อย.เก็บไข่ไก่ในประเทศตรวจสอบหาสารเมลามีน เชื่อไม่น่ามีปัญหามากเพราะไทยไม่ได้นำเข้าไข่ไก่ พร้อมประสานปศุสัตว์ตรวจเข้มเมลามีนปนเปื้อนอาหารสัตว์
วันนี้ (27 ต.ค.) นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า กรณีที่ฮ่องกงตรวจพบการปนเปื้อนของสารเมลามีนในไข่ไก่นั้น อาจเกิดจากมีการปนเปื้อนสารเมลามีนในอาหารสัตว์ เช่น ปลาป่น กากถั่วเหลือง หรืออาจจะปลอมปนสารเมลามีนเพื่อให้ในอาการสัตว์มีโปรตีนสูงขึ้น คล้ายกับการปนเปื้อนในนม อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทย ไม่น่ามีปัญหามากนัก และเปอร์เซ็นต์ที่จะมีการปนเปื้อนในไข่ไก่น่าจะไม่สูง แต่เพื่อความสบายใจ อย.จะเก็บผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ในประเทศมาตรวจสอบด้วย
“ขณะนี้ได้หารือกับอธิบดีกรมปศุสัตว์ให้มีการเฝ้าระวังการปนเปื้อนสารเมลามีนในอาหารสัตว์หลายชนิดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ได้เฝ้าระวังเมลามีนในอาหารสัตว์มานานหลานเดือนก่อนที่จะมีการเฝ้าระวังสารเมลามีในอาหารคนด้วยซ้ำ แต่ไม่อยากให้ประมาทและไม่อยากให้ตื่นตระหนก อย่าวิตกมาก จนกระทั่งไม่บริโภคกัน ส่วนไข่ผงนั้น ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยนำเข้ามาจำนวนน้อยมาก เพราะโรงงานผลิตไข่ผงในประเทศมีจำนวนที่เพียงพอ” นพ.พิพัฒน์ กล่าว
นพ.พิพัฒน์ กล่าวต่อว่า การที่ไก่กินอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเมลามีนเข้าไป ตามหลักการมีความเป็นได้ที่จะไปผสมอยู่ในอวัยวะต่างๆ ของไก่ รวมทั้งไข่ไก่ โดยดูดซึมข้าไปและขับถ่ายออกมา และอาจเข้าไปในกระแสเลือดและผ่านเข้าไปในไข่ไก่ แต่ไก่จะต้องได้รับสารเมลามีนในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบว่าปริมาณสารเมลามีนที่ปนเปื้อนในอาหารสัตว์เปอร์เซ็นต์สูงมากเพียงใด
“อย.ไม่หนักใจแม้จะมีการตรวจพบการปนเปื้อนเมลามีนในสินค้าชนิดต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อย.สามารถควบคุมได้ ซึ่งการที่ประเทศจีนตรวจเจอเมลามีนในผลิตภัณฑ์หลายๆ อย่าง เพราะเขาสั่งนำเข้าอาหารเข้าไป แต่ประเทศไทย เป็นเมืองเกษตรกรรม เป็นครัวโลก ที่ส่งอาหารออกนอกประเทศมีการนำเข้าปริมาณน้อยมาก มีเฉพาะนมอย่างเดียวที่เป็นปัญหา เพราะการผลิตยังไม่พอเพียงต่อการบริโภคในประเทศ ส่วยสินค้าเกษตรอื่นๆ เราส่งออกไม่ได้นำเข้า เพราะฉะนั้นเพียงระวังต้นทางอย่าให้มีการปนเปื้อนปลอมปนสารเมลามีนในอาหารสัตว์”นพ.พิพัฒน์กล่าว
นพ.พิพัฒน์ กล่าวอีกว่า ส่วนผลิตภัณฑ์เมียวโจและนิสชินที่มีการตรวจพบการปนเปื้อนของยาไล่แมลงว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีการตรวจพบอยู่ในล็อตใดของการผลิต จะได้ทำงานเฝ้าระวังได้ง่ายขึ้น และตนไม่อยากสันนิษฐานว่าเกิดการปนเปื้อนได้อย่างไร เพราะมีหลายสาเหตุ จึงต้องรอให้ประเทศญี่ปุ่นสรุปผลการตรวจสอบก่อน
วันนี้ (27 ต.ค.) นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า กรณีที่ฮ่องกงตรวจพบการปนเปื้อนของสารเมลามีนในไข่ไก่นั้น อาจเกิดจากมีการปนเปื้อนสารเมลามีนในอาหารสัตว์ เช่น ปลาป่น กากถั่วเหลือง หรืออาจจะปลอมปนสารเมลามีนเพื่อให้ในอาการสัตว์มีโปรตีนสูงขึ้น คล้ายกับการปนเปื้อนในนม อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทย ไม่น่ามีปัญหามากนัก และเปอร์เซ็นต์ที่จะมีการปนเปื้อนในไข่ไก่น่าจะไม่สูง แต่เพื่อความสบายใจ อย.จะเก็บผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ในประเทศมาตรวจสอบด้วย
“ขณะนี้ได้หารือกับอธิบดีกรมปศุสัตว์ให้มีการเฝ้าระวังการปนเปื้อนสารเมลามีนในอาหารสัตว์หลายชนิดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ได้เฝ้าระวังเมลามีนในอาหารสัตว์มานานหลานเดือนก่อนที่จะมีการเฝ้าระวังสารเมลามีในอาหารคนด้วยซ้ำ แต่ไม่อยากให้ประมาทและไม่อยากให้ตื่นตระหนก อย่าวิตกมาก จนกระทั่งไม่บริโภคกัน ส่วนไข่ผงนั้น ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยนำเข้ามาจำนวนน้อยมาก เพราะโรงงานผลิตไข่ผงในประเทศมีจำนวนที่เพียงพอ” นพ.พิพัฒน์ กล่าว
นพ.พิพัฒน์ กล่าวต่อว่า การที่ไก่กินอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเมลามีนเข้าไป ตามหลักการมีความเป็นได้ที่จะไปผสมอยู่ในอวัยวะต่างๆ ของไก่ รวมทั้งไข่ไก่ โดยดูดซึมข้าไปและขับถ่ายออกมา และอาจเข้าไปในกระแสเลือดและผ่านเข้าไปในไข่ไก่ แต่ไก่จะต้องได้รับสารเมลามีนในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบว่าปริมาณสารเมลามีนที่ปนเปื้อนในอาหารสัตว์เปอร์เซ็นต์สูงมากเพียงใด
“อย.ไม่หนักใจแม้จะมีการตรวจพบการปนเปื้อนเมลามีนในสินค้าชนิดต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อย.สามารถควบคุมได้ ซึ่งการที่ประเทศจีนตรวจเจอเมลามีนในผลิตภัณฑ์หลายๆ อย่าง เพราะเขาสั่งนำเข้าอาหารเข้าไป แต่ประเทศไทย เป็นเมืองเกษตรกรรม เป็นครัวโลก ที่ส่งอาหารออกนอกประเทศมีการนำเข้าปริมาณน้อยมาก มีเฉพาะนมอย่างเดียวที่เป็นปัญหา เพราะการผลิตยังไม่พอเพียงต่อการบริโภคในประเทศ ส่วยสินค้าเกษตรอื่นๆ เราส่งออกไม่ได้นำเข้า เพราะฉะนั้นเพียงระวังต้นทางอย่าให้มีการปนเปื้อนปลอมปนสารเมลามีนในอาหารสัตว์”นพ.พิพัฒน์กล่าว
นพ.พิพัฒน์ กล่าวอีกว่า ส่วนผลิตภัณฑ์เมียวโจและนิสชินที่มีการตรวจพบการปนเปื้อนของยาไล่แมลงว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีการตรวจพบอยู่ในล็อตใดของการผลิต จะได้ทำงานเฝ้าระวังได้ง่ายขึ้น และตนไม่อยากสันนิษฐานว่าเกิดการปนเปื้อนได้อย่างไร เพราะมีหลายสาเหตุ จึงต้องรอให้ประเทศญี่ปุ่นสรุปผลการตรวจสอบก่อน