“สำหรับคนอยากขาว กลูตาไธโอนช่วยได้”
“ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อผิวขาว ขาวขึ้นภายใน 1-2 เดือน”
“ขาวผ่องอมชมพูเหมือนพริตตี้ ด้วยกลูตาไธโอนเพียว 100%”
“อยากผิวสวยเหมือนดารา กลูตาไธโอน ช่วยคุณได้”
"ผิวขาวสวยทั่วเรือนร่าง เห็นผลทันตาใน 3 วันด้วยกลูตาไธโอนแบบฉีด”
ข้อความเหล่านี้ คือ โฆษณาชวนเชื่อที่มีอยู่จริงและมีอยู่มากในเว็บไซต์ ใบปลิว ที่ต่างก็อวดอ้างสรรพคุณสาร “กลูตาไธโอน” หรือที่วัยรุ่น ชาวมหาวิทยาลัยเรียกสั้นๆ ว่า “สารขาว” ว่า มีคุณสมบัติทำให้ผิวขาวนวลผ่องเป็นยองใยเหมือนดารา ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว สารชนิดนี้ถูกคิดค้นเพื่อใช้รักษาโรคมะเร็งตับ
ก่อนหน้านี้ไม่นานนัก กลูตาไธโอน ตกเป็นข่าวครึกโครมมาแล้วครั้งหนึ่งจากกรณีคลินิกเสริมความงามชื่อดังหลายแห่งมีการนำมาใช้และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง กระทั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกประกาศเตือน ว่า ยังไม่มีการอนุญาตให้ขึ้นทะเบียน พร้อมทั้งให้ข้อมูลด้วยว่าการฉีดสารดังกล่าวถือว่าเสี่ยงอันตรายมาก เพราะอาจทำให้เกิดการแพ้ยาถึงขั้นช็อกและเสียชีวิต รวมทั้งเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังอีกด้วย แต่เมื่อเวลาผ่านไป ทุกอย่างก็กลับมาเหมือนเดิม คือ มีการโฆษณาเหมือนเดิม และมีการใช้เหมือนเดิม
“ตู่” นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งและอดีตพนักงานเชียร์สินค้า เล่าให้ฟังว่า การกินยาที่ทำให้ผิวขาวมีกระแสมานานแล้ว โดยรู้จักกันในชื่อของ “สารขาว” ซึ่งช่วงที่กระแสความนิยมพุ่งสูงราคายาจะตกอยู่ที่ประมาณ 2,000 บาทต่อกล่อง จากนั้นก็ลดลงเป็นลำดับ โดยขณะนี้ราคาเหลืออยู่ประมาณ 1,200 บาทต่อกล่อง
“ส่วนใหญ่คนที่กินยาชนิดนี้จะเป็นเพศที่ 3 ผู้หญิงมีบ้างแต่ไม่มากนัก เท่าที่ทราบก็มีกินกันในหมู่เด็กนักเรียน นักศึกษา พริตตี้ หรือแม้แต่คนวัยทำงานบ้าง สำหรับตู่เองกินยาทำให้ผิวขาวมาได้ 3 สัปดาห์แล้ว โดยยาที่ซื้อมากินจะมี 60 เม็ด กินวันละ 2 เม็ด เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ หลังจากนั้น ก็ลดเหลือกินวันละ 1 เม็ด”
ตู่ เล่าอีกว่า ก่อนที่จะซื้อยามากินก็อ่านข้อมูล รายละเอียดของยาชนิดนี้ และไปขอข้อมูลจากบูธที่วางขายตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป ตอนนี้ยังไม่เห็นผล เพราะยาที่กินจะเห็นผลช้า เนื่องจากตัวยามีส่วนผสมที่ไม่ออกฤทธิ์แรงมากนัก ต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือน หรืออาจจะน้อยหรือนานกว่านั้นแล้วแต่สภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
นอกจากนี้ เธอยังอธิบายให้ฟังอีกว่า จากการศึกษาตามเว็บไซต์และเอกสารต่างๆ พบว่า การแบ่งชนิดของยาที่ทำให้ผิวขาวจะมีทั้งยาสำหรับกินและยาสำหรับฉีด ซึ่งลักษณะของยาฉีดจะมีอานุภาพส่งผลให้ผิวขาวเร็วกว่าการยากิน ยาชนิดที่กินจะแบ่งออกเป็นยาที่กินแล้วทำให้ขาวเฉพาะที่ คือ ยาที่กินแล้วทำให้ขาวเฉพาะหน้าและยาที่กินแล้วทำให้ขาวเฉพาะตัว
เมื่อถามว่า ยาที่กินจะส่งผลกระทบข้างเคียงไหม ตู่ บอกว่า “ก็รู้ว่ามีผลข้างเคียง ข้อเสียของการกินยาก็มีเยอะ คือ ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เลือดแข็งตัว เม็ดเลือดทำงานไม่ปกติ แต่โดยส่วนตัวแล้วคิดว่ายาทุกชนิดที่เรากิน ไม่ว่าจะเป็นยาแก้ไข้ ยาแก้ปวดหัว ยารักษาสิว หรืออาหารเสริมชนิดต่างๆ ก็มีผลข้างเคียงทั้งนั้น จึงไม่ค่อยกังวลเท่าไหร่ แต่ก็พยายามหาข้อมูลก่อนกิน และถามผู้ที่เคยกินว่ามีผลหลังจากการกินอย่างไรบ้าง และคิดว่าเมื่อกินหมดกล่องครบทั้ง 60 เม็ดแล้วก็จะซื้อมากินต่อเรื่อยๆ”
ขณะที่ อ๊อฟ นักศึกษาปี 4 และอดีตพริตตี้บอย เป็นอีกคนหนึ่งที่เคยลองฉีดยาเพื่อให้ผิวขาวขึ้น โดยได้รับคำแนะนำจากเพื่อนสาวประเภทสอง เคยฉีดครั้งแรกตอนอยู่ปี 1 มีการฉีดบ้างหยุดบ้างแล้วแต่เวลาและโอกาส จนกระทั่งอยู่ปี 4 ก็หยุดฉีดแต่หันมากินวิตามินเสริมแทน
“ส่วนใหญ่เพื่อนที่ฉีดจะไปซื้อยามาแล้วไปให้คลินิกฉีดให้ แต่ไม่ใช่ทุกคลินิกที่จะฉีดให้ ฉีดครั้งหนึ่งต้องจ่ายค่าเข็ม 40 บาท ยาที่ซื้อมานั้นก็ซื้อมาจากร้านขายยาหน้าโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ตัวยาจะมีมาจากหลายประเทศ เช่น ไทย อินเดีย เยอรมนี ซึ่งของอินเดียจะมีราคาถูกสุด 70 บาท แพงสุดก็ 200-300 บาท แต่ถ้าเป็นของไทยก็ 100 กว่าบาท โดยตัวยานั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ขวดใน 1 ชุด คือ ขวดที่มีไว้เสริมนมและอีกขวดเป็นตัวยาที่ทำให้ผิวขาว ส่วนตัวแรกๆ ก็ใช้ของอินเดีย แต่หลังๆ ก็หันมาใช้ของไทย และเลือกใช้เฉพาะตัวยาที่ทำให้ผิวขาว”
อ๊อฟ บอกอีกว่า สำหรับผลหลังจากการฉีดผิวจะเนียน ละเอียดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ด้านความขาวก็ขาวขึ้นแต่ก็ไม่ชัดนัก แต่ก็จะขาวขึ้นเรื่อยๆ หลังจากฉีดเข็มต่อๆ ไป ซึ่งส่วนใหญ่การฉีดยาชนิดนี้จะนิยมฉีดกันในหมู่สาวประเภทสอง พริตตี้ เพราะบุคคลเหล่านี้ต้องมีการโชว์หน้า โชว์ตัวอยู่ตลอด ดังนั้น จึงต้องเสริมสร้างความมั่นใจให้ตัวเองดูดีขึ้น และจะฉีดกันมากในช่วงที่มีการประกวดต่างๆ เช่น การประกวดมิสทีฟฟานี่ หรือเวทีการประกวดต่างๆ
“เรื่องผลข้างเคียงของการฉีดยานั้น ตนคิดว่า มีผลน้อยกว่าการกินยา เพราะการกินยากว่าจะเห็นผลต้องกินเป็นเวลานาน และกินในปริมาณที่มาก ดังนั้น จึงทำให้มีสารสะสมเยอะตามไปด้วย แต่การฉีดถ้าใช้ในปริมาณที่เหมาะสมก็ไม่มีผลอะไร” อ๊อฟ กล่าว
ด้าน รศ.นพ.นภดล นพคุณ นายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย หัวหน้าสาขาวิชาตจวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สารกลูตาไธโอน (Glutathione) หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “สารขาว” เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายที่มีกำลังสูงเมื่อเปรียบเทียบกับวิตามินซี หรือวิตามินอี สารชนิดนี้เป็นสารที่ยับยั้งการทำงานของเม็ดสี ทำให้เม็ดสีของผิวหนังเปลี่ยน เม็ดสีที่อยู่ที่ผิวหนังมี 2 ชนิด ได้แก่ยูเมลานิน เป็นเม็ดสีหลักสำหรับคนเอเชีย หรือ นิโกร มีลักษณะผิวเป็นสีน้ำตาล ดำ และฟีโอเมลานิน จะเป็นเม็ดสีหลักสำหรับผิวฝรั่ง มีลักษณะผิวสีแดง ผมสีบลอนด์ ซึ่งการกินยาหรือฉีดสารกลูตาไธโอน เพื่อต้องการเปลี่ยนเม็ดสียูเมลานินให้เป็นเม็ดสีฟีโอเมลานิน
ทั้งนี้ นอกจากใช้การฉีดแล้ว ยังมีในรูปแบบของอาหารเสริมอีกด้วย แต่มีสารกลูตาไธโอนอยู่ในปริมาณน้อย จึงทำให้ไม่ค่อยได้ผลหรือได้ผลน้อย ซึ่งทำให้ไม่มีผลข้างเคียงมากนัก สำหรับการฉีดเข้าเส้น เพื่อให้ผิวขาวก็เป็นการทำที่ไม่ถาวรเป็นเพียงเปลี่ยนการสร้างเม็ดสีเท่านั้น และอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ นอกจากนี้ ยังมีสารอีกหลายชนิดที่ทำให้ผิวขาวได้ เช่น ไฮโดรควิโนน เป็นยารักษาฝ้า และเป็นยาอันตรายอีกชนิดหนึ่ง เมื่อใช้แล้วทำให้ผิวหน้าดำได้
“ส่วนใหญ่จะมีการนำสารกลูตาไธโอนมาใช้ในคลินิก ซึ่งเป็นอันตราย ถ้าฉีดแล้วทำให้เกิดอาการแพ้ หรือถ้ารุนแรงกว่านั้น ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยไม่มีข้อมูลทางการแพทย์ยืนยัน และไม่มีการทำการศึกษาและทำการวิจัยอย่างเป็นระบบ รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่มีการรับรองการใช้ยากลูตาไธโอน ไม่มีการสนับสนุนทางการแพทย์ เป็นเพียงการรายงานการวิจัยที่ไม่ได้มีการศึกษาเปรียบเทียบ”
รศ.นพ.นภดล ให้แง่คิดทิ้งท้ายว่า ขอวิงวอนให้แพทย์คำนึงถึงผลข้างเคียงและอันตรายที่จะเกิดกับผู้ป่วยด้วย และสำหรับผู้ป่วยเองนอกจากจะไม่เกิดผลดีต่อร่างกายแล้ว ยังต้องเสียเงินโดยใช่เหตุ การมีผิวคล้ำใช่ว่าจะมีผลเสียเสมอไป แต่กลับมีผลดีด้วยซ้ำ เพราะสามารถป้องกันแสงยูวีได้ ที่สำคัญคนผิวคล้ำเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังน้อยกว่าคนผิวขาว
“ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อผิวขาว ขาวขึ้นภายใน 1-2 เดือน”
“ขาวผ่องอมชมพูเหมือนพริตตี้ ด้วยกลูตาไธโอนเพียว 100%”
“อยากผิวสวยเหมือนดารา กลูตาไธโอน ช่วยคุณได้”
"ผิวขาวสวยทั่วเรือนร่าง เห็นผลทันตาใน 3 วันด้วยกลูตาไธโอนแบบฉีด”
ข้อความเหล่านี้ คือ โฆษณาชวนเชื่อที่มีอยู่จริงและมีอยู่มากในเว็บไซต์ ใบปลิว ที่ต่างก็อวดอ้างสรรพคุณสาร “กลูตาไธโอน” หรือที่วัยรุ่น ชาวมหาวิทยาลัยเรียกสั้นๆ ว่า “สารขาว” ว่า มีคุณสมบัติทำให้ผิวขาวนวลผ่องเป็นยองใยเหมือนดารา ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว สารชนิดนี้ถูกคิดค้นเพื่อใช้รักษาโรคมะเร็งตับ
ก่อนหน้านี้ไม่นานนัก กลูตาไธโอน ตกเป็นข่าวครึกโครมมาแล้วครั้งหนึ่งจากกรณีคลินิกเสริมความงามชื่อดังหลายแห่งมีการนำมาใช้และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง กระทั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกประกาศเตือน ว่า ยังไม่มีการอนุญาตให้ขึ้นทะเบียน พร้อมทั้งให้ข้อมูลด้วยว่าการฉีดสารดังกล่าวถือว่าเสี่ยงอันตรายมาก เพราะอาจทำให้เกิดการแพ้ยาถึงขั้นช็อกและเสียชีวิต รวมทั้งเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังอีกด้วย แต่เมื่อเวลาผ่านไป ทุกอย่างก็กลับมาเหมือนเดิม คือ มีการโฆษณาเหมือนเดิม และมีการใช้เหมือนเดิม
“ตู่” นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งและอดีตพนักงานเชียร์สินค้า เล่าให้ฟังว่า การกินยาที่ทำให้ผิวขาวมีกระแสมานานแล้ว โดยรู้จักกันในชื่อของ “สารขาว” ซึ่งช่วงที่กระแสความนิยมพุ่งสูงราคายาจะตกอยู่ที่ประมาณ 2,000 บาทต่อกล่อง จากนั้นก็ลดลงเป็นลำดับ โดยขณะนี้ราคาเหลืออยู่ประมาณ 1,200 บาทต่อกล่อง
“ส่วนใหญ่คนที่กินยาชนิดนี้จะเป็นเพศที่ 3 ผู้หญิงมีบ้างแต่ไม่มากนัก เท่าที่ทราบก็มีกินกันในหมู่เด็กนักเรียน นักศึกษา พริตตี้ หรือแม้แต่คนวัยทำงานบ้าง สำหรับตู่เองกินยาทำให้ผิวขาวมาได้ 3 สัปดาห์แล้ว โดยยาที่ซื้อมากินจะมี 60 เม็ด กินวันละ 2 เม็ด เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ หลังจากนั้น ก็ลดเหลือกินวันละ 1 เม็ด”
ตู่ เล่าอีกว่า ก่อนที่จะซื้อยามากินก็อ่านข้อมูล รายละเอียดของยาชนิดนี้ และไปขอข้อมูลจากบูธที่วางขายตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป ตอนนี้ยังไม่เห็นผล เพราะยาที่กินจะเห็นผลช้า เนื่องจากตัวยามีส่วนผสมที่ไม่ออกฤทธิ์แรงมากนัก ต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือน หรืออาจจะน้อยหรือนานกว่านั้นแล้วแต่สภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
นอกจากนี้ เธอยังอธิบายให้ฟังอีกว่า จากการศึกษาตามเว็บไซต์และเอกสารต่างๆ พบว่า การแบ่งชนิดของยาที่ทำให้ผิวขาวจะมีทั้งยาสำหรับกินและยาสำหรับฉีด ซึ่งลักษณะของยาฉีดจะมีอานุภาพส่งผลให้ผิวขาวเร็วกว่าการยากิน ยาชนิดที่กินจะแบ่งออกเป็นยาที่กินแล้วทำให้ขาวเฉพาะที่ คือ ยาที่กินแล้วทำให้ขาวเฉพาะหน้าและยาที่กินแล้วทำให้ขาวเฉพาะตัว
เมื่อถามว่า ยาที่กินจะส่งผลกระทบข้างเคียงไหม ตู่ บอกว่า “ก็รู้ว่ามีผลข้างเคียง ข้อเสียของการกินยาก็มีเยอะ คือ ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เลือดแข็งตัว เม็ดเลือดทำงานไม่ปกติ แต่โดยส่วนตัวแล้วคิดว่ายาทุกชนิดที่เรากิน ไม่ว่าจะเป็นยาแก้ไข้ ยาแก้ปวดหัว ยารักษาสิว หรืออาหารเสริมชนิดต่างๆ ก็มีผลข้างเคียงทั้งนั้น จึงไม่ค่อยกังวลเท่าไหร่ แต่ก็พยายามหาข้อมูลก่อนกิน และถามผู้ที่เคยกินว่ามีผลหลังจากการกินอย่างไรบ้าง และคิดว่าเมื่อกินหมดกล่องครบทั้ง 60 เม็ดแล้วก็จะซื้อมากินต่อเรื่อยๆ”
ขณะที่ อ๊อฟ นักศึกษาปี 4 และอดีตพริตตี้บอย เป็นอีกคนหนึ่งที่เคยลองฉีดยาเพื่อให้ผิวขาวขึ้น โดยได้รับคำแนะนำจากเพื่อนสาวประเภทสอง เคยฉีดครั้งแรกตอนอยู่ปี 1 มีการฉีดบ้างหยุดบ้างแล้วแต่เวลาและโอกาส จนกระทั่งอยู่ปี 4 ก็หยุดฉีดแต่หันมากินวิตามินเสริมแทน
“ส่วนใหญ่เพื่อนที่ฉีดจะไปซื้อยามาแล้วไปให้คลินิกฉีดให้ แต่ไม่ใช่ทุกคลินิกที่จะฉีดให้ ฉีดครั้งหนึ่งต้องจ่ายค่าเข็ม 40 บาท ยาที่ซื้อมานั้นก็ซื้อมาจากร้านขายยาหน้าโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ตัวยาจะมีมาจากหลายประเทศ เช่น ไทย อินเดีย เยอรมนี ซึ่งของอินเดียจะมีราคาถูกสุด 70 บาท แพงสุดก็ 200-300 บาท แต่ถ้าเป็นของไทยก็ 100 กว่าบาท โดยตัวยานั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ขวดใน 1 ชุด คือ ขวดที่มีไว้เสริมนมและอีกขวดเป็นตัวยาที่ทำให้ผิวขาว ส่วนตัวแรกๆ ก็ใช้ของอินเดีย แต่หลังๆ ก็หันมาใช้ของไทย และเลือกใช้เฉพาะตัวยาที่ทำให้ผิวขาว”
อ๊อฟ บอกอีกว่า สำหรับผลหลังจากการฉีดผิวจะเนียน ละเอียดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ด้านความขาวก็ขาวขึ้นแต่ก็ไม่ชัดนัก แต่ก็จะขาวขึ้นเรื่อยๆ หลังจากฉีดเข็มต่อๆ ไป ซึ่งส่วนใหญ่การฉีดยาชนิดนี้จะนิยมฉีดกันในหมู่สาวประเภทสอง พริตตี้ เพราะบุคคลเหล่านี้ต้องมีการโชว์หน้า โชว์ตัวอยู่ตลอด ดังนั้น จึงต้องเสริมสร้างความมั่นใจให้ตัวเองดูดีขึ้น และจะฉีดกันมากในช่วงที่มีการประกวดต่างๆ เช่น การประกวดมิสทีฟฟานี่ หรือเวทีการประกวดต่างๆ
“เรื่องผลข้างเคียงของการฉีดยานั้น ตนคิดว่า มีผลน้อยกว่าการกินยา เพราะการกินยากว่าจะเห็นผลต้องกินเป็นเวลานาน และกินในปริมาณที่มาก ดังนั้น จึงทำให้มีสารสะสมเยอะตามไปด้วย แต่การฉีดถ้าใช้ในปริมาณที่เหมาะสมก็ไม่มีผลอะไร” อ๊อฟ กล่าว
ด้าน รศ.นพ.นภดล นพคุณ นายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย หัวหน้าสาขาวิชาตจวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สารกลูตาไธโอน (Glutathione) หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “สารขาว” เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายที่มีกำลังสูงเมื่อเปรียบเทียบกับวิตามินซี หรือวิตามินอี สารชนิดนี้เป็นสารที่ยับยั้งการทำงานของเม็ดสี ทำให้เม็ดสีของผิวหนังเปลี่ยน เม็ดสีที่อยู่ที่ผิวหนังมี 2 ชนิด ได้แก่ยูเมลานิน เป็นเม็ดสีหลักสำหรับคนเอเชีย หรือ นิโกร มีลักษณะผิวเป็นสีน้ำตาล ดำ และฟีโอเมลานิน จะเป็นเม็ดสีหลักสำหรับผิวฝรั่ง มีลักษณะผิวสีแดง ผมสีบลอนด์ ซึ่งการกินยาหรือฉีดสารกลูตาไธโอน เพื่อต้องการเปลี่ยนเม็ดสียูเมลานินให้เป็นเม็ดสีฟีโอเมลานิน
ทั้งนี้ นอกจากใช้การฉีดแล้ว ยังมีในรูปแบบของอาหารเสริมอีกด้วย แต่มีสารกลูตาไธโอนอยู่ในปริมาณน้อย จึงทำให้ไม่ค่อยได้ผลหรือได้ผลน้อย ซึ่งทำให้ไม่มีผลข้างเคียงมากนัก สำหรับการฉีดเข้าเส้น เพื่อให้ผิวขาวก็เป็นการทำที่ไม่ถาวรเป็นเพียงเปลี่ยนการสร้างเม็ดสีเท่านั้น และอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ นอกจากนี้ ยังมีสารอีกหลายชนิดที่ทำให้ผิวขาวได้ เช่น ไฮโดรควิโนน เป็นยารักษาฝ้า และเป็นยาอันตรายอีกชนิดหนึ่ง เมื่อใช้แล้วทำให้ผิวหน้าดำได้
“ส่วนใหญ่จะมีการนำสารกลูตาไธโอนมาใช้ในคลินิก ซึ่งเป็นอันตราย ถ้าฉีดแล้วทำให้เกิดอาการแพ้ หรือถ้ารุนแรงกว่านั้น ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยไม่มีข้อมูลทางการแพทย์ยืนยัน และไม่มีการทำการศึกษาและทำการวิจัยอย่างเป็นระบบ รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่มีการรับรองการใช้ยากลูตาไธโอน ไม่มีการสนับสนุนทางการแพทย์ เป็นเพียงการรายงานการวิจัยที่ไม่ได้มีการศึกษาเปรียบเทียบ”
รศ.นพ.นภดล ให้แง่คิดทิ้งท้ายว่า ขอวิงวอนให้แพทย์คำนึงถึงผลข้างเคียงและอันตรายที่จะเกิดกับผู้ป่วยด้วย และสำหรับผู้ป่วยเองนอกจากจะไม่เกิดผลดีต่อร่างกายแล้ว ยังต้องเสียเงินโดยใช่เหตุ การมีผิวคล้ำใช่ว่าจะมีผลเสียเสมอไป แต่กลับมีผลดีด้วยซ้ำ เพราะสามารถป้องกันแสงยูวีได้ ที่สำคัญคนผิวคล้ำเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังน้อยกว่าคนผิวขาว