กรมควบคุมโรคเตือนดื่มเหล้าในปั๊ม หรือปั๊มขายเหล้า ผิด กม.โทษจำคุก 6 เดือน หรือปรับ 1 หมื่น หรือทั้งจำทั้งปรับ เผย ยอดฝ่าฝืนห้ามขายเหล้าในปั๊มมากสุด ด้านกรมธุรกิจพลังงานมั่นใจ ปั๊มน้ำมันกว่าหมื่นแห่ง ร่วมมืองดขายเหล้า เบียร์ องค์การอนามัยโลกย้ำปั๊มไม่ขายเหล้าลดปัญหาอุบัติเหตุได้
วันนี้ (19 ธ.ค.) ที่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ปตท. บางนา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกันแถลง “เดินทางปลอดภัย ปั๊มทั่วไทยปลอดเหล้า” โดย ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผอ.สำนักสนับสนุนการสร้างสุขภาวะและลดปัจจัยเสี่ยงหลัก กล่าวว่า ช่วงเทศกาลปีใหม่จะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรมากกว่าช่วงปกติถึง 2.5 เท่า คือ เฉลี่ย 87 รายต่อวัน และ 35 รายต่อวัน ในช่วงปกติ โดยมีคดีอุบัติเหตุจราจรที่เกิดจากการดื่มสุรา มากกว่าเวลาอื่นถึง 76.9% ดังนั้น การลดการดื่มสุราในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว การไม่ดื่มแล้วขับ จะช่วยลดอุบัติเหตุให้น้อยลง หรืออยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงเวลาปกติได้
“องค์การอนามัยโลก แนะนำว่า มาตรการทางภาษี และการควบคุมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาทิ ให้ประชาชนหาซื้อเหล้าได้ยากขึ้น จำกัดการบริโภคในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง เป็นสองมาตรการที่มีประสิทธิผลและคุ้มค่าสูงที่สุด ซึ่งการห้ามจำหน่าย ห้ามดื่มในปั๊มน้ำมันมีจะช่วยลดปัญหาได้ทางหนึ่ง แม้นักดื่มจะยังสามารถซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมไว้ได้ แต่ผลการศึกษา เรื่องการหยุดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันเสาร์ของประเทศนอร์เวย์ ยืนยันได้ว่ามาตรการจำกัดการขายมีผลต่อนักดื่มเป็นกลุ่มที่ดื่มหนักและต่อเนื่อง” ผศ.ดร.สุปรีดา กล่าว
ดร.สุปรีดา กล่าวอีกว่า การห้ามขาย ห้ามดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปั๊มน้ำมัน เป็นมาตรการสำคัญที่จะจำกัดการเข้าถึง และมีความสำคัญยิ่งในช่วงเทศกาลหยุดยาว ที่ผู้คนต้องเดินทาง ซึ่งส่วนใหญ่มีปั๊มน้ำมันเป็นเพื่อนตลอดการเดินทาง สสส. จึงร่วมกับ สำนักงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ กรมควบคุมโรค สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า และ 4 สถานีบริการน้ำมันรายใหญ่ ปตท.บางจาก ปิโตรนาส และเชฟรอน(คาลเท็กซ์) รณรงค์รับปีใหม่ “ห้ามขาย ห้ามดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปั๊มน้ำมัน” ตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นพ.สมาน ฟูตระกูล ผอ.สำนักงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า การจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานีบริการน้ำมันถือว่าผิดกฎหมาย โดยเฉพาะพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ในมาตรา 27(6) ที่ห้ามขายในสถานีบริการน้ำมัน และในมาตรา 31(5) ที่ห้ามดื่มในสถานีบริการน้ำมัน ซึ่งทั้งสองมาตรามีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
“ในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ได้เน้นในมาตรการห้ามจำหน่ายในปั๊มน้ำมันเพิ่มมากขึ้น โดยทางปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ทำหนังสือถึงสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดให้ตรวจตราการฝ่าฝืนการกระทำผิดจำหน่ายและดื่มสุราในปั๊มน้ำมัน โดยได้ส่งหนังสือเวียนแจ้งให้ทราบว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ที่สามารถดำเนินการเอาผิดกับผู้ฝ่าฝืนสามารถเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตั้งแต่ระดับ 4 ขึ้นไป รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีก็สามารถดำเนินได้”นพ.สมาน กล่าว
นพ.สมาน กล่าวว่า จากการสำรวจการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ห้ามขายในช่วงปีใหม่ 2551 วันที่ 28 ธ.ค.2550-2 ม.ค.2551 ใน 32 จังหวัด โดยสำรวจอย่างน้อย 2 วัน จำนวน 843 แห่งพบ มีการฝ่าฝืนขายในปั๊มน้ำมันมากที่สุด และมีอัตราการกระทำผิด ที่เพิ่มขึ้นจากในปีก่อนๆ โดยช่วงปีใหม่ 2550 พบฝ่าฝืน 17.6% แต่ปี2551 เพิ่มเป็น 19.3%
“แม้จะมีผู้ฝ่าฝืนขายในศาสถานลดลงจาก 10.6 % เหลือ 5.7 % ในปี 2551 แต่ก็ถือว่ามีการฝ่าฝืนเป็นอันดับสอง อันดับสามคือ สถานศึกษา ที่ฝ่าฝืนลดลง 12% เหลือ 4.8%ในปี 2551 ซึ่งผลสำรวจพบว่า สาเหตุที่กระทำความผิดมากที่สุด 36.8% บอกว่า ไม่ทราบว่ามีกฎหมายห้ามขาย รองลงมาต้องการมีรายได้จากการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 14.4 % ขณะที่ 10% คิดว่าน่าจะยกเว้นเพราะเป็นช่วงเทศกาล ส่วนอีก 10% กลัวเสียลูกค้าประจำจึงจำเป็นต้องขาย และ 9.5% บอกว่า ไม่เคยมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง”นพ.สมาน กล่าว
นายศิริศักดิ์ วิทยอุดม รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ปัจจุบันมีสถานีจ่ายเชื้อเพลิงที่อยู่ในความดูแลของกรมฯ ราว 1 หมื่นกว่าแห่งทั่วประเทศ คิดเป็นประมาณกว่า 90% ของสถานีจ่ายเชื้อเพลิงในประเทศไทย ซึ่งทางกรมฯ ได้ดูแลและควบคุมมาตรฐานของอุปกรณ์ การให้บริการ ให้มีมาตรฐาน รวมทั้งปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดทุกประการ ร่วมถึงร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าในบริเวณสถานีจ่ายเชื้อเพลิง ก็ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดด้วย
โดยขณะนี้กรมได้ส่งหนังสือถึงสถานีจ่ายเชื้อเพลิงทุกแห่ง ให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นมาตรการที่ต้องคุมเข้ม แม้ว่ากรมจะไม่มีอำนาจในการควบคุม แต่ก็ช่วยสนับสนุนการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ส่วนสถานีจ่ายเชื้อเพลิงที่ละเมิดกฎหมายลักลอบจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็จะถูกดำเนินการตามกฎหมายทันที
วันนี้ (19 ธ.ค.) ที่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ปตท. บางนา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกันแถลง “เดินทางปลอดภัย ปั๊มทั่วไทยปลอดเหล้า” โดย ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผอ.สำนักสนับสนุนการสร้างสุขภาวะและลดปัจจัยเสี่ยงหลัก กล่าวว่า ช่วงเทศกาลปีใหม่จะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรมากกว่าช่วงปกติถึง 2.5 เท่า คือ เฉลี่ย 87 รายต่อวัน และ 35 รายต่อวัน ในช่วงปกติ โดยมีคดีอุบัติเหตุจราจรที่เกิดจากการดื่มสุรา มากกว่าเวลาอื่นถึง 76.9% ดังนั้น การลดการดื่มสุราในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว การไม่ดื่มแล้วขับ จะช่วยลดอุบัติเหตุให้น้อยลง หรืออยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงเวลาปกติได้
“องค์การอนามัยโลก แนะนำว่า มาตรการทางภาษี และการควบคุมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาทิ ให้ประชาชนหาซื้อเหล้าได้ยากขึ้น จำกัดการบริโภคในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง เป็นสองมาตรการที่มีประสิทธิผลและคุ้มค่าสูงที่สุด ซึ่งการห้ามจำหน่าย ห้ามดื่มในปั๊มน้ำมันมีจะช่วยลดปัญหาได้ทางหนึ่ง แม้นักดื่มจะยังสามารถซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมไว้ได้ แต่ผลการศึกษา เรื่องการหยุดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันเสาร์ของประเทศนอร์เวย์ ยืนยันได้ว่ามาตรการจำกัดการขายมีผลต่อนักดื่มเป็นกลุ่มที่ดื่มหนักและต่อเนื่อง” ผศ.ดร.สุปรีดา กล่าว
ดร.สุปรีดา กล่าวอีกว่า การห้ามขาย ห้ามดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปั๊มน้ำมัน เป็นมาตรการสำคัญที่จะจำกัดการเข้าถึง และมีความสำคัญยิ่งในช่วงเทศกาลหยุดยาว ที่ผู้คนต้องเดินทาง ซึ่งส่วนใหญ่มีปั๊มน้ำมันเป็นเพื่อนตลอดการเดินทาง สสส. จึงร่วมกับ สำนักงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ กรมควบคุมโรค สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า และ 4 สถานีบริการน้ำมันรายใหญ่ ปตท.บางจาก ปิโตรนาส และเชฟรอน(คาลเท็กซ์) รณรงค์รับปีใหม่ “ห้ามขาย ห้ามดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปั๊มน้ำมัน” ตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นพ.สมาน ฟูตระกูล ผอ.สำนักงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า การจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานีบริการน้ำมันถือว่าผิดกฎหมาย โดยเฉพาะพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ในมาตรา 27(6) ที่ห้ามขายในสถานีบริการน้ำมัน และในมาตรา 31(5) ที่ห้ามดื่มในสถานีบริการน้ำมัน ซึ่งทั้งสองมาตรามีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
“ในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ได้เน้นในมาตรการห้ามจำหน่ายในปั๊มน้ำมันเพิ่มมากขึ้น โดยทางปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ทำหนังสือถึงสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดให้ตรวจตราการฝ่าฝืนการกระทำผิดจำหน่ายและดื่มสุราในปั๊มน้ำมัน โดยได้ส่งหนังสือเวียนแจ้งให้ทราบว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ที่สามารถดำเนินการเอาผิดกับผู้ฝ่าฝืนสามารถเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตั้งแต่ระดับ 4 ขึ้นไป รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีก็สามารถดำเนินได้”นพ.สมาน กล่าว
นพ.สมาน กล่าวว่า จากการสำรวจการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ห้ามขายในช่วงปีใหม่ 2551 วันที่ 28 ธ.ค.2550-2 ม.ค.2551 ใน 32 จังหวัด โดยสำรวจอย่างน้อย 2 วัน จำนวน 843 แห่งพบ มีการฝ่าฝืนขายในปั๊มน้ำมันมากที่สุด และมีอัตราการกระทำผิด ที่เพิ่มขึ้นจากในปีก่อนๆ โดยช่วงปีใหม่ 2550 พบฝ่าฝืน 17.6% แต่ปี2551 เพิ่มเป็น 19.3%
“แม้จะมีผู้ฝ่าฝืนขายในศาสถานลดลงจาก 10.6 % เหลือ 5.7 % ในปี 2551 แต่ก็ถือว่ามีการฝ่าฝืนเป็นอันดับสอง อันดับสามคือ สถานศึกษา ที่ฝ่าฝืนลดลง 12% เหลือ 4.8%ในปี 2551 ซึ่งผลสำรวจพบว่า สาเหตุที่กระทำความผิดมากที่สุด 36.8% บอกว่า ไม่ทราบว่ามีกฎหมายห้ามขาย รองลงมาต้องการมีรายได้จากการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 14.4 % ขณะที่ 10% คิดว่าน่าจะยกเว้นเพราะเป็นช่วงเทศกาล ส่วนอีก 10% กลัวเสียลูกค้าประจำจึงจำเป็นต้องขาย และ 9.5% บอกว่า ไม่เคยมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง”นพ.สมาน กล่าว
นายศิริศักดิ์ วิทยอุดม รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ปัจจุบันมีสถานีจ่ายเชื้อเพลิงที่อยู่ในความดูแลของกรมฯ ราว 1 หมื่นกว่าแห่งทั่วประเทศ คิดเป็นประมาณกว่า 90% ของสถานีจ่ายเชื้อเพลิงในประเทศไทย ซึ่งทางกรมฯ ได้ดูแลและควบคุมมาตรฐานของอุปกรณ์ การให้บริการ ให้มีมาตรฐาน รวมทั้งปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดทุกประการ ร่วมถึงร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าในบริเวณสถานีจ่ายเชื้อเพลิง ก็ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดด้วย
โดยขณะนี้กรมได้ส่งหนังสือถึงสถานีจ่ายเชื้อเพลิงทุกแห่ง ให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นมาตรการที่ต้องคุมเข้ม แม้ว่ากรมจะไม่มีอำนาจในการควบคุม แต่ก็ช่วยสนับสนุนการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ส่วนสถานีจ่ายเชื้อเพลิงที่ละเมิดกฎหมายลักลอบจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็จะถูกดำเนินการตามกฎหมายทันที