พลังสร้างสรรค์มีอยู่ในสมองของเด็กทุกคน หากไม่ได้รับการส่งเสริมที่ถูกทาง อาจจะทำให้เลือนหายไปอย่างน่าเสียดาย ดังนั้น หลายฝ่ายจึงพยายามจัดกิจกรรมส่งเสริมพลังแห่งการสร้างสรรค์ดีๆ อย่างการจัดประกวดการออกแบบ Azimo Super Idia Contest ประจำปี 2551 ซึ่งนับเป็นการจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แล้ว
เมื่อสัปดาห์ที่สามของเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ที่อุทยานการการเรียนรู้ ทีเค พาร์ค ได้มีการจัดการแถลงข่าวการตัดสินผลการประกวดรอบชิงชนะเลิศ Azimo Super Idia Contest การออกแบบหุ่นยนต์ขึ้น โดยหลังจากการใคร่ครวญของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกว่า 2 ชั่วโมง ก็ได้ผลการประกวดอย่างเป็นทางการ
ทั้งนี้ ผู้ที่เข้ารอบชิงชนะเลิศทั้งหมด 6 คน จะได้มีโอกาสลัดฟ้าไปทัศนศึกษา เยี่ยมดินแดนบ้านเกิดของหุ่นยนต์Azimo ที่ประเทศญี่ปุ่น และผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศทั้งในระดับประถมต้นและประถมปลายจะได้รับพระราชทานโล่รางวัลจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
และเมื่อผลการตัดสินของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิออกมา ปรากฏว่า เจ้าของไอเดียสุดเจ๋ง ที่ออกแบบหุ่นยนต์ได้ถูกใจคณะกรรมการที่สุดจากระดับประถมต้น ได้แก่ “น้องภีม” - ด.ช.รัชตะ ชาตบุตร นักเรียนชั้น ป.3 จากโรงเรียนดรุณสิกขาลัย และแชมป์ในระดับประถมปลายคือ “น้องเจมส์” - ด.ช.จิรัฏฐ์ บุญจูง นักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนสาธิต มศว
โดยผลงานที่น้องภีมส่งเข้าประกวด คือ “เรือดำน้ำขนส่งมวลชน” ที่เป็นจินตนาการแก้ไขปัญหารถติดของนักประดิษฐ์รุ่นจิ๋วรายนี้
“รถติดมากครับทุกวันนี้ ผมไปโรงเรียนแต่เช้า ออกจากบ้านตีห้า ก็ยังถึงโรงเรียนเจ็ดโมงห้าสิบห้า รถเยอะมาก บางทีผมก็เบื่อเหมือนกันเวลานั่งอยู่ในรถนานๆ อยู่มาวันหนึ่ง ผมไปเที่ยวที่ทำงานของคุณพ่อ ด้านหลังที่ทำงานของคุณพ่อมันมีท่อน้ำทิ้ง ซึ่งผมคิดว่ามันน่าจะเป็นท่อที่เชื่อมโยงกันได้ทุกท่อใต้กรุงเทพฯ มันเลยกลายเป็นไอเดียที่มาของเรือดำน้ำลำนี้”
น้องภีม อธิบายการทำงานของเรือดำน้ำ ขสมก.ของเขา ว่า มันเป็นเรือดำน้ำที่ทำหน้าที่เหมือนรถประจำทางที่คนกรุงจำต้องแออัดยัดเยียดขึ้นทุกวัน ผิดกันตรงที่ช่องทางการจราจร ที่เรือดำน้ำของเขาจะเลือกใช้ท่อระบายน้ำในกรุงเทพฯทั้งหมด แทนถนนที่มีรถติดอยู่ตลอดเวลาทั้งเช้าสายบ่ายเย็น
ด้าน น้องเจมส์ ก็พูดถึงผลงานของตัวเองว่า ได้แรงบันดาลใจจากความทุกข์ยากของพี่น้องทั่วโลกที่เดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ เขาจึงคิดประดิษฐ์ “บ้าน UFO” ป้องกันภัยธรรมชาติขึ้น
“ผมเห็นทั่วโลกมีแต่ภัยพิบัติ บ้านเราก็มีสึนามิ พม่าเขาโดนนาร์กิส ทางอเมริกาก็โดนพายุถล่มหลายรัฐ อย่างเฮอริเคนแคทธาลีนา แล้วพอมีภัยพิบัติก็บ้านพัง ไม่มีที่อยู่อาศัย เห็นแล้วรู้สึกว่าพวกเขาต้องลำบากมากและน่าสงสารมากครับ”
น้องเจมส์ อธิบายถึงการทำงานของหุ่นยนต์บ้าน UFO ป้องกันภัยธรรมชาติต่อไปว่า เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติตามธรรมชาติใดๆ ก็ตาม บ้านจะยุบตัวจากบนลงล่างและล่างขึ้นบน ปิดแกนกลางที่เป็นตัวบ้าน และบ้านจะกลายเป็นทรงกลม ทำให้ภัยธรรมชาติเข้าไม่ถึงในตัวบ้าน โดยเกราะด้านนอกจะเป็นตัวลดแรงปะทะ เมื่อภัยธรรมชาติผ่านไปแล้ว ตัวบ้านถึงเปิดยืดขึ้นอีกครั้ง เป็นเช่นนี้ผู้คนในพื้นที่ประสบภัยมีที่อยู่อาศัยและไม่ลำบากมากนัก
ด้านดร.ชิต เหล่าวัฒนา อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) ในฐานะคณะกรรมการผู้ตัดสิน กล่าวว่า เด็กและเยาวชนไทย มีข้อได้เปรียบกว่าเด็กจากประเทศชั้นนำอื่นๆ ตรงที่ เด็กไทยจะใส่ใจปัญหารอบตัว ปัญหาที่กระทบต่อคนหมู่มาก และพยายามใช้ความสามารถคิดค้นเครื่องมือช่วยเหลือและแก้ปัญหาเหล่านั้น ในขณะที่เด็กจากญี่ปุ่นหรืออเมริกาส่วนใหญ่จะสนใจในเรื่องของอวกาศ ซึ่งนับเป็นข้อดีและข้อได้เปรียบของเด็กไทย
เมื่อสัปดาห์ที่สามของเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ที่อุทยานการการเรียนรู้ ทีเค พาร์ค ได้มีการจัดการแถลงข่าวการตัดสินผลการประกวดรอบชิงชนะเลิศ Azimo Super Idia Contest การออกแบบหุ่นยนต์ขึ้น โดยหลังจากการใคร่ครวญของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกว่า 2 ชั่วโมง ก็ได้ผลการประกวดอย่างเป็นทางการ
ทั้งนี้ ผู้ที่เข้ารอบชิงชนะเลิศทั้งหมด 6 คน จะได้มีโอกาสลัดฟ้าไปทัศนศึกษา เยี่ยมดินแดนบ้านเกิดของหุ่นยนต์Azimo ที่ประเทศญี่ปุ่น และผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศทั้งในระดับประถมต้นและประถมปลายจะได้รับพระราชทานโล่รางวัลจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
และเมื่อผลการตัดสินของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิออกมา ปรากฏว่า เจ้าของไอเดียสุดเจ๋ง ที่ออกแบบหุ่นยนต์ได้ถูกใจคณะกรรมการที่สุดจากระดับประถมต้น ได้แก่ “น้องภีม” - ด.ช.รัชตะ ชาตบุตร นักเรียนชั้น ป.3 จากโรงเรียนดรุณสิกขาลัย และแชมป์ในระดับประถมปลายคือ “น้องเจมส์” - ด.ช.จิรัฏฐ์ บุญจูง นักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนสาธิต มศว
โดยผลงานที่น้องภีมส่งเข้าประกวด คือ “เรือดำน้ำขนส่งมวลชน” ที่เป็นจินตนาการแก้ไขปัญหารถติดของนักประดิษฐ์รุ่นจิ๋วรายนี้
“รถติดมากครับทุกวันนี้ ผมไปโรงเรียนแต่เช้า ออกจากบ้านตีห้า ก็ยังถึงโรงเรียนเจ็ดโมงห้าสิบห้า รถเยอะมาก บางทีผมก็เบื่อเหมือนกันเวลานั่งอยู่ในรถนานๆ อยู่มาวันหนึ่ง ผมไปเที่ยวที่ทำงานของคุณพ่อ ด้านหลังที่ทำงานของคุณพ่อมันมีท่อน้ำทิ้ง ซึ่งผมคิดว่ามันน่าจะเป็นท่อที่เชื่อมโยงกันได้ทุกท่อใต้กรุงเทพฯ มันเลยกลายเป็นไอเดียที่มาของเรือดำน้ำลำนี้”
น้องภีม อธิบายการทำงานของเรือดำน้ำ ขสมก.ของเขา ว่า มันเป็นเรือดำน้ำที่ทำหน้าที่เหมือนรถประจำทางที่คนกรุงจำต้องแออัดยัดเยียดขึ้นทุกวัน ผิดกันตรงที่ช่องทางการจราจร ที่เรือดำน้ำของเขาจะเลือกใช้ท่อระบายน้ำในกรุงเทพฯทั้งหมด แทนถนนที่มีรถติดอยู่ตลอดเวลาทั้งเช้าสายบ่ายเย็น
ด้าน น้องเจมส์ ก็พูดถึงผลงานของตัวเองว่า ได้แรงบันดาลใจจากความทุกข์ยากของพี่น้องทั่วโลกที่เดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ เขาจึงคิดประดิษฐ์ “บ้าน UFO” ป้องกันภัยธรรมชาติขึ้น
“ผมเห็นทั่วโลกมีแต่ภัยพิบัติ บ้านเราก็มีสึนามิ พม่าเขาโดนนาร์กิส ทางอเมริกาก็โดนพายุถล่มหลายรัฐ อย่างเฮอริเคนแคทธาลีนา แล้วพอมีภัยพิบัติก็บ้านพัง ไม่มีที่อยู่อาศัย เห็นแล้วรู้สึกว่าพวกเขาต้องลำบากมากและน่าสงสารมากครับ”
น้องเจมส์ อธิบายถึงการทำงานของหุ่นยนต์บ้าน UFO ป้องกันภัยธรรมชาติต่อไปว่า เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติตามธรรมชาติใดๆ ก็ตาม บ้านจะยุบตัวจากบนลงล่างและล่างขึ้นบน ปิดแกนกลางที่เป็นตัวบ้าน และบ้านจะกลายเป็นทรงกลม ทำให้ภัยธรรมชาติเข้าไม่ถึงในตัวบ้าน โดยเกราะด้านนอกจะเป็นตัวลดแรงปะทะ เมื่อภัยธรรมชาติผ่านไปแล้ว ตัวบ้านถึงเปิดยืดขึ้นอีกครั้ง เป็นเช่นนี้ผู้คนในพื้นที่ประสบภัยมีที่อยู่อาศัยและไม่ลำบากมากนัก
ด้านดร.ชิต เหล่าวัฒนา อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) ในฐานะคณะกรรมการผู้ตัดสิน กล่าวว่า เด็กและเยาวชนไทย มีข้อได้เปรียบกว่าเด็กจากประเทศชั้นนำอื่นๆ ตรงที่ เด็กไทยจะใส่ใจปัญหารอบตัว ปัญหาที่กระทบต่อคนหมู่มาก และพยายามใช้ความสามารถคิดค้นเครื่องมือช่วยเหลือและแก้ปัญหาเหล่านั้น ในขณะที่เด็กจากญี่ปุ่นหรืออเมริกาส่วนใหญ่จะสนใจในเรื่องของอวกาศ ซึ่งนับเป็นข้อดีและข้อได้เปรียบของเด็กไทย