คน 3 วัย ระดมสมองสร้างพิมพ์เขียวพลิกโฉมใหม่ หวัง อีก 20 ปี ข้างหน้าเป็นสังคมวุฒิภาวะ เชี่อแก้ปัญหาได้จริง หลุดพ้นการคิดถึงประโยชน์ส่วนตน ลดความขัดแย้งทางสังคมได้ จุดประกายแนวคิด ทลายกำแพงอายุ ชูประเด็นทุกวัยสำคัญเท่ากัน เน้นพัฒนา 4 ด้าน สาธารณสุข การศึกษา การทำงาน การเมืองการปกครอง เตรียมตั้ง ภาคีคนสามวัย เพื่อสังคมไทยอีก 20 ปี
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 26 ก.ค. ที่ห้องอเนกประสงค์ กรมประชาสัมพันธ์ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย(สวน.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จัดงานเสวนา “คน 3 วัยเสนอทางเลือกใหม่ให้สังคมไทยในอีก 20 ปี” นพ.วิพุธ พูลเจริญ เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย (สวน.) กล่าวว่า โครงสร้างของสังคมที่เปลี่ยนไป แนวโน้มในอนาคต คนทั้ง 3 วัย คือ วัยเด็ก วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ จะมีสัดส่วนใกล้เคียงกันมาก คณะนักวิชาการสหสาขาวิชา ผู้สนใจพัฒนาวิชาการเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ร่วมกับ สสส. ได้ศึกษาทบทวนแนวคิด กลไกพัฒนาการสร้างสรรค์สังคม เพื่อสร้างสังคมที่มีความสุขสำหรับทุกวัยขึ้น ไม่ใช่เน้นแต่ผู้สูงอายุ จนลืมความต้องการของคนในวัยอื่น เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงและวางรากฐานของสังคมใหม่ ให้คนทุกวัยสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างไม่มีใครรู้สึกด้อยคุณค่าหรือถูกทอดทิ้ง
นพ.วิพุธ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันสังคมมุ่งเน้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทำให้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ไม่สามารถขจัดให้หมดไปได้ การมองอนาคตไปอีก 20 ปีข้างหน้า ทำให้คนหลุดพ้นจากการคิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง หรือผลประโยชน์เฉพาะตัว การมองไปที่อนาคตล่วงหน้าทำให้สามารถกำหนดแผนงาน มีเวลาในการปรับโครงสร้างเพื่อให้รองรับความต้องการของคนทุกวัยได้ โดยการผลักดันแนวคิดดังกล่าวให้เกิดขึ้น เป็นการจุดประกายทางสังคม ให้คนเห็นความสำคัญที่ต้องสร้างสังคมใหม่ร่วมกัน
“ถ้ายังเผชิญหน้ากับปัญหาแบบตั้งรับ แก้ปัญหาแบบแยกส่วน สังคมไทยจะไม่สามารถหนีปัญหาเดิมพ้นไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้ง ความรุนแรง ความไม่ทัดเทียมทางการศึกษา สาธารณสุข ซึ่งเป็นหน้าที่ของภาคประชาชน องค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น ต้องลุกขึ้นมาแก้ปัญหาเชิงรุก ซึ่งหลายประเทศก็ใช้แนวทางนี้ เช่น สหรัฐอเมริกาก็มีการวางแผนระยะยาวเพื่อทำโครงการต่างๆ เช่น การส่งมนุษย์ไปดาวอังคาร ก็ประกาศก่อน 10 ปี ก่อนลงมือทำ ดังนั้น จึงถึงเวลาที่คนไทยต้องร่วมกันสร้างพิมพ์เขียวของสังคมไทยร่วมกัน ”นพ.วิพุธ กล่าว
ผศ.ดร.วีรสิทธิ์ สิทธิไตรย์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนสภากาชาดไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาสังคมไทยแก้ปัญหาสังคมอย่างผิวเผิน ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรได้เลย แต่ยิ่งสร้างปัญหาให้ทับถมมากขึ้นไปอีก การแก้ที่ถูกต้อง ควรเริ่มที่โครงสร้างหรือระบบทางสังคม ที่สำคัญไม่ต้องรอให้รัฐบาลเป็นผู้แก้ปัญหาให้ แต่อาศัยศักยภาพของประชาชนที่อยู่ในระดับชุมชนและองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นให้ตระหนักถึงปัญหา และร่วมกันหาวิธีแก้ไข เมื่อทำสำเร็จในระดับท้องถิ่น จึงขยายวงกว้างใหญ่ขึ้นไปถึงระดับชาติ
“สังคมในอีก 20 ปีข้างหน้า จะพัฒนาเข้าสู่สังคมวุฒิภาวะ หรือ สังคมที่มีความเจริญในทุกๆด้าน โดยเฉพาะอายุจะไม่เป็นข้อจำกัดในการพัฒนา กำหนดนโยบาย หรือ รับประโยชน์จากนโยบายของรัฐ ในอนาคตกระแสสังคมจะเน้นการลดจุดด้อยต่างๆของคนทุกกลุ่ม สวนทางกับปัจจุบันที่มุ่งเน้นการสร้างโอกาส ทำให้เกิดการแข่งขัน แก่งแย่ง ชิงดี ชิงเด่น”ดร.วีรสิทธิ์ กล่าว
ดร.วีรสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ภารกิจ ต่อไปที่จะต้องทำคือต้องจัดตั้ง “ภาคีคนสามวัย เพื่อสังคมไทยอีก 20 ปี” เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในอนาคต โดยจะเน้นงาน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านการทำงาน และด้านการเมืองการปกครอง โดยจะยื่นข้อเสนอของการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน ที่มาจากกลุ่มคนสามวัย ดังนี้ 1 ด้านสุขภาพ ต้องการให้สังคมไทยมีแพทย์เพียงพอ แพทย์ไม่ควรไปประกอบอาชีพอื่น กลไกหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาคือ การเสนอให้เกิด “พยาแพทย์” คือ ส่งเสริมและพัฒนาให้พยาบาล มีทักษะเป็นผู้เชี่ยวชาญรักษาเฉพาะด้าน เป็นผู้ช่วยแพทย์ และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป หมอตำแย หมอสมุนไพร หมอนวด ให้ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ ให้เป็นบุคคลากรท้องถิ่น
ดร.วีรสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ข้อเสนอด้านการศึกษา ควรมีระบบการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ทุกคน และทุกวัย เข้าถึงการเรียนได้ง่ายโดยอาศัยเทคโนโลยี ช่วยในการจัดการเรียน การสอน เช่นการเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ เพื่อจูงใจให้คนทุกวัยอยากเข้ามาเรียน ไม่จำเป็นต้องจำกัดการเรียนเพียงในห้องเรียน หรือแม้กระทั่งสามารถเรียนด้วยตนเอง สะสมแต้ม เพื่อให้สอบผ่านปริญญาต่างๆได้ ขณะเดียวกัน ด้านการทำงาน ควรต้องมีสภาวิชาชีพ ของแต่ละพื้นที่ เพื่อสอนและพัฒนาอาชีพ และหางาน ซึ่งจะไปเชื่อมโยงกับสมัชชาชุมชน ที่เป็นของท้องถิ่นเพื่อรองรับและตอบสนองในเรื่องของการทำงาน ส่วนด้านการเมืองการปกครอง ต้องมีตัวแทนคนสามวัย เป็นองค์ประกอบภาคบังคับ ของทุกหน่วยงานปกครอง และบริหาร เช่น สภาตำบล จังหวัด ผู้แทนราษฎร วุฒิสภา ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี รัฐวิสาหกิจ ส่วนชุมชนต้องมีการพัฒนา สมัชชาชุมชน เพื่อท้องถิ่นก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นสมัชชาพลเมือง เพื่อการทำงานในระดับประเทศ
“อีก 20 ปี ข้างหน้า ควรจะมี ศาสตร์จารย์ชุมชน รองศาสตร์จารย์ชุมชน ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ชุมชน ซึ่งมาจากคนที่มีประสบการณ์ในสาขาต่างๆ มาทำหน้าที่แทนครูในโรงเรียนเพื่อสอนคนในชุมชน จะต้องมีสัดส่วนอาจารย์ชุมชนเหล่านี้ 1ใน3 ของอาจารย์ทั้งหมดในมหาวิทยาลัย”ดร.วีรสิทธิ์ กล่าว
นายแสงธรรม ชุนชฎาธาร ตัวแทนจากเยาวชน กล่าวว่า ทุกภาคส่วนควรให้คนทั้ง 3 วัย เข้ามามีส่วนร่วม เปิดรับฟังความคิดเห็นระหว่างกัน เพื่อนำมากลั่นกรองก่อนพัฒนาให้เป็นรูปธรรม ในอนาคตทุกคนต้องมีทั้งสิทธิ หน้าที่ ความตระหนัก เพื่อทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะพลังของประชาชนนั้น มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ก้าวไปอีกขั้น ซึ่งต่างฝ่ายต่างอยากอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 26 ก.ค. ที่ห้องอเนกประสงค์ กรมประชาสัมพันธ์ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย(สวน.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จัดงานเสวนา “คน 3 วัยเสนอทางเลือกใหม่ให้สังคมไทยในอีก 20 ปี” นพ.วิพุธ พูลเจริญ เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย (สวน.) กล่าวว่า โครงสร้างของสังคมที่เปลี่ยนไป แนวโน้มในอนาคต คนทั้ง 3 วัย คือ วัยเด็ก วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ จะมีสัดส่วนใกล้เคียงกันมาก คณะนักวิชาการสหสาขาวิชา ผู้สนใจพัฒนาวิชาการเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ร่วมกับ สสส. ได้ศึกษาทบทวนแนวคิด กลไกพัฒนาการสร้างสรรค์สังคม เพื่อสร้างสังคมที่มีความสุขสำหรับทุกวัยขึ้น ไม่ใช่เน้นแต่ผู้สูงอายุ จนลืมความต้องการของคนในวัยอื่น เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงและวางรากฐานของสังคมใหม่ ให้คนทุกวัยสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างไม่มีใครรู้สึกด้อยคุณค่าหรือถูกทอดทิ้ง
นพ.วิพุธ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันสังคมมุ่งเน้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทำให้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ไม่สามารถขจัดให้หมดไปได้ การมองอนาคตไปอีก 20 ปีข้างหน้า ทำให้คนหลุดพ้นจากการคิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง หรือผลประโยชน์เฉพาะตัว การมองไปที่อนาคตล่วงหน้าทำให้สามารถกำหนดแผนงาน มีเวลาในการปรับโครงสร้างเพื่อให้รองรับความต้องการของคนทุกวัยได้ โดยการผลักดันแนวคิดดังกล่าวให้เกิดขึ้น เป็นการจุดประกายทางสังคม ให้คนเห็นความสำคัญที่ต้องสร้างสังคมใหม่ร่วมกัน
“ถ้ายังเผชิญหน้ากับปัญหาแบบตั้งรับ แก้ปัญหาแบบแยกส่วน สังคมไทยจะไม่สามารถหนีปัญหาเดิมพ้นไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้ง ความรุนแรง ความไม่ทัดเทียมทางการศึกษา สาธารณสุข ซึ่งเป็นหน้าที่ของภาคประชาชน องค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น ต้องลุกขึ้นมาแก้ปัญหาเชิงรุก ซึ่งหลายประเทศก็ใช้แนวทางนี้ เช่น สหรัฐอเมริกาก็มีการวางแผนระยะยาวเพื่อทำโครงการต่างๆ เช่น การส่งมนุษย์ไปดาวอังคาร ก็ประกาศก่อน 10 ปี ก่อนลงมือทำ ดังนั้น จึงถึงเวลาที่คนไทยต้องร่วมกันสร้างพิมพ์เขียวของสังคมไทยร่วมกัน ”นพ.วิพุธ กล่าว
ผศ.ดร.วีรสิทธิ์ สิทธิไตรย์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนสภากาชาดไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาสังคมไทยแก้ปัญหาสังคมอย่างผิวเผิน ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรได้เลย แต่ยิ่งสร้างปัญหาให้ทับถมมากขึ้นไปอีก การแก้ที่ถูกต้อง ควรเริ่มที่โครงสร้างหรือระบบทางสังคม ที่สำคัญไม่ต้องรอให้รัฐบาลเป็นผู้แก้ปัญหาให้ แต่อาศัยศักยภาพของประชาชนที่อยู่ในระดับชุมชนและองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นให้ตระหนักถึงปัญหา และร่วมกันหาวิธีแก้ไข เมื่อทำสำเร็จในระดับท้องถิ่น จึงขยายวงกว้างใหญ่ขึ้นไปถึงระดับชาติ
“สังคมในอีก 20 ปีข้างหน้า จะพัฒนาเข้าสู่สังคมวุฒิภาวะ หรือ สังคมที่มีความเจริญในทุกๆด้าน โดยเฉพาะอายุจะไม่เป็นข้อจำกัดในการพัฒนา กำหนดนโยบาย หรือ รับประโยชน์จากนโยบายของรัฐ ในอนาคตกระแสสังคมจะเน้นการลดจุดด้อยต่างๆของคนทุกกลุ่ม สวนทางกับปัจจุบันที่มุ่งเน้นการสร้างโอกาส ทำให้เกิดการแข่งขัน แก่งแย่ง ชิงดี ชิงเด่น”ดร.วีรสิทธิ์ กล่าว
ดร.วีรสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ภารกิจ ต่อไปที่จะต้องทำคือต้องจัดตั้ง “ภาคีคนสามวัย เพื่อสังคมไทยอีก 20 ปี” เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในอนาคต โดยจะเน้นงาน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านการทำงาน และด้านการเมืองการปกครอง โดยจะยื่นข้อเสนอของการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน ที่มาจากกลุ่มคนสามวัย ดังนี้ 1 ด้านสุขภาพ ต้องการให้สังคมไทยมีแพทย์เพียงพอ แพทย์ไม่ควรไปประกอบอาชีพอื่น กลไกหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาคือ การเสนอให้เกิด “พยาแพทย์” คือ ส่งเสริมและพัฒนาให้พยาบาล มีทักษะเป็นผู้เชี่ยวชาญรักษาเฉพาะด้าน เป็นผู้ช่วยแพทย์ และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป หมอตำแย หมอสมุนไพร หมอนวด ให้ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ ให้เป็นบุคคลากรท้องถิ่น
ดร.วีรสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ข้อเสนอด้านการศึกษา ควรมีระบบการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ทุกคน และทุกวัย เข้าถึงการเรียนได้ง่ายโดยอาศัยเทคโนโลยี ช่วยในการจัดการเรียน การสอน เช่นการเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ เพื่อจูงใจให้คนทุกวัยอยากเข้ามาเรียน ไม่จำเป็นต้องจำกัดการเรียนเพียงในห้องเรียน หรือแม้กระทั่งสามารถเรียนด้วยตนเอง สะสมแต้ม เพื่อให้สอบผ่านปริญญาต่างๆได้ ขณะเดียวกัน ด้านการทำงาน ควรต้องมีสภาวิชาชีพ ของแต่ละพื้นที่ เพื่อสอนและพัฒนาอาชีพ และหางาน ซึ่งจะไปเชื่อมโยงกับสมัชชาชุมชน ที่เป็นของท้องถิ่นเพื่อรองรับและตอบสนองในเรื่องของการทำงาน ส่วนด้านการเมืองการปกครอง ต้องมีตัวแทนคนสามวัย เป็นองค์ประกอบภาคบังคับ ของทุกหน่วยงานปกครอง และบริหาร เช่น สภาตำบล จังหวัด ผู้แทนราษฎร วุฒิสภา ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี รัฐวิสาหกิจ ส่วนชุมชนต้องมีการพัฒนา สมัชชาชุมชน เพื่อท้องถิ่นก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นสมัชชาพลเมือง เพื่อการทำงานในระดับประเทศ
“อีก 20 ปี ข้างหน้า ควรจะมี ศาสตร์จารย์ชุมชน รองศาสตร์จารย์ชุมชน ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ชุมชน ซึ่งมาจากคนที่มีประสบการณ์ในสาขาต่างๆ มาทำหน้าที่แทนครูในโรงเรียนเพื่อสอนคนในชุมชน จะต้องมีสัดส่วนอาจารย์ชุมชนเหล่านี้ 1ใน3 ของอาจารย์ทั้งหมดในมหาวิทยาลัย”ดร.วีรสิทธิ์ กล่าว
นายแสงธรรม ชุนชฎาธาร ตัวแทนจากเยาวชน กล่าวว่า ทุกภาคส่วนควรให้คนทั้ง 3 วัย เข้ามามีส่วนร่วม เปิดรับฟังความคิดเห็นระหว่างกัน เพื่อนำมากลั่นกรองก่อนพัฒนาให้เป็นรูปธรรม ในอนาคตทุกคนต้องมีทั้งสิทธิ หน้าที่ ความตระหนัก เพื่อทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะพลังของประชาชนนั้น มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ก้าวไปอีกขั้น ซึ่งต่างฝ่ายต่างอยากอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข