กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แนะผู้เสียหายจากเหตุสลายการชุมนุมนำผลสอบของกรรมการสิทธิฯ ที่จะเปิดเผยเป็นระยะ ฟ้องต่อศาลยุติธรรม ไม่ต้องรอผลสรุป เตรียมเชิญผู้เกี่ยวข้องฟากรัฐบาลให้ข้อมูล ใครเป็นผู้บัญชาการแผนสลายการชุมนุม 7 ต.ค.ระบุ ส.ส.พปช.ฟ้องเอาผิดผู้ชุมนุมแค่แก้เกม แต่ยิ่งทำให้เพลี่ยงพล้ำ
นางสุนี ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจการใช้แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ที่ผ่านมา ว่า กรรมการสิทธิฯ พยายามให้สื่อได้ร่วมตรวจสอบการทำงานของกรรมการสิทธิฯ และพยายามจะหาข้อสรุปให้เร็วที่สุด แต่ในการสอบสวนจะต้องใช้เวลา
ขณะนี้ได้ระดมเจ้าหน้าที่สำนักงาน รวบรวมข้อมูลประกอบให้ได้มากที่สุด และเตรียมเชิญผู้บริหารระดับสูง ซึ่งอาจเป็นนายกรัฐมนตรี หรือคนของรัฐบาลที่มีหลักฐานไปถึงว่าเกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ซึ่งจะต้องขอทราบว่า แผนการดำเนินการของรัฐบาลในการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม เป็นอย่างไร ใครเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ หรือดูแลผู้ชุมนุมทั้งหมดในจุดใดเป็นใครบ้าง และมีการสั่งการให้สลายการชุมนุมอย่างไร ขั้นตอนอย่างไรบ้าง
นางสุนี กล่าวอีกว่า การทำงานของกรรมการสิทธิฯ แบ่งเป็น 1.การทำความจริงให้ปรากฏ ซึ่งบางส่วนก็ทยอยเปิดเผยสู่สังคมแล้ว 2.การบันทึกข้อมูลไว้เพื่อเป็นแบบอย่าง หรือแนวทางในการป้องกันว่า เมื่อมีการชุมนุมต้องทำอย่างไร และ 3.อำนาจหน้าที่ของกรรมการสิทธิฯ ขณะนี้ มีอำนาจในการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง แต่ยังไม่มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมได้ ซึ่งตอนนี้คงยังไม่อยากบอกว่าจะฟ้องใครหรือไม่อย่างไร เพราะไม่อยากให้เป็นการตั้งธงไว้ก่อน
“กรรมการสิทธิฯ พยายามรายงานผลการตรวจสอบของกรรมการสิทธิฯ เป็นระยะเพื่อให้ผู้เสียหายไปยื่นฟ้องศาลยุติธรรมเองได้ด้วย ซึ่งจะสามารถนำผลสอบของกรรมการสิทธิฯ ไปดำเนินการฟ้องได้ก่อน อย่างไรก็ตาม ในวันพฤหัสบดีที่ 16 ต.ค.นี้ กรรมการสิทธิฯ มีวาระประชุมติดตามความคืบหน้าในการตรวจสอบเรื่องนี้” นางสุนี กล่าว
ต่อข้อถามว่า ขณะที่การช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนยังไม่ชัดเจน แต่วันนี้ ส.ส.พรรคพลังประชาชนไปแจ้งความเอาผิดกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนฯ ซึ่งรวมถึงผู้บาดเจ็บในเหตุการณ์ 7 ตุลาคมแล้ว นางสุนี กล่าวว่า การแจ้งความของ ส.ส.พลังประชาชน เป็นการฟ้องแก้เกม ซึ่งอาจยิ่งทำให้เพลี่ยงพล้ำได้ และแสดงให้เห็นว่าไม่คิดที่จะแก้ปัญหาและปัญหาจะยิ่งบานปลาย
นางสุนี ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจการใช้แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ที่ผ่านมา ว่า กรรมการสิทธิฯ พยายามให้สื่อได้ร่วมตรวจสอบการทำงานของกรรมการสิทธิฯ และพยายามจะหาข้อสรุปให้เร็วที่สุด แต่ในการสอบสวนจะต้องใช้เวลา
ขณะนี้ได้ระดมเจ้าหน้าที่สำนักงาน รวบรวมข้อมูลประกอบให้ได้มากที่สุด และเตรียมเชิญผู้บริหารระดับสูง ซึ่งอาจเป็นนายกรัฐมนตรี หรือคนของรัฐบาลที่มีหลักฐานไปถึงว่าเกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ซึ่งจะต้องขอทราบว่า แผนการดำเนินการของรัฐบาลในการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม เป็นอย่างไร ใครเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ หรือดูแลผู้ชุมนุมทั้งหมดในจุดใดเป็นใครบ้าง และมีการสั่งการให้สลายการชุมนุมอย่างไร ขั้นตอนอย่างไรบ้าง
นางสุนี กล่าวอีกว่า การทำงานของกรรมการสิทธิฯ แบ่งเป็น 1.การทำความจริงให้ปรากฏ ซึ่งบางส่วนก็ทยอยเปิดเผยสู่สังคมแล้ว 2.การบันทึกข้อมูลไว้เพื่อเป็นแบบอย่าง หรือแนวทางในการป้องกันว่า เมื่อมีการชุมนุมต้องทำอย่างไร และ 3.อำนาจหน้าที่ของกรรมการสิทธิฯ ขณะนี้ มีอำนาจในการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง แต่ยังไม่มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมได้ ซึ่งตอนนี้คงยังไม่อยากบอกว่าจะฟ้องใครหรือไม่อย่างไร เพราะไม่อยากให้เป็นการตั้งธงไว้ก่อน
“กรรมการสิทธิฯ พยายามรายงานผลการตรวจสอบของกรรมการสิทธิฯ เป็นระยะเพื่อให้ผู้เสียหายไปยื่นฟ้องศาลยุติธรรมเองได้ด้วย ซึ่งจะสามารถนำผลสอบของกรรมการสิทธิฯ ไปดำเนินการฟ้องได้ก่อน อย่างไรก็ตาม ในวันพฤหัสบดีที่ 16 ต.ค.นี้ กรรมการสิทธิฯ มีวาระประชุมติดตามความคืบหน้าในการตรวจสอบเรื่องนี้” นางสุนี กล่าว
ต่อข้อถามว่า ขณะที่การช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนยังไม่ชัดเจน แต่วันนี้ ส.ส.พรรคพลังประชาชนไปแจ้งความเอาผิดกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนฯ ซึ่งรวมถึงผู้บาดเจ็บในเหตุการณ์ 7 ตุลาคมแล้ว นางสุนี กล่าวว่า การแจ้งความของ ส.ส.พลังประชาชน เป็นการฟ้องแก้เกม ซึ่งอาจยิ่งทำให้เพลี่ยงพล้ำได้ และแสดงให้เห็นว่าไม่คิดที่จะแก้ปัญหาและปัญหาจะยิ่งบานปลาย