู้ เช่น เรื่องสมุนไพรไทย การผลิตไบโอดีเซล หรืออื่นๆ รับรองว่า จะนำความรู้กลับไปพัฒนาโครงการที่โรงเรียนอย่างแน่นอน สำหรับอนาคตผมอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ เพื่อจะได้นำความรู้ กลับมาพัฒนาบ้านเกิดให้เจริญ สร้างเทคโนโลยีทันสมัยให้ชุมชนและประเทศชาติของผม” น้องโก๋ เล่า
ขณะที่ ผู้นำชุมชนบ้านตานวล จ.ศรีสะเกษ อย่าง สุจิต ทองละมุล หรือ “พี่จิต” อายุ 44 ปี เล่าให้ฟังว่า ที่ชุมชนได้ทำโครงการศึกษาเกี่ยวกับการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม การทำไร่นาแบบผสมผสานร่วมกับโรงเรียน จัดเป็นหลักสูตรท้องถิ่น เช่น ทอผ้า ย้อมผ้า การลงแปลงปลูกมัน ปลูกฝังอาชีพ สร้างรายได้ให้กับนักเรียน
ทั้งนี้ หลังจากจบค่าย จะนำความรู้เรื่องทฤษฎีกังหันลมปั่นน้ำ มาใช้กับแปลงเกษตรของตัวเอง และชุมชนโดยใช้พลังงานลมแทนพลังงานไฟฟ้า ลดภาระให้กับเกษตรกร รวมถึงนำความรู้เรื่องไบโอดีเซล การทำน้ำส้มควันไม้ หรืออื่นๆ กลับไปขยายผลต่อกับชาวบ้าน ดังนั้น โรงเรียนและชุมชนถือเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนา ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายเข้มแข็งปัญหาทุกอย่างย่อมได้รับการแก้ไข
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นประกายความคิดให้กลุ่มบริษัท ฮอนด้า ในประเทศไทย จัดกิจกรรมค่ายเสริมความรู้ ระดับภูมิภาค ให้กับ 30 โรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในโครงการ โรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม เฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ 5 หัวข้อ “ตามรอยเท้าพ่อ...กับฮอนด้า” ขึ้น เพื่อส่งเสริม ผลักดันให้โรงเรียน ชุมชน เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และนำความรู้ที่ได้ กลับไปพัฒนาตนเอง โรงเรียน และชุมชนอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
และต่อไปนี้ คือ สิ่งที่เด็กและชุมชนได้รับจากการมาเข้าค่ายในครั้งนี้.....
สิริคุตน์ สีคำ หรือ “น้องโก๋” อายุ 13 ปี นักเรียนชั้น ม.1 โรงเรียนโพธิ์ตากพิทยาคม จ.หนองคาย ลูกศิษย์ อ.กุ้ง บอกว่า สนใจทำโครงการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม เพราะอยากทำให้โลกกลายเป็นสีเขียว จึงรับไม้ต่อจากรุ่นพี่ และเริ่มเข้าร่วมโครงการกับโรงเรียน ร่วมมือสานต่อกับชุมชน นำปัญหามาสร้างทางออก เช่น นำเศษใบไม้ที่เกลื่อนเป็นขยะในโรงเรียน มาทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ เพิ่มสารอาหารในดิน ได้ผักปลอดสารพิษ รวมทั้งสร้างรายได้ในโรงเรียน และชุมชน อยากให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติง่ายๆ เพียงแค่เริ่มจากตัวเราเอง
“การเข้าค่ายเป็นตำราธรรมชาติที่หาไม่ได้จากที่ไหน เพราะเป็นการเดินตามรอยเท้าพ่อหลวง ซึ่งช่วยเสริมความรู้ เช่น เรื่องสมุนไพรไทย การผลิตไบโอดีเซล หรืออื่นๆ รับรองว่า จะนำความรู้กลับไปพัฒนาโครงการที่โรงเรียนอย่างแน่นอน สำหรับอนาคตผมอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ เพื่อจะได้นำความรู้ กลับมาพัฒนาบ้านเกิดให้เจริญ สร้างเทคโนโลยีทันสมัยให้ชุมชนและประเทศชาติของผม” น้องโก๋ เล่า
ขณะที่ ผู้นำชุมชนบ้านตานวล จ.ศรีสะเกษ อย่าง สุจิต ทองละมุล หรือ “พี่จิต” อายุ 44 ปี เล่าให้ฟังว่า ที่ชุมชนได้ทำโครงการศึกษาเกี่ยวกับการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม การทำไร่นาแบบผสมผสานร่วมกับโรงเรียน จัดเป็นหลักสูตรท้องถิ่น เช่น ทอผ้า ย้อมผ้า การลงแปลงปลูกมัน ปลูกฝังอาชีพ สร้างรายได้ให้กับนักเรียน
ทั้งนี้ หลังจากจบค่าย จะนำความรู้เรื่องทฤษฎีกังหันลมปั่นน้ำ มาใช้กับแปลงเกษตรของตัวเอง และชุมชนโดยใช้พลังงานลมแทนพลังงานไฟฟ้า ลดภาระให้กับเกษตรกร รวมถึงนำความรู้เรื่องไบโอดีเซล การทำน้ำส้มควันไม้ หรืออื่นๆ กลับไปขยายผลต่อกับชาวบ้าน ดังนั้น โรงเรียนและชุมชนถือเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนา ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายเข้มแข็งปัญหาทุกอย่างย่อมได้รับการแก้ไข