ปลัด ศธ.กำชับแพทย์ พยาบาลสวมชูชีพทุกครั้งที่ออกปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหยื่อน้ำท่วม เผยชาวบ้านรักษาโรคน้ำกัดเท้าสูงสุด พบผู้ประสบภัยมีอาการเครียดกว่าพันรายแล้ว
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมคณะเดินทางไปมอบเสื้อชูชีพจำนวน 50 ตัว ให้แก่ทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งออกปฏิบัติงานหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่วัดท่าแค ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี โดยกำชับให้แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ใส่เสื้อชูชีพทุกครั้งขณะออกเรือให้บริการในพื้นที่น้ำท่วม เพื่อความปลอดภัย
นอกจากนี้ยังแนะให้เลือกใส่เสื้อที่พอดีตัว หลังใช้งานให้ทำความสะอาด ผึ่งให้แห้งเพื่อยืดอายุการใช้งาน ส่วนในรอบ 11 วัน (11-22 ก.ย.) สธ.ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ออกให้บริการประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 21 จังหวัด จำนวน 863 หน่วย มีผู้เจ็บป่วยมารับบริการรวม 152,761 ราย เพิ่มขึ้นวันละกว่า 20,000 ราย
โรคที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ โรคน้ำกัดเท้า 20,247 ราย ไข้หวัด 16,902 ราย ผื่นคัน 8,270 ราย ปวดเมื่อย 5,085 ราย และมีความเครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ 1,024 ราย ซึ่งอาการไม่รุนแรง ไม่ถึงขั้นต้องรับรักษาตัวในโรงพยาบาล ทุกรายอยู่ในความดูแลของจิตแพทย์ นักจิตวิทยาอย่างใกล้ชิด
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมคณะเดินทางไปมอบเสื้อชูชีพจำนวน 50 ตัว ให้แก่ทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งออกปฏิบัติงานหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่วัดท่าแค ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี โดยกำชับให้แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ใส่เสื้อชูชีพทุกครั้งขณะออกเรือให้บริการในพื้นที่น้ำท่วม เพื่อความปลอดภัย
นอกจากนี้ยังแนะให้เลือกใส่เสื้อที่พอดีตัว หลังใช้งานให้ทำความสะอาด ผึ่งให้แห้งเพื่อยืดอายุการใช้งาน ส่วนในรอบ 11 วัน (11-22 ก.ย.) สธ.ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ออกให้บริการประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 21 จังหวัด จำนวน 863 หน่วย มีผู้เจ็บป่วยมารับบริการรวม 152,761 ราย เพิ่มขึ้นวันละกว่า 20,000 ราย
โรคที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ โรคน้ำกัดเท้า 20,247 ราย ไข้หวัด 16,902 ราย ผื่นคัน 8,270 ราย ปวดเมื่อย 5,085 ราย และมีความเครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ 1,024 ราย ซึ่งอาการไม่รุนแรง ไม่ถึงขั้นต้องรับรักษาตัวในโรงพยาบาล ทุกรายอยู่ในความดูแลของจิตแพทย์ นักจิตวิทยาอย่างใกล้ชิด