“ป๋าเปรม” แนะคนไทยใช้ภาษาไทยสงบศึกคนในชาติ พร้อมย้ำภาษาสามารถสร้างความรัก ความผูกพัน และความสามัคคีปรองดองให้กับคนในชาติได้ ชวนช่วยกันรักษาภาษาชาติ ชี้คนไม่รักษาสมบัติชาติ ควรถูกประณาม เหน็บ“สมัคร"จ้อผ่านทีวีดูกาลเทศะ ควรใช้ภาษาให้ถูกเพราะพูดกับคนทั่วประเทศ
วันที่ 26 ก.ค. พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง ภาษาไทย พ.ศ.พอเพียง เนื่องในโอกาสวันภาษาไทยแห่งชาติ ว่า ความรู้ความคิดของตนย่อหย่อนลงทุกวันตนบอกตัวเองเสมอว่าถ้าใครหรือองค์กรใดเชิญไปพูดควรตอบปฏิเสธเพราะอายุเป็นอุปสรรค การใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมก็ทำได้ยาก แต่ครั้งนี้ตนต้องตอบรับเชิญเพราะตนเป็นหนี้ดร.กาญจนา นาคสกุล ในเรื่องภาษาไทยมาก ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลและปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ซึ่งตนถือว่าเป็นผู้ที่กระทำความดี ตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ควรแก่การยกย่องสรรเสริญและถือเป็นแบบอย่าง
พล.อ.เปรม กล่าวว่า ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติของเรา และเป็นภาษาที่สำคัญที่สุดของคนไทย ซึ่งบ่งบอกถึงหน้าที่ของคนไทยที่จะต้องศึกษาภาษาไทยให้แตกฉานเรียนรู้และฝึกฝนเพื่อใช้ถูกต้องทั้งการออกเสียง และใช้ถ้อยคำ รวมถึงการใช้ภาษาให้ถูกความหมายและถูกกาลเทศะ สิ่งสำคัญที่คนไทยจะต้องดูแลรักษาภาษาไทยไว้ให้เป็นสมบัติ มรดกตกทอดไปถึงลูกหลานเช่นเดียวกับที่บรรพบุรุษของเราได้รักษาและมอบไว้ให้กับเรา มิเช่นนั้นเราควรถูกตำหนิและถูกประณามว่า เราไม่รู้จักตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน เป็นคนไม่รักษาสมบัติอันล้ำค่าของชาติ
พล.อ.เปรม กล่าวอีกว่า ในส่วนของการใช้ภาษามีรูปแบบภาษาที่หลากหลาย เช่นมีภาษาตามสถานภาพของบุคคล มีราชาศัพท์ มีภาษาราชการ ภาษาสุภาพ ภาษาของบุคคลอาชีพต่างๆ มีภาษาทหาร ภาษาพ่อค้า ภาษาการศึกษา ภาษชาติ ภาษาแพทย์และมีภาษานักการเมืองด้วย ตนไม่มีความรู้มากพอที่จะชี้ชัดได้ว่า ภาษาไทยมีรูปแบบหลากหลายและงดงามที่สุดในโลกหรือไม่ แต่ตนเดาว่าใช่ และจะเห็นได้ว่า เรามีภาษาชาติเป็นภาษกลางที่สามารถสื่อได้ทั่วทุกท้องถิ่นของประเทศไม่มีความยุ่งยากหรือปัญหาใด
“ พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส และพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ ผู้ใดองค์กรใดรับใส่เกล้า ใส่กระหม่อมไปประพฤติปฏิบัติย่อมยังประโยชน์อย่างยิ่ง ภาษาชาติของเราย่อมต้องการความพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายว่า พอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต้ง พอเพียงนี้อาจจะมีมาก หรูหราก็ได้ แต่ต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนพอเพียง ” พล.อ.เปรม กล่าว
พล.อ.เปรม กล่าวว่า เมื่อพูดถึงภาษาไทยน่าจะมีข้อพิจารณา 4 ประเด็น คือ 1.การใช้ภาษาที่คนไทยต้องใช้อย่างถูกต้องจึงจะเรียกว่าพอเพียง และใช้ภาษาให้ถูกกาลเทศะ เช่นผู้ประกาศวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ ต้องใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องเหมาะสมตลอดเวลา เพราะกำลังพูดกับคนทั่วประเทศ ซึ่งการใช้ภาษาได้ถูกต้องบ่งบอกถึงความนึกคิด การปฏิบัติตนและการเป็นคนไทยของคนๆนั้น 2.การศึกษาภาษา เพราะการเรียนที่ถูกวิธีจะทำให้เข้าใจภาษาได้ดี และสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจได้ จึงเรียกว่า ศึกษาภาษาอย่างพอเพียง 3.การบำรุงรักษาภาษา เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนเพราะภาษาเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย และการนำภาษาต่างประเทศมาใช้นั้นไม่จำเป็น 4.การพัฒนาภาษา เป็นหน้าที่ของผู้รู้ทั้งหลายว่าจะหาวิธีพัฒนาภาษาอย่างไรบ้าง
"ภาษาทำให้คนเข้าใจกัน ชอบกัน รักกัน หรือเกลียดกัน โกรธกัน หรือทำลายล้างกันก็ได้ พวกเราทั้งหลายต้องตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทย ต้องรักษาภาษไทยที่บรรพบุรุษมอบมาให้เราอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง รักษาให้เป็นภาษาที่ใช้สนุกและเหมาะสม ใช้ภาษาไทยให้พอเหมาะที่จะทำให้สังคมร่มเย็น ใช้ภาษาสร้างสิ่งดีๆให้สังคม สร้างความรัก ความผูกพันต่อกัน ใช้ภาษาสร้างความภาคภูมิใจในชาติ ใช้ภาษาเพื่อความประนีประนอมกัน ใช้ภาษาเพื่อให้อภัยต่อกัน ใช้ภาษาเพื่อสั่งสอนคนให้เป็นคนเจริญ ใช้ภาษาสอนให้คนซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อความพัฒนาถาวรของชาติ ” พล.อ.เปรม กล่าว
จากนั้น พล.อ.เปรม ให้สัมภาษณ์ด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มว่า คนไทยควรใช้ภาษาไทยเพื่อลดความรุนแรงและปัญหาของคนในชาติ แต่คุณเก่งนะ ที่ใช้เรื่องภาษาไทยเริ่มต้นก่อน แล้วค่อยถามเรื่องอื่น ท่านต้องการถามผมเรื่องอุดรใช่ไหม ผมขอไม่ให้ความเห็นดีกว่า เป็นการยากที่จะพูดเรื่องนี้เพราะไม่รู้ข้อเท็จจริง และไม่รู้ว่าเรื่องราวเกิดขึ้นอย่างไร
เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่ที่สังคมไทยเกิดความแตกแยก พล.อ.เปรม กล่าวว่า “ กังวลน่ะ กังวลแน่เพราะไม่อยากให้แตกแยกกัน ” เมื่อถามว่า อยากฝากให้คนไทยมีความรักความสามัคคีมากกว่านี้หรือไม่ พล.อ.เปรม กล่าวว่า "ก็ไม่ดี อย่างที่เห็น" เมื่อถามว่า ควรให้คนที่เป็นแกนนำทั้ง 2 ฝ่ายออกมาช่วยสงบสติทั้งสองฝ่ายหรือไม่ พล.อ.เปรม กล่าวว่า “ ผมไม่ค่อยทราบว่า ฝ่ายไหนเป็นใคร จึงยากที่จะออกความเห็น ” เมื่อถามว่า บ้านเมืองเรายังหวังที่จะปรองดองกันได้หรือไม่ พล.อ.เปรม กล่าวว่า “ ผมคิดว่าได้แน่ แต่คุณอาจจะไม่ทันเพราะอายุยังน้อย อย่างผมรู้ดีว่า คนไทยเมื่อถึงคราวคับขัน ถึงคราวที่เราจะต้องร่วมกัน เขาจะมาร่วมกันแน่นอน ผมคิดว่าแน่นอน ”
เมื่อถามว่า จะอวยพรพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เนื่องในวันเกิดครบรอบ 59 ปีอย่างไร พล.อ.เปรม ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม เพียงแต่ยิ้มก่อนที่จะเดินเลี่ยงผู้สื่อข่าวออกไป
วันที่ 26 ก.ค. พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง ภาษาไทย พ.ศ.พอเพียง เนื่องในโอกาสวันภาษาไทยแห่งชาติ ว่า ความรู้ความคิดของตนย่อหย่อนลงทุกวันตนบอกตัวเองเสมอว่าถ้าใครหรือองค์กรใดเชิญไปพูดควรตอบปฏิเสธเพราะอายุเป็นอุปสรรค การใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมก็ทำได้ยาก แต่ครั้งนี้ตนต้องตอบรับเชิญเพราะตนเป็นหนี้ดร.กาญจนา นาคสกุล ในเรื่องภาษาไทยมาก ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลและปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ซึ่งตนถือว่าเป็นผู้ที่กระทำความดี ตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ควรแก่การยกย่องสรรเสริญและถือเป็นแบบอย่าง
พล.อ.เปรม กล่าวว่า ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติของเรา และเป็นภาษาที่สำคัญที่สุดของคนไทย ซึ่งบ่งบอกถึงหน้าที่ของคนไทยที่จะต้องศึกษาภาษาไทยให้แตกฉานเรียนรู้และฝึกฝนเพื่อใช้ถูกต้องทั้งการออกเสียง และใช้ถ้อยคำ รวมถึงการใช้ภาษาให้ถูกความหมายและถูกกาลเทศะ สิ่งสำคัญที่คนไทยจะต้องดูแลรักษาภาษาไทยไว้ให้เป็นสมบัติ มรดกตกทอดไปถึงลูกหลานเช่นเดียวกับที่บรรพบุรุษของเราได้รักษาและมอบไว้ให้กับเรา มิเช่นนั้นเราควรถูกตำหนิและถูกประณามว่า เราไม่รู้จักตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน เป็นคนไม่รักษาสมบัติอันล้ำค่าของชาติ
พล.อ.เปรม กล่าวอีกว่า ในส่วนของการใช้ภาษามีรูปแบบภาษาที่หลากหลาย เช่นมีภาษาตามสถานภาพของบุคคล มีราชาศัพท์ มีภาษาราชการ ภาษาสุภาพ ภาษาของบุคคลอาชีพต่างๆ มีภาษาทหาร ภาษาพ่อค้า ภาษาการศึกษา ภาษชาติ ภาษาแพทย์และมีภาษานักการเมืองด้วย ตนไม่มีความรู้มากพอที่จะชี้ชัดได้ว่า ภาษาไทยมีรูปแบบหลากหลายและงดงามที่สุดในโลกหรือไม่ แต่ตนเดาว่าใช่ และจะเห็นได้ว่า เรามีภาษาชาติเป็นภาษกลางที่สามารถสื่อได้ทั่วทุกท้องถิ่นของประเทศไม่มีความยุ่งยากหรือปัญหาใด
“ พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส และพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ ผู้ใดองค์กรใดรับใส่เกล้า ใส่กระหม่อมไปประพฤติปฏิบัติย่อมยังประโยชน์อย่างยิ่ง ภาษาชาติของเราย่อมต้องการความพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายว่า พอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต้ง พอเพียงนี้อาจจะมีมาก หรูหราก็ได้ แต่ต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนพอเพียง ” พล.อ.เปรม กล่าว
พล.อ.เปรม กล่าวว่า เมื่อพูดถึงภาษาไทยน่าจะมีข้อพิจารณา 4 ประเด็น คือ 1.การใช้ภาษาที่คนไทยต้องใช้อย่างถูกต้องจึงจะเรียกว่าพอเพียง และใช้ภาษาให้ถูกกาลเทศะ เช่นผู้ประกาศวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ ต้องใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องเหมาะสมตลอดเวลา เพราะกำลังพูดกับคนทั่วประเทศ ซึ่งการใช้ภาษาได้ถูกต้องบ่งบอกถึงความนึกคิด การปฏิบัติตนและการเป็นคนไทยของคนๆนั้น 2.การศึกษาภาษา เพราะการเรียนที่ถูกวิธีจะทำให้เข้าใจภาษาได้ดี และสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจได้ จึงเรียกว่า ศึกษาภาษาอย่างพอเพียง 3.การบำรุงรักษาภาษา เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนเพราะภาษาเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย และการนำภาษาต่างประเทศมาใช้นั้นไม่จำเป็น 4.การพัฒนาภาษา เป็นหน้าที่ของผู้รู้ทั้งหลายว่าจะหาวิธีพัฒนาภาษาอย่างไรบ้าง
"ภาษาทำให้คนเข้าใจกัน ชอบกัน รักกัน หรือเกลียดกัน โกรธกัน หรือทำลายล้างกันก็ได้ พวกเราทั้งหลายต้องตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทย ต้องรักษาภาษไทยที่บรรพบุรุษมอบมาให้เราอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง รักษาให้เป็นภาษาที่ใช้สนุกและเหมาะสม ใช้ภาษาไทยให้พอเหมาะที่จะทำให้สังคมร่มเย็น ใช้ภาษาสร้างสิ่งดีๆให้สังคม สร้างความรัก ความผูกพันต่อกัน ใช้ภาษาสร้างความภาคภูมิใจในชาติ ใช้ภาษาเพื่อความประนีประนอมกัน ใช้ภาษาเพื่อให้อภัยต่อกัน ใช้ภาษาเพื่อสั่งสอนคนให้เป็นคนเจริญ ใช้ภาษาสอนให้คนซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อความพัฒนาถาวรของชาติ ” พล.อ.เปรม กล่าว
จากนั้น พล.อ.เปรม ให้สัมภาษณ์ด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มว่า คนไทยควรใช้ภาษาไทยเพื่อลดความรุนแรงและปัญหาของคนในชาติ แต่คุณเก่งนะ ที่ใช้เรื่องภาษาไทยเริ่มต้นก่อน แล้วค่อยถามเรื่องอื่น ท่านต้องการถามผมเรื่องอุดรใช่ไหม ผมขอไม่ให้ความเห็นดีกว่า เป็นการยากที่จะพูดเรื่องนี้เพราะไม่รู้ข้อเท็จจริง และไม่รู้ว่าเรื่องราวเกิดขึ้นอย่างไร
เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่ที่สังคมไทยเกิดความแตกแยก พล.อ.เปรม กล่าวว่า “ กังวลน่ะ กังวลแน่เพราะไม่อยากให้แตกแยกกัน ” เมื่อถามว่า อยากฝากให้คนไทยมีความรักความสามัคคีมากกว่านี้หรือไม่ พล.อ.เปรม กล่าวว่า "ก็ไม่ดี อย่างที่เห็น" เมื่อถามว่า ควรให้คนที่เป็นแกนนำทั้ง 2 ฝ่ายออกมาช่วยสงบสติทั้งสองฝ่ายหรือไม่ พล.อ.เปรม กล่าวว่า “ ผมไม่ค่อยทราบว่า ฝ่ายไหนเป็นใคร จึงยากที่จะออกความเห็น ” เมื่อถามว่า บ้านเมืองเรายังหวังที่จะปรองดองกันได้หรือไม่ พล.อ.เปรม กล่าวว่า “ ผมคิดว่าได้แน่ แต่คุณอาจจะไม่ทันเพราะอายุยังน้อย อย่างผมรู้ดีว่า คนไทยเมื่อถึงคราวคับขัน ถึงคราวที่เราจะต้องร่วมกัน เขาจะมาร่วมกันแน่นอน ผมคิดว่าแน่นอน ”
เมื่อถามว่า จะอวยพรพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เนื่องในวันเกิดครบรอบ 59 ปีอย่างไร พล.อ.เปรม ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม เพียงแต่ยิ้มก่อนที่จะเดินเลี่ยงผู้สื่อข่าวออกไป