สถาบันโรคผิวหนังจัดกิจกรรมรับวันสะเก็ดเงินโลก มุ่งให้รู้จักและเข้าใจอย่างถูกต้อง แม้จะเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด ถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ไม่ใช่โรคติดต่อ สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้
วันนี้ (29 ต.ค.) ที่สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ นายแพทย์เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการวันสะเก็ดเงินโลก (World Psoriasis Day) ว่า วันที่ 29 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็นวันสะเก็ดเงินโลกและมีการจัดกิจกรรมในหลายประเทศ
สำหรับประเทศไทยเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับโรคสะเก็ดเงิน สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ จึงได้จัดงานวันสะเก็ดเงินโลกเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคดังกล่าว แม้ว่าโรคสะเก็ดเงินจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด รอยโรคอาจจะดูน่าเกลียดแต่ไม่ใช่โรคติดต่อ ผู้ป่วยสามารถอยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นได้
โรคสะเก็ดเงิน หรือ โรคเรื้อนกวาง (Psoriasis) เป็นโรคผิวหนังชนิดเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการหนาตัวของชั้นหนังกำพร้า พบได้ในทุกเพศทุกวัยแต่จะพบมากในช่วงอายุ 10-30 ปี โรคนี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และสามารถพบได้ทุกแห่งทั่วร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า บริเวณที่พบบ่อย ได้แก่ ศีรษะ ลำตัว แขนขา ข้อศอก หัวเข่า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เล็บมือและเล็บเท้า อาการเป็นมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันในแต่ละคน บางคนเป็น 2-3 จุด แต่บางคนเป็นมากจนลุกลามไปทั่วทั้งตัว ศีรษะเป็นรังแคบางๆ หรือเป็นปื้นหนาเป็นหย่อมๆ เล็บผิดปกติ เล็บล่อนไม่ติดกับผิว หรือหนาขรุขระ
โรคสะเก็ดเงินอาจมีอาการข้ออักเสบและปวดข้อ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรค ในรายที่เป็นมากอาจทำให้ข้อหงิกจนยืดไม่ออก สำหรับการรักษาขึ้นอยู่กับอาการและระยะของโรค ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรปฏิบัติดังนี้ รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ป้องกันการติดเชื้อ เช่น เป็นหวัด เจ็บคอและขณะเป็นโรคต้องรักษาสม่ำเสมอ
นายแพทย์จิโรจ สินธวานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กล่าวเพิ่มเติมว่า สถิติในปี 2548, 2549 และ 2550 มีผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมารับการรักษาที่สถาบันโรคผิวหนังจำนวน 3,024 ราย 2,751 ราย และ 2,291 รายตามลำดับ สำหรับสถิติผู้ป่วยนอก 10 อันดับแรกในปี 2550 พบผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมากเป็นอันดับที่ 6 ในขณะที่สถิติผู้ป่วยในพบผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมากเป็นอันดับหนึ่งใน 5 อันดับแรก
สำหรับการจัดกิจกรรมในวันนี้ เพื่อให้ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไปได้รับความรู้และมีความเข้าใจโรคสะเก็ดเงิน โดยกิจกรรมในช่วงเช้าประกอบด้วยนิทรรศการความรู้เรื่องโรคสะเก็ดเงิน บริการวัดความชุ่มชื้นผิว ให้คำแนะนำปัญหาสุขภาพผิว ปัญหาการใช้ยา ชมวิดีทัศน์ความรู้เรื่องโรคสะเก็ดเงิน ตอบปัญหาชิงรางวัล ช่วงบ่ายมีการบรรยายความรู้เรื่องโรคสะเก็ดเงิน แนวทางการรักษา บทบาทของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินและแพทย์ในประเทศไทย การรักษาทางเลือกและโภชนาการ การดูแลข้อและการรักษาข้อที่เหมาะสม
วันนี้ (29 ต.ค.) ที่สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ นายแพทย์เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการวันสะเก็ดเงินโลก (World Psoriasis Day) ว่า วันที่ 29 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็นวันสะเก็ดเงินโลกและมีการจัดกิจกรรมในหลายประเทศ
สำหรับประเทศไทยเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับโรคสะเก็ดเงิน สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ จึงได้จัดงานวันสะเก็ดเงินโลกเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคดังกล่าว แม้ว่าโรคสะเก็ดเงินจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด รอยโรคอาจจะดูน่าเกลียดแต่ไม่ใช่โรคติดต่อ ผู้ป่วยสามารถอยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นได้
โรคสะเก็ดเงิน หรือ โรคเรื้อนกวาง (Psoriasis) เป็นโรคผิวหนังชนิดเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการหนาตัวของชั้นหนังกำพร้า พบได้ในทุกเพศทุกวัยแต่จะพบมากในช่วงอายุ 10-30 ปี โรคนี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และสามารถพบได้ทุกแห่งทั่วร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า บริเวณที่พบบ่อย ได้แก่ ศีรษะ ลำตัว แขนขา ข้อศอก หัวเข่า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เล็บมือและเล็บเท้า อาการเป็นมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันในแต่ละคน บางคนเป็น 2-3 จุด แต่บางคนเป็นมากจนลุกลามไปทั่วทั้งตัว ศีรษะเป็นรังแคบางๆ หรือเป็นปื้นหนาเป็นหย่อมๆ เล็บผิดปกติ เล็บล่อนไม่ติดกับผิว หรือหนาขรุขระ
โรคสะเก็ดเงินอาจมีอาการข้ออักเสบและปวดข้อ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรค ในรายที่เป็นมากอาจทำให้ข้อหงิกจนยืดไม่ออก สำหรับการรักษาขึ้นอยู่กับอาการและระยะของโรค ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรปฏิบัติดังนี้ รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ป้องกันการติดเชื้อ เช่น เป็นหวัด เจ็บคอและขณะเป็นโรคต้องรักษาสม่ำเสมอ
นายแพทย์จิโรจ สินธวานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กล่าวเพิ่มเติมว่า สถิติในปี 2548, 2549 และ 2550 มีผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมารับการรักษาที่สถาบันโรคผิวหนังจำนวน 3,024 ราย 2,751 ราย และ 2,291 รายตามลำดับ สำหรับสถิติผู้ป่วยนอก 10 อันดับแรกในปี 2550 พบผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมากเป็นอันดับที่ 6 ในขณะที่สถิติผู้ป่วยในพบผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมากเป็นอันดับหนึ่งใน 5 อันดับแรก
สำหรับการจัดกิจกรรมในวันนี้ เพื่อให้ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไปได้รับความรู้และมีความเข้าใจโรคสะเก็ดเงิน โดยกิจกรรมในช่วงเช้าประกอบด้วยนิทรรศการความรู้เรื่องโรคสะเก็ดเงิน บริการวัดความชุ่มชื้นผิว ให้คำแนะนำปัญหาสุขภาพผิว ปัญหาการใช้ยา ชมวิดีทัศน์ความรู้เรื่องโรคสะเก็ดเงิน ตอบปัญหาชิงรางวัล ช่วงบ่ายมีการบรรยายความรู้เรื่องโรคสะเก็ดเงิน แนวทางการรักษา บทบาทของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินและแพทย์ในประเทศไทย การรักษาทางเลือกและโภชนาการ การดูแลข้อและการรักษาข้อที่เหมาะสม