สธ.เตรียมแผนรับมือน้ำท่วมขังระยะยาว เพิ่มกำลังผลิตยารักษาโรค น้ำกัดเท้าเพิ่มเป็นวันละ 4 หมื่นตลับ ให้องค์การเภสัชกรรมผลิตยาสามัญประจำบ้าน ยาชุดน้ำท่วมสำรองอีก 2 แสนชุด รองเท้าบู้ทป้องกันฉี่หนู 4 หมื่นคู่ ในรอบ 10 วันมานี้ มีผู้เจ็บป่วยแล้ว 130,503 ราย เสียชีวิต 14 ราย
วันนี้ (22 ก.ย.) นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค และนายแพทย์สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการผู้อำนวยการศูนย์นเรนทร ตรวจเยี่ยมน้ำท่วมที่จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก และ ปราจีนบุรี เพื่อติดตามการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไม่ให้เจ็บป่วยซ้ำเติมจากโรคที่มากับน้ำท่วม
นายแพทย์ปราชญ์ กล่าวว่า จากการประเมินสถานการณ์น้ำท่วม ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา สถานการณ์ขณะนี้ไม่รุนแรง ลักษณะเป็นน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะที่ อ.พนมสารคาม คาดว่า จะอยู่ประมาณ 1 เดือน ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่บริการทุกวัน พบผู้ป่วยประมาณ 2,000 ราย อาการไม่รุนแรง ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ไม่มีโรคระบาด ส่วนที่จังหวัดปราจีนบุรี ระดับน้ำท่วมสูงที่อำเภอศรีมหาโพธิ์ เฉพาะสถานีอนามัยท่าตูมระดับน้ำสูงประมาณ 1 เมตร ได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้การดูแลผู้ประสบภัยทุกคนอย่างเต็มที่ และทั่วถึง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย เพื่อไม่ให้ผู้ประสบภัยถูกซ้ำเติมจากการเจ็บป่วย
“ปัญหาที่จะต้องรับมือช่วงหลังจากนี้ไป คือ เรื่องของน้ำกัดเท้า เพราะน้ำเน่าเสียมากขึ้น รวมทั้งปัญหาไข้หวัด จากน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน คาดประชาชนจะเจ็บป่วยเพิ่มมากขึ้น ได้สั่งการให้โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ผลิตยารักษาโรคน้ำกัดเท้าเพิ่มจากวันละ 20,000 ตลับ เป็น 40,000 ตลับ และให้องค์การเภสัชกรรมผลิตยาสามัญประจำบ้าน ยาชุดช่วยเหลือผู้ประสบภัยสำรองไว้อีก 2 แสนชุด และสำรองรองเท้าบูตป้องกันโรคฉี่หนู รวมทั้งป้องกันบาดแผลจากการเดินย่ำน้ำ จำนวน 40,000 คู่ พร้อมจัดส่งสนับสนุนจังหวัดต่างๆ ทันที” นายแพทย์ปราชญ์ กล่าว
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวต่อว่า สำหรับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่น้ำท่วม ขณะนี้ให้บริการทั้งจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 13 จังหวัด เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ป้องกันโรคระบาด และบริการในพื้นที่กำลังประสบภัยหนักใน 8 จังหวัด คือ พิษณุโลก ลพบุรี สระบุรี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ อุบลราชธานี และ จันทบุรี จัดหน่วยแพทย์พระราชทานเคลื่อนที่ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร บริการวันละกว่า 150 ทีม
สำหรับผลการออกหน่วยแพทย์พระราชทานเคลื่อนที่ฯ ตลอด 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 11-21 กันยายน 2551 มีผู้เจ็บป่วยมารับบริการรวม 130,503 ราย โรคที่พบมากที่สุด ได้แก่ น้ำกัดเท้า ร้อยละ 35 รองลงมา เป็นไข้หวัด ร้อยละ 32 และผื่นคัน ร้อยละ 12 มีผู้เสียชีวิต 14 ราย สถานบริการสาธารณสุขได้รับความเสียหาย 31 แห่ง คือ ที่จังหวัดลพบุรี 19 แห่ง สระบุรี 3 แห่ง บุรีรัมย์ 2 แห่ง เพชรบุรี 1 แห่ง พิษณุโลก 1 แห่ง พิจิตร 1 แห่ง ชัยภูมิ 1 แห่ง และหนองบัวลำภู 3 แห่ง อยู่ระหว่างการประเมินความเสียหาย แต่ทั้งหมดนี้ยังเปิดให้บริการประชาชนอย่างต่อเนื่อง
วันนี้ (22 ก.ย.) นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค และนายแพทย์สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการผู้อำนวยการศูนย์นเรนทร ตรวจเยี่ยมน้ำท่วมที่จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก และ ปราจีนบุรี เพื่อติดตามการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไม่ให้เจ็บป่วยซ้ำเติมจากโรคที่มากับน้ำท่วม
นายแพทย์ปราชญ์ กล่าวว่า จากการประเมินสถานการณ์น้ำท่วม ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา สถานการณ์ขณะนี้ไม่รุนแรง ลักษณะเป็นน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะที่ อ.พนมสารคาม คาดว่า จะอยู่ประมาณ 1 เดือน ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่บริการทุกวัน พบผู้ป่วยประมาณ 2,000 ราย อาการไม่รุนแรง ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ไม่มีโรคระบาด ส่วนที่จังหวัดปราจีนบุรี ระดับน้ำท่วมสูงที่อำเภอศรีมหาโพธิ์ เฉพาะสถานีอนามัยท่าตูมระดับน้ำสูงประมาณ 1 เมตร ได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้การดูแลผู้ประสบภัยทุกคนอย่างเต็มที่ และทั่วถึง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย เพื่อไม่ให้ผู้ประสบภัยถูกซ้ำเติมจากการเจ็บป่วย
“ปัญหาที่จะต้องรับมือช่วงหลังจากนี้ไป คือ เรื่องของน้ำกัดเท้า เพราะน้ำเน่าเสียมากขึ้น รวมทั้งปัญหาไข้หวัด จากน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน คาดประชาชนจะเจ็บป่วยเพิ่มมากขึ้น ได้สั่งการให้โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ผลิตยารักษาโรคน้ำกัดเท้าเพิ่มจากวันละ 20,000 ตลับ เป็น 40,000 ตลับ และให้องค์การเภสัชกรรมผลิตยาสามัญประจำบ้าน ยาชุดช่วยเหลือผู้ประสบภัยสำรองไว้อีก 2 แสนชุด และสำรองรองเท้าบูตป้องกันโรคฉี่หนู รวมทั้งป้องกันบาดแผลจากการเดินย่ำน้ำ จำนวน 40,000 คู่ พร้อมจัดส่งสนับสนุนจังหวัดต่างๆ ทันที” นายแพทย์ปราชญ์ กล่าว
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวต่อว่า สำหรับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่น้ำท่วม ขณะนี้ให้บริการทั้งจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 13 จังหวัด เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ป้องกันโรคระบาด และบริการในพื้นที่กำลังประสบภัยหนักใน 8 จังหวัด คือ พิษณุโลก ลพบุรี สระบุรี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ อุบลราชธานี และ จันทบุรี จัดหน่วยแพทย์พระราชทานเคลื่อนที่ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร บริการวันละกว่า 150 ทีม
สำหรับผลการออกหน่วยแพทย์พระราชทานเคลื่อนที่ฯ ตลอด 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 11-21 กันยายน 2551 มีผู้เจ็บป่วยมารับบริการรวม 130,503 ราย โรคที่พบมากที่สุด ได้แก่ น้ำกัดเท้า ร้อยละ 35 รองลงมา เป็นไข้หวัด ร้อยละ 32 และผื่นคัน ร้อยละ 12 มีผู้เสียชีวิต 14 ราย สถานบริการสาธารณสุขได้รับความเสียหาย 31 แห่ง คือ ที่จังหวัดลพบุรี 19 แห่ง สระบุรี 3 แห่ง บุรีรัมย์ 2 แห่ง เพชรบุรี 1 แห่ง พิษณุโลก 1 แห่ง พิจิตร 1 แห่ง ชัยภูมิ 1 แห่ง และหนองบัวลำภู 3 แห่ง อยู่ระหว่างการประเมินความเสียหาย แต่ทั้งหมดนี้ยังเปิดให้บริการประชาชนอย่างต่อเนื่อง