ผู้จัดการรายวัน - คณะกรรมการปฏิรูประบบการเงินอุดมศึกษา มีมติเห็นชอบกรอบแนวทาง ปล่อยเงินผ่าน 5 กองทุน ให้เงินหนุนมหา’ลัยตามนโยบาย เผยเตรียมชงข้อมูลให้ รมว.ศธ.พิจารณา
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องการปฏิรูประบบการเงินอุดมศึกษา ภายหลังประชุมร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูประบบการเงินอุดมศึกษาที่มี ศ.(พิเศษ) ภาวิช ทองโรจน์ อดีตเลขาธิการ กกอ. เป็นประธาน รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) และผู้เกี่ยวข้องเพื่อเสนอภาพรวมของของการออกแบบระบบการเงินอุดมศึกษา ที่จะนำไปสู่การร่างกฎหมายเพื่อออกเป็นพ.ร.บ.ต่อไป ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยในหลักการตามกรอบแนวคิดที่คณะกรรมการเสนอมา แต่ต้องนำเรื่องนี้เข้าหารือกับ นายศรีเมือง เจริญศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกครั้ง ว่าเห็นด้วยหรือไม่
สำหรับระบบการเงินอุดมศึกษาที่คิดขึ้นใหม่ นี้ จะเป็นการจัดระบบจัดสรรเงินที่จะลงสู่มหาวิทยาลัยใหม่ โดยผ่านกองทุน จากเดิมที่งบประมาณที่ได้จากรัฐจะลงสู่มหาวิทยาลัยโดยตรง ก็จะผ่านกองทุนแทน โดยรัฐใส่เงินผ่านกองทุน ที่มีคณะกรรมการสำหรับจัดสรรเงินลงไปสู่มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ สำหรับการจัดสรรเงินจะมี 3 รูปแบบ คือ 1.ให้เป็นเงินอุดหนุนโดยไม่ต้องจ่ายคืน 2.ปล่อยกู้ให้มหาวิทยาลัยในบางกรณี เช่น นำไปใช้สร้างอาคารเรียนใหม่ และ 3.สำหรับให้การสนับสนุนในเรื่องต่างๆ
ทั้งนี้ เงินจะผ่านกองทุนที่ตั้งขึ้นจำนวน 5 กองทุน ได้แก่ 1.กองทุนสำหรับทรัพย์สินถาวร 2.กองทุนสำหรับพัฒนาอาจารย์ 3.กองทุนสนับสนุนการวิจัย 4.กองทุนสำหรับพัฒนานักศึกษา และ 5.กองทุนสำหรับสนับสนุนเรื่องงานวิจัยและการให้บริการต่อชุมชนของมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยที่มีโรงพยาบาล
“การจัดสรรงบประมาณลงสู่มหาวิทยาลัยต่างๆ จะเป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยที่เน้น เรื่องงานวิจัย ก็จะได้รับการสนับสนุนเรื่องงานวิจัยเป็นหลัก เพราะมหาวิทยาลัยจะเก่งทุกเรื่องมันเป็นไปไม่ได้”
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องการปฏิรูประบบการเงินอุดมศึกษา ภายหลังประชุมร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูประบบการเงินอุดมศึกษาที่มี ศ.(พิเศษ) ภาวิช ทองโรจน์ อดีตเลขาธิการ กกอ. เป็นประธาน รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) และผู้เกี่ยวข้องเพื่อเสนอภาพรวมของของการออกแบบระบบการเงินอุดมศึกษา ที่จะนำไปสู่การร่างกฎหมายเพื่อออกเป็นพ.ร.บ.ต่อไป ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยในหลักการตามกรอบแนวคิดที่คณะกรรมการเสนอมา แต่ต้องนำเรื่องนี้เข้าหารือกับ นายศรีเมือง เจริญศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกครั้ง ว่าเห็นด้วยหรือไม่
สำหรับระบบการเงินอุดมศึกษาที่คิดขึ้นใหม่ นี้ จะเป็นการจัดระบบจัดสรรเงินที่จะลงสู่มหาวิทยาลัยใหม่ โดยผ่านกองทุน จากเดิมที่งบประมาณที่ได้จากรัฐจะลงสู่มหาวิทยาลัยโดยตรง ก็จะผ่านกองทุนแทน โดยรัฐใส่เงินผ่านกองทุน ที่มีคณะกรรมการสำหรับจัดสรรเงินลงไปสู่มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ สำหรับการจัดสรรเงินจะมี 3 รูปแบบ คือ 1.ให้เป็นเงินอุดหนุนโดยไม่ต้องจ่ายคืน 2.ปล่อยกู้ให้มหาวิทยาลัยในบางกรณี เช่น นำไปใช้สร้างอาคารเรียนใหม่ และ 3.สำหรับให้การสนับสนุนในเรื่องต่างๆ
ทั้งนี้ เงินจะผ่านกองทุนที่ตั้งขึ้นจำนวน 5 กองทุน ได้แก่ 1.กองทุนสำหรับทรัพย์สินถาวร 2.กองทุนสำหรับพัฒนาอาจารย์ 3.กองทุนสนับสนุนการวิจัย 4.กองทุนสำหรับพัฒนานักศึกษา และ 5.กองทุนสำหรับสนับสนุนเรื่องงานวิจัยและการให้บริการต่อชุมชนของมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยที่มีโรงพยาบาล
“การจัดสรรงบประมาณลงสู่มหาวิทยาลัยต่างๆ จะเป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยที่เน้น เรื่องงานวิจัย ก็จะได้รับการสนับสนุนเรื่องงานวิจัยเป็นหลัก เพราะมหาวิทยาลัยจะเก่งทุกเรื่องมันเป็นไปไม่ได้”