รับสมัครผู้ว่าฯ กทม.วันที่ 4 มีผู้สนใจเพิ่มอีก 3 ราย ทั้งอดีตผู้สมัครหน้าเก่าที่วอนกลุ่มนายทุนให้การสนับสนุนและอดีตนักธุรกิจที่อยากได้เบอร์ 11 แต่สุดท้ายไม่มีใครสมัครในวันนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการรับสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ณ ห้องเจ้าพระยา ซึ่งวันนี้เปิดรับสมัครเป็นวันที่ 4 แล้วโดยตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมามีผู้ให้ความสนใจ 3 ราย โดย นายศักดิ์ สุวรรณกูฏ หรือ นายทรงพล สุวรรณกูฏ อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ปี 2543 ซึ่งมาขอรับใบสมัครและกรอกใบสมัครเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่มีเงินทุนในการสมัคร โดยนายศักดิ์ กล่าวว่า นายทุนที่ได้ยินเสียงตนไม่ว่าจะเป็นพรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา หรือกลุ่มธุรกิจเศรษฐี ทั้งเอไอเอส เบียร์สิงห์ ถ้าคิดว่าตนมีความสามารถพอขอให้มาสนับสนุน ทั้งนี้ หากมีกลุ่มทุนประสานมาว่าจะให้ความช่วยเหลือ ตนจะเดินทางมาสมัครในวันพรุ่งนี้ ในเวลา 15.59 น. แต่ถ้าไม่มีใครให้การสนับสนุนคงไม่ลงสมัคร
นายศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับนโยบายที่ตนคิดว่าจะสามารถเอาชนะ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.จากพรรคประชาธิปัตย์ได้ คือ การฟื้นฟูการท่องเที่ยว และออกบัตรสุขภาพดีให้คน กทม.ใช้บริการได้ทุกโรงพยาบาลแทนบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรคใช้ได้ทั่วประเทศ และพัฒนาคุณภาพการรักษา แต่ตอนนี้ไม่มีเงินทุน จึงอยากเรียกร้องให้พรรคการเมืองหรือกลุ่มทุนต่างๆ ให้เงินทุนสนับสนุน
ด้าน นายธรรณม์ชัย รุ่งจิรโรจน์ อดีตนักธุรกิจ ซึ่งเดินทางมาถึงในเวลา 11.00 น.กล่าวว่า การสมัครรับเลือกผู้ว่าฯ กทม.เป็นครั้งแรก โดยขอหมายเลข 11 เพราะเลขศูนย์นั้นไม่ถูกกับตน ถ้าหากวันนี้ไม่มีใครมาสมัครก็มาในวันพรุ่งนี้ ส่วนนโยบายตอนนี้ขอไม่เปิดเผย แต่จะไม่เสนอนโยบายที่เพ้อฝัน พอมาปฏิบัติงานก็ทำไม่ได้ และก็จะไม่ทำงานเหมือนผู้ว่าฯ กทม.คนก่อนๆ ที่ชอบเสนอนโยบายเพื่อสานต่องานก่องานใหม่ ทั้งนี้นายธรรณม์ชัยได้รออยู่จนถึงเวลา 12.00 น.แต่ยังไม่มีผู้ใดมาสมัครจึงเดินทางกลับ และบอกว่าจะเดินทางมาสมัครใหม่ในวันพรุ่งนี้ (4 ธ.ค.) ซึ่งถือเป็นวันรับสมัครวันสุดท้าย
นอกจากนี้ นายจริโรจน์ วิจารณ์ภูธร เจ้าของธุรกิจโรงแรมเกสต์เฮาส์ ได้ส่งตัวแทนมาขอใบรับสมัครด้วยแต่ยังไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด
นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลักกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยถึงกรณี การจัดเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)ขึ้นใหม่ แทนส.ส.ที่หมดสมาชิกภาพ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบ 3 พรรคการเมือง ในวันที่ 11 ม.ค.2552 ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)กำหนด ซึ่งเป็นวันเดียวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ว่า สำหรับการกำหนดให้มีการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ในวันเดียวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.นั้นตนคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด อาจจะเกิดผลดีในส่วนที่ส่งผลให้ประชาชนมาใช้สิทธิมากกว่าการเลือกตั้งกันคนละวัน
ทั้งนี้ในส่วนการจัดการเลือกตั้งนั้นไม่น่าห่วงแต่อย่างใด อาจจะเหนื่อยเพิ่มขึ้น แต่ก็พร้อมที่จะจัดการเลือกตั้ง ในส่วนของ กทม.นั้นมีการเลือกตั้งซ่อมในพื้นที่เขต 10 ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ บางขุนเทียน บางบอน เพียงเขตเดียว ซึ่งประชาชนต้องทำการตรวจสอบรายชื่อให้ดี เนื่องจากการเลือกตั้งส.ส.และผู้ว่าฯกทม.นั้นรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นค่อนข้างจะแตกต่างกัน เพราะในการเลือกตั้ง ส.ส.นั้นผู้ใช้สิทธิต้องมีรายชื่อในพื้นที่ เพียง 90 วัน แต่การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.นั้นผู้มีสิทธิต้องมีรายชื่ออยู่ในพื้นที่ถึง 1 ปี ทำให้บางคนมีสิทธิเลือกส.ส.แต่ไม่มีสิทธิเลือกผู้ว่าฯกทม.ส่วนจุดเลือกตั้งนั้น คงจะต้องแยกจุดกันเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการรับสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ณ ห้องเจ้าพระยา ซึ่งวันนี้เปิดรับสมัครเป็นวันที่ 4 แล้วโดยตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมามีผู้ให้ความสนใจ 3 ราย โดย นายศักดิ์ สุวรรณกูฏ หรือ นายทรงพล สุวรรณกูฏ อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ปี 2543 ซึ่งมาขอรับใบสมัครและกรอกใบสมัครเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่มีเงินทุนในการสมัคร โดยนายศักดิ์ กล่าวว่า นายทุนที่ได้ยินเสียงตนไม่ว่าจะเป็นพรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา หรือกลุ่มธุรกิจเศรษฐี ทั้งเอไอเอส เบียร์สิงห์ ถ้าคิดว่าตนมีความสามารถพอขอให้มาสนับสนุน ทั้งนี้ หากมีกลุ่มทุนประสานมาว่าจะให้ความช่วยเหลือ ตนจะเดินทางมาสมัครในวันพรุ่งนี้ ในเวลา 15.59 น. แต่ถ้าไม่มีใครให้การสนับสนุนคงไม่ลงสมัคร
นายศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับนโยบายที่ตนคิดว่าจะสามารถเอาชนะ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.จากพรรคประชาธิปัตย์ได้ คือ การฟื้นฟูการท่องเที่ยว และออกบัตรสุขภาพดีให้คน กทม.ใช้บริการได้ทุกโรงพยาบาลแทนบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรคใช้ได้ทั่วประเทศ และพัฒนาคุณภาพการรักษา แต่ตอนนี้ไม่มีเงินทุน จึงอยากเรียกร้องให้พรรคการเมืองหรือกลุ่มทุนต่างๆ ให้เงินทุนสนับสนุน
ด้าน นายธรรณม์ชัย รุ่งจิรโรจน์ อดีตนักธุรกิจ ซึ่งเดินทางมาถึงในเวลา 11.00 น.กล่าวว่า การสมัครรับเลือกผู้ว่าฯ กทม.เป็นครั้งแรก โดยขอหมายเลข 11 เพราะเลขศูนย์นั้นไม่ถูกกับตน ถ้าหากวันนี้ไม่มีใครมาสมัครก็มาในวันพรุ่งนี้ ส่วนนโยบายตอนนี้ขอไม่เปิดเผย แต่จะไม่เสนอนโยบายที่เพ้อฝัน พอมาปฏิบัติงานก็ทำไม่ได้ และก็จะไม่ทำงานเหมือนผู้ว่าฯ กทม.คนก่อนๆ ที่ชอบเสนอนโยบายเพื่อสานต่องานก่องานใหม่ ทั้งนี้นายธรรณม์ชัยได้รออยู่จนถึงเวลา 12.00 น.แต่ยังไม่มีผู้ใดมาสมัครจึงเดินทางกลับ และบอกว่าจะเดินทางมาสมัครใหม่ในวันพรุ่งนี้ (4 ธ.ค.) ซึ่งถือเป็นวันรับสมัครวันสุดท้าย
นอกจากนี้ นายจริโรจน์ วิจารณ์ภูธร เจ้าของธุรกิจโรงแรมเกสต์เฮาส์ ได้ส่งตัวแทนมาขอใบรับสมัครด้วยแต่ยังไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด
นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลักกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยถึงกรณี การจัดเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)ขึ้นใหม่ แทนส.ส.ที่หมดสมาชิกภาพ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบ 3 พรรคการเมือง ในวันที่ 11 ม.ค.2552 ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)กำหนด ซึ่งเป็นวันเดียวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ว่า สำหรับการกำหนดให้มีการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ในวันเดียวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.นั้นตนคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด อาจจะเกิดผลดีในส่วนที่ส่งผลให้ประชาชนมาใช้สิทธิมากกว่าการเลือกตั้งกันคนละวัน
ทั้งนี้ในส่วนการจัดการเลือกตั้งนั้นไม่น่าห่วงแต่อย่างใด อาจจะเหนื่อยเพิ่มขึ้น แต่ก็พร้อมที่จะจัดการเลือกตั้ง ในส่วนของ กทม.นั้นมีการเลือกตั้งซ่อมในพื้นที่เขต 10 ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ บางขุนเทียน บางบอน เพียงเขตเดียว ซึ่งประชาชนต้องทำการตรวจสอบรายชื่อให้ดี เนื่องจากการเลือกตั้งส.ส.และผู้ว่าฯกทม.นั้นรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นค่อนข้างจะแตกต่างกัน เพราะในการเลือกตั้ง ส.ส.นั้นผู้ใช้สิทธิต้องมีรายชื่อในพื้นที่ เพียง 90 วัน แต่การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.นั้นผู้มีสิทธิต้องมีรายชื่ออยู่ในพื้นที่ถึง 1 ปี ทำให้บางคนมีสิทธิเลือกส.ส.แต่ไม่มีสิทธิเลือกผู้ว่าฯกทม.ส่วนจุดเลือกตั้งนั้น คงจะต้องแยกจุดกันเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน