นมแม่ชนะเลิศ!! งานวิจัยค้นพบประโยชน์ช่วยลดโรคจอประสาทตาผิดปกติที่ทำให้ตาบอด ในเด็กคลอดก่อนกำหนดได้ถึง 6 เท่า หากคลอดก่อน 7 เดือน-น้ำหนักน้อย ยิ่งกินนมผสมยิ่งเสี่ยงเพิ่ม ยิ่งเด็กได้ดื่มนมแม่ครบ 6 เดือนจะเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ได้ดีเลิศ
พญ.วาสนา วินัยพานิช แพทย์ประจำกลุ่มงานกุมารเวชกรรม รพ.อุตรดิตถ์ นำเสนองานวิจัยเรื่อง “นมแม่กับอุบัติการณ์การเกิดโรคจอประสาทตาผิดปกติแต่กำเนิดในทารกคลอดก่อนกำหนด” ว่า โรคจอประสาทตาผิดปกติแต่กำเนิดในทารกคลอดก่อนกำหนด ซึ่งอาจนำไปสู่การตาบอดในอนาคต เกิดได้บ่อยมาก เพราะจอประสาทตาของเด็กจะถูกสร้างจากกึ่งกลางดวงตามาเกือบครบเมื่อ 32 สัปดาห์ และสมบูรณ์เมื่อ 40 สัปดาห์ เด็กที่คลอดก่อนกำหนดคือก่อน 36 สัปดาห์ มีความเสี่ยงจะเกิดโรคนี้ โดยกลุ่มที่เสี่ยงมากที่สุด คือทารกที่คลอดก่อน 28 สัปดาห์ ข้อมูลของสถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินีในปี 2542-2544 สำรวจทารกคลอดก่อนกำหนด ที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,000 กรัม มาตรวจจอประสาทตา 430 ราย พบ มีความผิดปกติของจอประสาทตาถึงร้อยละ 22.33 ดังนั้นเด็กที่คลอดก่อนกำหนด ซึ่งเสี่ยงจะเกิดโรคจอประสาทตาผิดปกติแต่กำเนิดอยู่แล้ว เมื่อมีปัจจัยอื่นมาเสริม เช่น น้ำหนักตัวน้อย ยิ่งถูกเลี้ยงด้วยนมผสมอย่างเดียว ก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าทารกที่คลอดก่อนกำหนดทั่วไปและดื่มนมแม่
พญ.วาสนา กล่าวอีกว่า การศึกษาในกลุ่มหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว กับกลุ่มที่เลี้ยงด้วยนมแม่และนมผสม และกลุ่มที่เลี้ยงด้วยผสมอย่างเดียว พบว่า กลุ่มที่เลี้ยงด้วยนมผสมอย่างเดียว มีโอกาสเสี่ยงที่ทารกจะเกิดความผิดปกติของจอประสาทตามากกว่ากลุ่มที่เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เท่า ส่วนของทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่เลี้ยงด้วยทั้งนมแม่และนมผสมมีโอกาสเสี่ยงมากกว่ากลุ่มที่เลี้ยงนมแม่อย่างเดียวถึง 3 เท่า
“ในน้ำนมแม่มีสารอาหารมากมาย อาทิ กรดไขมันไม่อิ่มตัว นิวคลิโอไทด์ สารทอรีนที่ช่วยให้จอประสาทตาเจริญเติบโต และยังมีสิ่งที่นมผสมไม่สามารถสังเคราะห์ใส่ลงไปได้คือ สารกระตุ้นจอประสาทตาที่อยู่ในน้ำนมแม่เท่านั้น จึงถือว่าในน้ำนมแม่มีสารอาหารที่วิเศษมาก” พญ.วาสนา กล่าว
ด้านน.ส.ณัฐธดา อนุกูล พยาบาลประจำหอผู้ป่วยกุมารเวช 1 รพ.สวรรค์ประชารักษ์ กล่าวว่า การศึกษา “ความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่”พบว่า ในกลุ่มตัวอย่างอายุ 3 ปี จำนวน 350 คน ในชุมชนเมือง จ.นครสวรรค์ ทั้งเด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่ นมผสม และที่เลี้ยงด้วยทั้งนมแม่และนมผสม พบเด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียวตลอด 6 เดือนมีอีคิวมากกว่าเด็กกลุ่มอื่น เมื่อศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มเด็กที่ดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียว แต่ดื่มในระยะที่ต่างกัน คือ ดื่ม 1 เดือน 4 เดือน และครบ 6 เดือน พบ เด็กที่ดื่มครบ 6 เดือน มีความฉลาดทางอารมณ์ มากกว่าเด็กที่ดื่ม 1 เดือน และ 4 เดือน นมแม่นอกจากจะมีผลต่อระดับสติปัญญาของเด็ก ยังมีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ด้วย
พญ.วาสนา วินัยพานิช แพทย์ประจำกลุ่มงานกุมารเวชกรรม รพ.อุตรดิตถ์ นำเสนองานวิจัยเรื่อง “นมแม่กับอุบัติการณ์การเกิดโรคจอประสาทตาผิดปกติแต่กำเนิดในทารกคลอดก่อนกำหนด” ว่า โรคจอประสาทตาผิดปกติแต่กำเนิดในทารกคลอดก่อนกำหนด ซึ่งอาจนำไปสู่การตาบอดในอนาคต เกิดได้บ่อยมาก เพราะจอประสาทตาของเด็กจะถูกสร้างจากกึ่งกลางดวงตามาเกือบครบเมื่อ 32 สัปดาห์ และสมบูรณ์เมื่อ 40 สัปดาห์ เด็กที่คลอดก่อนกำหนดคือก่อน 36 สัปดาห์ มีความเสี่ยงจะเกิดโรคนี้ โดยกลุ่มที่เสี่ยงมากที่สุด คือทารกที่คลอดก่อน 28 สัปดาห์ ข้อมูลของสถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินีในปี 2542-2544 สำรวจทารกคลอดก่อนกำหนด ที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,000 กรัม มาตรวจจอประสาทตา 430 ราย พบ มีความผิดปกติของจอประสาทตาถึงร้อยละ 22.33 ดังนั้นเด็กที่คลอดก่อนกำหนด ซึ่งเสี่ยงจะเกิดโรคจอประสาทตาผิดปกติแต่กำเนิดอยู่แล้ว เมื่อมีปัจจัยอื่นมาเสริม เช่น น้ำหนักตัวน้อย ยิ่งถูกเลี้ยงด้วยนมผสมอย่างเดียว ก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าทารกที่คลอดก่อนกำหนดทั่วไปและดื่มนมแม่
พญ.วาสนา กล่าวอีกว่า การศึกษาในกลุ่มหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว กับกลุ่มที่เลี้ยงด้วยนมแม่และนมผสม และกลุ่มที่เลี้ยงด้วยผสมอย่างเดียว พบว่า กลุ่มที่เลี้ยงด้วยนมผสมอย่างเดียว มีโอกาสเสี่ยงที่ทารกจะเกิดความผิดปกติของจอประสาทตามากกว่ากลุ่มที่เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เท่า ส่วนของทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่เลี้ยงด้วยทั้งนมแม่และนมผสมมีโอกาสเสี่ยงมากกว่ากลุ่มที่เลี้ยงนมแม่อย่างเดียวถึง 3 เท่า
“ในน้ำนมแม่มีสารอาหารมากมาย อาทิ กรดไขมันไม่อิ่มตัว นิวคลิโอไทด์ สารทอรีนที่ช่วยให้จอประสาทตาเจริญเติบโต และยังมีสิ่งที่นมผสมไม่สามารถสังเคราะห์ใส่ลงไปได้คือ สารกระตุ้นจอประสาทตาที่อยู่ในน้ำนมแม่เท่านั้น จึงถือว่าในน้ำนมแม่มีสารอาหารที่วิเศษมาก” พญ.วาสนา กล่าว
ด้านน.ส.ณัฐธดา อนุกูล พยาบาลประจำหอผู้ป่วยกุมารเวช 1 รพ.สวรรค์ประชารักษ์ กล่าวว่า การศึกษา “ความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่”พบว่า ในกลุ่มตัวอย่างอายุ 3 ปี จำนวน 350 คน ในชุมชนเมือง จ.นครสวรรค์ ทั้งเด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่ นมผสม และที่เลี้ยงด้วยทั้งนมแม่และนมผสม พบเด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียวตลอด 6 เดือนมีอีคิวมากกว่าเด็กกลุ่มอื่น เมื่อศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มเด็กที่ดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียว แต่ดื่มในระยะที่ต่างกัน คือ ดื่ม 1 เดือน 4 เดือน และครบ 6 เดือน พบ เด็กที่ดื่มครบ 6 เดือน มีความฉลาดทางอารมณ์ มากกว่าเด็กที่ดื่ม 1 เดือน และ 4 เดือน นมแม่นอกจากจะมีผลต่อระดับสติปัญญาของเด็ก ยังมีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ด้วย