คณะอนุกรรมการวิสามัญเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายและระบบบริหารงานบุคคล ก.ค.ศ.เสนอเลื่อนใช้เกณฑ์ใหม่ประเมินวิทยฐานะข้าราชการครู หลังพบมีปัญหาหลายประเด็น และขัดต่อ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อาจส่งผลลิดรอนสิทธิ์ครู เตรียมเสนอ “ศรีเมือง” ในที่ประชุม ก.ค.ศ.
ดร.ทองอยู่ แก้วไทรฮะ ประธานคณะอนุกรรมการวิสามัญเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายและระบบบริหารงานบุคคล คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า จากการพิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์ใหม่ พบว่า มีปัญหาในหลายประเด็น อาทิ การเลื่อนวิทยฐานะกรณีพิเศษ ซึ่งสามารถขอข้ามวิทยฐานะได้ จะทำให้มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ใช้ช่องนี้ไม่ผ่านกระบวนการพัฒนาก่อนการแต่งตั้ง และจะขัดต่อ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งกำหนดว่าในการแต่งตั้ง จะต้องมีการพัฒนาก่อน นอกจากนี้ ในการกำหนดคุณสมบัติสำหรับวิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการ ที่ได้ปรับระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่ก.ค.ศ.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี เป็นไม่น้อยกว่า 2 ปี และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับวิทยฐานะชำนาญการพิเศษทุกตำแหน่งที่ได้ปรับระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งที่มีวิทยฐานะชำนาญการมาไม่น้อยกว่า 1 ปี เป็นไม่น้อยกว่า 2 ปี อาจจะเป็นการลิดรอนสิทธิ์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในการขอให้มีและเลื่อนวิทยฐานะที่มีอยู่เดิมและจะทำให้เส้นทางความก้าวหน้าของครูช้าลงเมื่อเทียบกับตำแหน่งทางวิชาการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งอาจถูกฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้
ดร.ทองอยู่ กล่าวต่อไปว่า ในหลักเกณฑ์ใหม่ยังมีความไม่ชัดเจนในเรื่องตำแหน่งของผู้ขอรับการประเมิน อาทิ คุณสมบัติของผู้ขอรับการประเมินให้มีวิทยฐานะครูชำนาญการจะต้องดำรงตำแหน่งครูหรือเคยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่ในการสอนหรือปฏิบัติหน้าที่สอนในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชนรวมกันไม่น้อยกว่า 6 ปี หมายความว่า หากมีประสบการณ์สอนในสถานศึกษาเอกชน 4 ปี และได้รับการบรรจุในตำแหน่งครูผู้ช่วย 2 ปี เมื่อได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู 1 วัน ก็สามารถขอให้มีวิทยฐานะชำนาญการได้ใช่หรือไม่ และใครจะเป็นผู้รับรองการปฏิบัติหน้าที่สอนในสถานศึกษาเอกชน เป็นต้น
“ที่ประชุมเห็นว่า หลักเกณฑ์ใหม่ยังมีส่วนที่ขัดแย้งกับหลักการใหญ่ใน พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งในการทำหลักเกณฑ์ต้องคล้อยตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครู ไม่ใช่แก้ไข พ.ร.บ.ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใหม่ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเห็นว่าในกรณีที่สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้มีหนังสือเวียนแจ้งให้หน่วยราชการชะลอการใช้หลักเกณฑ์ใหม่ตามที่ ก.ค.ศ.เคยมีหนังสือแจ้งว่าขอให้เริ่มขอรับการประเมินวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์ใหม่ในวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมานั้น ควรเสนอให้ที่ประชุม ก.ค.ศ.ซึ่งมี นายศรีเมือง เจริญศิริ รมว.ศธ.เป็นประธาน พิจารณาเลื่อนการใช้หลักเกณฑ์ใหม่ออกไปแทนการชะลอเพราะการชะลอ ไม่รู้ว่าจะชะลอไปถึงเมื่อไหร่ซึ่งจะทำให้ข้าราชการครูฯ ที่มีคุณสมบัติครบเสียโอกาส แต่ถ้าใช้คำว่าเลื่อน ก็ยังสามารถขอรับการประเมินตามหลักเกณฑ์เดิม” ดร.ทองอยู่ กล่าว
ดร.ทองอยู่ แก้วไทรฮะ ประธานคณะอนุกรรมการวิสามัญเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายและระบบบริหารงานบุคคล คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า จากการพิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์ใหม่ พบว่า มีปัญหาในหลายประเด็น อาทิ การเลื่อนวิทยฐานะกรณีพิเศษ ซึ่งสามารถขอข้ามวิทยฐานะได้ จะทำให้มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ใช้ช่องนี้ไม่ผ่านกระบวนการพัฒนาก่อนการแต่งตั้ง และจะขัดต่อ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งกำหนดว่าในการแต่งตั้ง จะต้องมีการพัฒนาก่อน นอกจากนี้ ในการกำหนดคุณสมบัติสำหรับวิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการ ที่ได้ปรับระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่ก.ค.ศ.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี เป็นไม่น้อยกว่า 2 ปี และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับวิทยฐานะชำนาญการพิเศษทุกตำแหน่งที่ได้ปรับระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งที่มีวิทยฐานะชำนาญการมาไม่น้อยกว่า 1 ปี เป็นไม่น้อยกว่า 2 ปี อาจจะเป็นการลิดรอนสิทธิ์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในการขอให้มีและเลื่อนวิทยฐานะที่มีอยู่เดิมและจะทำให้เส้นทางความก้าวหน้าของครูช้าลงเมื่อเทียบกับตำแหน่งทางวิชาการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งอาจถูกฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้
ดร.ทองอยู่ กล่าวต่อไปว่า ในหลักเกณฑ์ใหม่ยังมีความไม่ชัดเจนในเรื่องตำแหน่งของผู้ขอรับการประเมิน อาทิ คุณสมบัติของผู้ขอรับการประเมินให้มีวิทยฐานะครูชำนาญการจะต้องดำรงตำแหน่งครูหรือเคยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่ในการสอนหรือปฏิบัติหน้าที่สอนในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชนรวมกันไม่น้อยกว่า 6 ปี หมายความว่า หากมีประสบการณ์สอนในสถานศึกษาเอกชน 4 ปี และได้รับการบรรจุในตำแหน่งครูผู้ช่วย 2 ปี เมื่อได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู 1 วัน ก็สามารถขอให้มีวิทยฐานะชำนาญการได้ใช่หรือไม่ และใครจะเป็นผู้รับรองการปฏิบัติหน้าที่สอนในสถานศึกษาเอกชน เป็นต้น
“ที่ประชุมเห็นว่า หลักเกณฑ์ใหม่ยังมีส่วนที่ขัดแย้งกับหลักการใหญ่ใน พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งในการทำหลักเกณฑ์ต้องคล้อยตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครู ไม่ใช่แก้ไข พ.ร.บ.ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใหม่ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเห็นว่าในกรณีที่สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้มีหนังสือเวียนแจ้งให้หน่วยราชการชะลอการใช้หลักเกณฑ์ใหม่ตามที่ ก.ค.ศ.เคยมีหนังสือแจ้งว่าขอให้เริ่มขอรับการประเมินวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์ใหม่ในวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมานั้น ควรเสนอให้ที่ประชุม ก.ค.ศ.ซึ่งมี นายศรีเมือง เจริญศิริ รมว.ศธ.เป็นประธาน พิจารณาเลื่อนการใช้หลักเกณฑ์ใหม่ออกไปแทนการชะลอเพราะการชะลอ ไม่รู้ว่าจะชะลอไปถึงเมื่อไหร่ซึ่งจะทำให้ข้าราชการครูฯ ที่มีคุณสมบัติครบเสียโอกาส แต่ถ้าใช้คำว่าเลื่อน ก็ยังสามารถขอรับการประเมินตามหลักเกณฑ์เดิม” ดร.ทองอยู่ กล่าว