อธิบดีกรมศิลปากรห่วงปัญหา “ตาเมือนธม” หากได้ข้อยุติห้ามทั้ง 2 ประเทศเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อน จะทำให้โบราณสถานเสื่อมโทรม ระบุที่ผ่านมากรมศิลป์ไทยเข้าไปบูรณะมาโดยตลอด เตรียมทำข้อมูลเสนอ “บัวแก้ว”และคณะกรรมการเจรจาฯ ขอดูแลต่อเนื่อง หากไม่อนุญาตเสนอให้ตั้งกรรมการกลางขึ้นมาดูแล
นายกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวถึงปราสาทตาเมือนธมซึ่งยังมีปัญหาคาบเกี่ยวพื้นที่ทับซ้อนอยู่ว่า ตามหลักการแล้วข้อยุติเรื่องนี้ คงจะให้แต่ละฝ่ายทั้งไทยและกัมพูชาถอยออกมาและไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในพื้นที่ดังกล่าว เพราะถือเป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องงการแบ่งเขตแดน แต่สิ่งที่กรมศิลปากร มีความเป็นห่วงในขณะนี้ คือ หากได้ข้อสรุปยุติแล้วว่าจะไม่เข้าไปยุ่งทุกฝ่าย แต่การบูรณะโบราณสถาน ก็ควรต้องดำเนินการต่อไป เนื่องจากโบราณสถานย่อมเกิดการเสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการบำรุงรักษา และอนุรักษ์เอาไว้ ดังนั้น กรมศิลปากรจะจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการเข้าไปดูแลโบราณสถานปราสาทตาเมือนธมเสนอต่อกระทรวงการต่างประเทศ และคณะกรรมการเจรจาว่า แม้ข้อยุติสุดท้ายในหลักการจะไม่เข้าไปยุ่งในพื้นที่คาบเกี่ยว แต่ในเมื่อมีโบราณสถานตั้งอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว จะต้องมีหน่วยงานเข้าไปบำรุงรักษาโบราณสถาน หากไม่อนุญาตให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้าไปยุ่ง โบราณสถานก็จะต้องถูกปล่อยทิ้งเอาไว้ และเกิดความเสียหายตามมาภายหลัง
“ที่ผ่านมาฝ่ายไทยโดยกรมศิลปากรมีหน้าที่เข้าไปบูรณะและอนุรักษ์โบราณสถานปราสาทตาเมือนธมมาโดยตลอด โดยที่ฝ่ายกัมพูชาไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วม และมีความเกี่ยวข้องแต่อย่างใด หากไม่สามารถตัดสินพื้นที่ทับซ้อนได้ กรมศิลปากร ก็จะขอความร่วมมือ เข้าไปทำการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและดูแลโบราณสถานต่อไป เพื่อให้การโบราณสถานคงอยู่”อธิบดีกรมศิลปากร กล่าว
นายเกรียงไกร กล่าวอีกว่า จนถึงขณะนี้กรมศิลปากรให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่ใช่ดินแดนของเราในการอนุรักษ์โบราณสถานมาโดยตลอด ดังนั้น โบราณสถานที่ตั้งอยู่ในเขตแดนที่น่าจะเป็นของไทย เราจะต้องเข้าไปดูแลได้ แต่หากไม่อนุญาตให้กรมศิลปากรเข้าไปบูรณะก็อาจจะต้องเสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมการกลางขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ในการดูแลโบราณสถานปราสาทตาเมือนธมโดยเฉพาะ
นายกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวถึงปราสาทตาเมือนธมซึ่งยังมีปัญหาคาบเกี่ยวพื้นที่ทับซ้อนอยู่ว่า ตามหลักการแล้วข้อยุติเรื่องนี้ คงจะให้แต่ละฝ่ายทั้งไทยและกัมพูชาถอยออกมาและไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในพื้นที่ดังกล่าว เพราะถือเป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องงการแบ่งเขตแดน แต่สิ่งที่กรมศิลปากร มีความเป็นห่วงในขณะนี้ คือ หากได้ข้อสรุปยุติแล้วว่าจะไม่เข้าไปยุ่งทุกฝ่าย แต่การบูรณะโบราณสถาน ก็ควรต้องดำเนินการต่อไป เนื่องจากโบราณสถานย่อมเกิดการเสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการบำรุงรักษา และอนุรักษ์เอาไว้ ดังนั้น กรมศิลปากรจะจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการเข้าไปดูแลโบราณสถานปราสาทตาเมือนธมเสนอต่อกระทรวงการต่างประเทศ และคณะกรรมการเจรจาว่า แม้ข้อยุติสุดท้ายในหลักการจะไม่เข้าไปยุ่งในพื้นที่คาบเกี่ยว แต่ในเมื่อมีโบราณสถานตั้งอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว จะต้องมีหน่วยงานเข้าไปบำรุงรักษาโบราณสถาน หากไม่อนุญาตให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้าไปยุ่ง โบราณสถานก็จะต้องถูกปล่อยทิ้งเอาไว้ และเกิดความเสียหายตามมาภายหลัง
“ที่ผ่านมาฝ่ายไทยโดยกรมศิลปากรมีหน้าที่เข้าไปบูรณะและอนุรักษ์โบราณสถานปราสาทตาเมือนธมมาโดยตลอด โดยที่ฝ่ายกัมพูชาไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วม และมีความเกี่ยวข้องแต่อย่างใด หากไม่สามารถตัดสินพื้นที่ทับซ้อนได้ กรมศิลปากร ก็จะขอความร่วมมือ เข้าไปทำการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและดูแลโบราณสถานต่อไป เพื่อให้การโบราณสถานคงอยู่”อธิบดีกรมศิลปากร กล่าว
นายเกรียงไกร กล่าวอีกว่า จนถึงขณะนี้กรมศิลปากรให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่ใช่ดินแดนของเราในการอนุรักษ์โบราณสถานมาโดยตลอด ดังนั้น โบราณสถานที่ตั้งอยู่ในเขตแดนที่น่าจะเป็นของไทย เราจะต้องเข้าไปดูแลได้ แต่หากไม่อนุญาตให้กรมศิลปากรเข้าไปบูรณะก็อาจจะต้องเสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมการกลางขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ในการดูแลโบราณสถานปราสาทตาเมือนธมโดยเฉพาะ