คณะทำงานไทยรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด วอนรัฐบาลร่วมลงนามในอนุสัญญาออสโลต้านระเบิดดาวกระจายที่ยังเก็บในคลังของกองทัพอากาศ ชี้หากทำลายเองต้องใช้เวลาถึง 6 ปีแถมค่าใช้จ่ายสูง พร้อมชวนประชาชนร่วมลงนามในอนุสัญญาภาคประชาชนผลักดันรัฐบาลจรดปากกา
วันนี้ (2 พ.ย.) ที่สวนสันติชัยปราการ เขตพระนคร นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เป็นประธานเปิดงานคาราวานต้านระเบิด พร้อมกล่าวว่า ประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศผู้ใช้และประเทศผู้ผลิตระเบิดดาวกระจายแต่เป็นโอกาสดีที่คณะทำงานไทยรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิดจัดงานนี้ขึ้นมาเพื่อรณรงค์การเก็บกู้ทุ่นระเบิดตามจังหวัดชายแดนต่างๆ โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ถึงแม้ประเทศไทยจะไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ระเบิดดาวกระจายโดยตรงแต่พื้นที่ชายแดนยังพบเป็นประจำ อย่างไรก็ตาม จะมีการลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการต้านระเบิดดาวกระจาย ที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ในวันที่ 2-3 ธันวาคม 2551 นี้ เพื่อขอความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศต่างๆหยุดระเบิดดาวกระจาย
ด้านนางเอมิลี่ เกตุทัต ผู้ประสานงานคณะทำงานฯ กล่าวว่า ประเทศไทยแม้จะไม่มีระเบิดดาวกระจายแต่ยังมีระเบิดดาวกระจายส่วนหนึ่งที่เก็บอยู่ในคลังอาวุธของกองทัพอากาศซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการทำลายถึง 6 ปี ดังนั้นตนจึงอยากให้รัฐบาลไทยเข้าร่วมลงนามในอนุสัญญาออสโล เพื่อทำลายระเบิดดาวกระจายให้หมดไปจากประเทศไทย เนื่องจากหากทำลายเองค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง นอกจากนี้ ในส่วนของภาคประชาชนทุกคนสามารถลงนามในอนุสัญญาฉบับประชาชนเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าประชาชนต้องการให้รัฐบาลต่อต้านระเบิดดาวกระจาย และลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดดาวกระจายในเดือนธันวาคมนี้ ทั้งนี้ทุกคนสามารถลงนามได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.minesactioncanada.org/peoples_treaty/
สำหรับประเทศที่ใช้ระเบิดดาวกระจาย หรือ ระเบิดลูกปราย ระเบิดชุดพ่วง หรือ ระเบิดพวง มีอย่างน้อย 14 ประเทศ ได้แก่ เอทริเทรีย เอธิโอเปีย ฝรั่งเศศ อิสราเอล โมร็อกโก เนเธอร์แลนด์ ไนจีเรีย ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซูดาน ทาจิกิสถาน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา อดีตยูโกสลาเวีย รัสเซีย และล่าสุดรัสเซียได้ใช้ระเบิดดาวกระจายถล่มจอร์เจียเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้มีรายงานว่ามีระเบิดขนาดเล็กอยู่ในคลังของ 76 ประเทศทั่วโลกจำนวนนับพันล้านลูก มี 34 ประเทศที่เป็นประเทศผู้ผลิตระเบิดดาวกระจายจำนวนมากกว่า 210 รุ่นที่แตกต่างกัน และมีหลายประเทศทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากระเบิดดาวกระจาย เช่น อัฟกานิสถาน กัมพูชา โครเอเชีย อิรัก อิสราเอล ลาว เลบานอน เวียดนาม เชชเนีย มอนเตเนโกร เป็นต้น
วันนี้ (2 พ.ย.) ที่สวนสันติชัยปราการ เขตพระนคร นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เป็นประธานเปิดงานคาราวานต้านระเบิด พร้อมกล่าวว่า ประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศผู้ใช้และประเทศผู้ผลิตระเบิดดาวกระจายแต่เป็นโอกาสดีที่คณะทำงานไทยรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิดจัดงานนี้ขึ้นมาเพื่อรณรงค์การเก็บกู้ทุ่นระเบิดตามจังหวัดชายแดนต่างๆ โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ถึงแม้ประเทศไทยจะไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ระเบิดดาวกระจายโดยตรงแต่พื้นที่ชายแดนยังพบเป็นประจำ อย่างไรก็ตาม จะมีการลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการต้านระเบิดดาวกระจาย ที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ในวันที่ 2-3 ธันวาคม 2551 นี้ เพื่อขอความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศต่างๆหยุดระเบิดดาวกระจาย
ด้านนางเอมิลี่ เกตุทัต ผู้ประสานงานคณะทำงานฯ กล่าวว่า ประเทศไทยแม้จะไม่มีระเบิดดาวกระจายแต่ยังมีระเบิดดาวกระจายส่วนหนึ่งที่เก็บอยู่ในคลังอาวุธของกองทัพอากาศซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการทำลายถึง 6 ปี ดังนั้นตนจึงอยากให้รัฐบาลไทยเข้าร่วมลงนามในอนุสัญญาออสโล เพื่อทำลายระเบิดดาวกระจายให้หมดไปจากประเทศไทย เนื่องจากหากทำลายเองค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง นอกจากนี้ ในส่วนของภาคประชาชนทุกคนสามารถลงนามในอนุสัญญาฉบับประชาชนเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าประชาชนต้องการให้รัฐบาลต่อต้านระเบิดดาวกระจาย และลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดดาวกระจายในเดือนธันวาคมนี้ ทั้งนี้ทุกคนสามารถลงนามได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.minesactioncanada.org/peoples_treaty/
สำหรับประเทศที่ใช้ระเบิดดาวกระจาย หรือ ระเบิดลูกปราย ระเบิดชุดพ่วง หรือ ระเบิดพวง มีอย่างน้อย 14 ประเทศ ได้แก่ เอทริเทรีย เอธิโอเปีย ฝรั่งเศศ อิสราเอล โมร็อกโก เนเธอร์แลนด์ ไนจีเรีย ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซูดาน ทาจิกิสถาน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา อดีตยูโกสลาเวีย รัสเซีย และล่าสุดรัสเซียได้ใช้ระเบิดดาวกระจายถล่มจอร์เจียเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้มีรายงานว่ามีระเบิดขนาดเล็กอยู่ในคลังของ 76 ประเทศทั่วโลกจำนวนนับพันล้านลูก มี 34 ประเทศที่เป็นประเทศผู้ผลิตระเบิดดาวกระจายจำนวนมากกว่า 210 รุ่นที่แตกต่างกัน และมีหลายประเทศทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากระเบิดดาวกระจาย เช่น อัฟกานิสถาน กัมพูชา โครเอเชีย อิรัก อิสราเอล ลาว เลบานอน เวียดนาม เชชเนีย มอนเตเนโกร เป็นต้น