แพทยสภา เสนอปรับเงินเดือนแพทย์อัตราใหม่เทียบเท่าโรงพยาบาลเอกชน ทุ่มงบปีละ 3 พันล้านบาท ช่วยแก้ปัญหาทั้งระบบ พร้อมปรับโครงการหมอเป็นระบบแท่งเหมือนกับค่าตอบแทนของอัยการ ผู้พิพากษา ด้าน “วิชาญ” ไฟเขียว เชื่อบังคับหมอทำงานใช้ทุน เพิ่มค่าปรับ ไม่ช่วยดึงแพทย์อยู่ในระบบ เล็งขึ้นค่าตอบแทนจูงใจให้ทำงานดีกว่า พร้อมประกาศยกสถาบันพระบรมราชชนก เป็นโรงเรียนแพทย์ ผลิตหมอเอง เตรียมเรียกประชุมแก้ปัญหาขาดหมอแคลน 8 ส.ค.นี้
วันที่ 24 กรกฎาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ. อำนาจ กุสลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า แพทยสภาได้ยื่นข้อเสนอวิธีแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ต่อนายวิชาญ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคาที่ผ่านมา โดยเสนอให้เพิ่มค่าตอบแทนแพทย์ให้มากขึ้นทัดเทียบกับแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน โดยการปรับโครงสร้างเฉพาะบุคลากรทางแพทย์ให้เป็นระบบบริหาร (แท่ง) เช่นเดียวกับค่าตอบแทนของอัยการ ผู้พิพากษา เพื่อให้ค่าตอบแทนของแพทย์แตกต่างจากข้าราชการ สธ.ทั่วไป
โดยมีอัตรา ดังนี้ 1.แพทย์จบใหม่ จากเดิมมีรายได้เริ่มต้น 30,000 บาทต่อเดือน สำหรับแพทย์ที่มี่อายุงาน 1-5 ปี ให้เพิ่มอีกปีละ 2,000 บาทต่อเดือน รวม 5 ปี ได้เพิ่ม 10,000 ต่อเดือน ส่วนปีที่ 6-15 ให้เพิ่มปีละ 1,500 บาท รวม 15 ปี เพิ่มเป็น 50,000 บาท และหลังจากอายุราชการปีที่ 15 เป็นต้นไป ให้เพิ่มปีละ 1,000 บาท
นพ.อำนาจ กล่าวว่า สำหรับแพทย์เฉพาะทางที่มีวุฒิบัตร หรืออนุมัติบัตร จากเดิมมีรายได้เริ่มต้นที่ 40,000 บาทต่อเดือน ที่มีอายุราชการปีที่ 1-5 ให้เพิ่มค่าตอบแทนอีกปีละ 2,000 บาท รวมแล้วได้เพิ่ม 50,000 บาท ส่วนแพทย์ที่ทำงานตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป ให้ได้เพิ่มปีละ 1,000 บาท ส่วนแพทย์ที่เรียกต่อเฉพาะทางสาขา คือมีอนุมัติบัตร และสาขาต่อยอด จากเดิมมีรายได้เริ่มต้น 50,000 บาท ให้เพิ่มค่าตอบแทนอีกปีละ 1,000 บาท โดยไม่มีแพดานอายุราชการกำหนด
ทั้งนี้ สำหรับเงินประจำตำแหน่ง เบี้ยกันดาร เงินพิเศษ เงินเตอบแทนอื่นๆ ให้เป็นไปตามระเบียบข้าราชการอื่นๆ รวมทั้งแพทย์ที่อยู่ระหว่างการฝึกอบรม เพื่อเป็นแพทย์ วุฒิบัตรหรือนุมัติบัตร หรือสาขาต่อยอด ต้องได้รับเงินเดือนตามปกติโดยไม่มีการหยุดชะงักด้วย
“เมื่อคำนวณงบประมาณที่ สธ.จะต้องจ่ายให้แพทย์ตามอัตราดังกล่าวแล้ว เฉลี่ยแล้วเพิ่มเพียงเล็กน้อย คือคนละไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี รวมทั้งโครงสร้างแพทย์ คือเดือนละประมาณ 200 ล้านบาท หรือปีละ 3,000 บาทเท่านั้น แต่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ทั้งระบบได้ดีกว่า และทำให้แพทย์ในโรงพยาบาลสังกัด สธ.มีรายได้ใกล้เคียงแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน” นพ.อำนาจ กล่าว
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในวันที่ 8 สิงหาคมนี้ สธ. จะจัดสัมมนาแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ โดยจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาร่วมประชุม อาทิ สธ. สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) แพทยสภา คณะบดีคณะแพทยศาสตร์ เป็นต้น เพื่อหารือแนวทางการแก้ปัญหาแบบบูรณาการทั้งโครงสร้าง ว่าควรมีทิศทางอย่างไรต่อไป
“ต้องยอมรับว่า สธ.ขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์อย่างมาก โดยเฉพาะพยาบาล ที่ขาดแคลนกำลังคนถึง 27,000 คน เพราะสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ไม่ให้อัตราเพิ่ม ส่วนแพทย์ขาดแคลนอีก 1,800 คน ส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องค่าตอบแทนที่น้อยเกินไป และแพทย์จบใหม่ไม่ต้องการทำงานใช้ทุน ซึ่งชัดเจนว่า การเพิ่มค่าปรับและการบังคับให้ทำงานใช้ทุนไม่ช่วยดึงให้แพทย์อยู่ในระบบได้ ดังนั้น สธ.ควรมองเรื่องการเพิ่มค่าตอบแทนเพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้อยากทำงานจะช่วยแก้ปัญหาได้ดีกว่า” นายวิชาญ กล่าว
นายวิชาญ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ สธ.จะยกระดับสถาบันพระบรมราชชนก ที่ปัจจุบันเป็นหน่วยงานผลิตบุคลาการทางการแพทย์อยู่แล้ว โดยการให้ทุนการศึกษา แต่นำเด็กนักเรียนไปฝากเรียนไว้กับโรงเรียนแพทย์ต่างๆ ทั้ง 37 แห่งทั่วประเทศ แต่ต่อไปจะพิจารณาให้สถาบันพระบรมราชชนก ดำเนินการเปิดการเรียนการสอนแพทย์เองทั้งหมด ซึ่งทำให้แพทย์ในสธ. ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ เปลี่ยนบทบาทมาเป็นอาจารย์แพทย์ทำงานสอนนักเรียนแพทย์ให้กับ สธ.โดยไม่จำเป็นต้องไปทำงานให้กับหน่วยงานอื่นๆ ช่วยให้คนเก่งอยู่ใน สธ. มากขึ้น
วันที่ 24 กรกฎาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ. อำนาจ กุสลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า แพทยสภาได้ยื่นข้อเสนอวิธีแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ต่อนายวิชาญ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคาที่ผ่านมา โดยเสนอให้เพิ่มค่าตอบแทนแพทย์ให้มากขึ้นทัดเทียบกับแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน โดยการปรับโครงสร้างเฉพาะบุคลากรทางแพทย์ให้เป็นระบบบริหาร (แท่ง) เช่นเดียวกับค่าตอบแทนของอัยการ ผู้พิพากษา เพื่อให้ค่าตอบแทนของแพทย์แตกต่างจากข้าราชการ สธ.ทั่วไป
โดยมีอัตรา ดังนี้ 1.แพทย์จบใหม่ จากเดิมมีรายได้เริ่มต้น 30,000 บาทต่อเดือน สำหรับแพทย์ที่มี่อายุงาน 1-5 ปี ให้เพิ่มอีกปีละ 2,000 บาทต่อเดือน รวม 5 ปี ได้เพิ่ม 10,000 ต่อเดือน ส่วนปีที่ 6-15 ให้เพิ่มปีละ 1,500 บาท รวม 15 ปี เพิ่มเป็น 50,000 บาท และหลังจากอายุราชการปีที่ 15 เป็นต้นไป ให้เพิ่มปีละ 1,000 บาท
นพ.อำนาจ กล่าวว่า สำหรับแพทย์เฉพาะทางที่มีวุฒิบัตร หรืออนุมัติบัตร จากเดิมมีรายได้เริ่มต้นที่ 40,000 บาทต่อเดือน ที่มีอายุราชการปีที่ 1-5 ให้เพิ่มค่าตอบแทนอีกปีละ 2,000 บาท รวมแล้วได้เพิ่ม 50,000 บาท ส่วนแพทย์ที่ทำงานตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป ให้ได้เพิ่มปีละ 1,000 บาท ส่วนแพทย์ที่เรียกต่อเฉพาะทางสาขา คือมีอนุมัติบัตร และสาขาต่อยอด จากเดิมมีรายได้เริ่มต้น 50,000 บาท ให้เพิ่มค่าตอบแทนอีกปีละ 1,000 บาท โดยไม่มีแพดานอายุราชการกำหนด
ทั้งนี้ สำหรับเงินประจำตำแหน่ง เบี้ยกันดาร เงินพิเศษ เงินเตอบแทนอื่นๆ ให้เป็นไปตามระเบียบข้าราชการอื่นๆ รวมทั้งแพทย์ที่อยู่ระหว่างการฝึกอบรม เพื่อเป็นแพทย์ วุฒิบัตรหรือนุมัติบัตร หรือสาขาต่อยอด ต้องได้รับเงินเดือนตามปกติโดยไม่มีการหยุดชะงักด้วย
“เมื่อคำนวณงบประมาณที่ สธ.จะต้องจ่ายให้แพทย์ตามอัตราดังกล่าวแล้ว เฉลี่ยแล้วเพิ่มเพียงเล็กน้อย คือคนละไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี รวมทั้งโครงสร้างแพทย์ คือเดือนละประมาณ 200 ล้านบาท หรือปีละ 3,000 บาทเท่านั้น แต่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ทั้งระบบได้ดีกว่า และทำให้แพทย์ในโรงพยาบาลสังกัด สธ.มีรายได้ใกล้เคียงแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน” นพ.อำนาจ กล่าว
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในวันที่ 8 สิงหาคมนี้ สธ. จะจัดสัมมนาแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ โดยจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาร่วมประชุม อาทิ สธ. สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) แพทยสภา คณะบดีคณะแพทยศาสตร์ เป็นต้น เพื่อหารือแนวทางการแก้ปัญหาแบบบูรณาการทั้งโครงสร้าง ว่าควรมีทิศทางอย่างไรต่อไป
“ต้องยอมรับว่า สธ.ขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์อย่างมาก โดยเฉพาะพยาบาล ที่ขาดแคลนกำลังคนถึง 27,000 คน เพราะสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ไม่ให้อัตราเพิ่ม ส่วนแพทย์ขาดแคลนอีก 1,800 คน ส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องค่าตอบแทนที่น้อยเกินไป และแพทย์จบใหม่ไม่ต้องการทำงานใช้ทุน ซึ่งชัดเจนว่า การเพิ่มค่าปรับและการบังคับให้ทำงานใช้ทุนไม่ช่วยดึงให้แพทย์อยู่ในระบบได้ ดังนั้น สธ.ควรมองเรื่องการเพิ่มค่าตอบแทนเพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้อยากทำงานจะช่วยแก้ปัญหาได้ดีกว่า” นายวิชาญ กล่าว
นายวิชาญ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ สธ.จะยกระดับสถาบันพระบรมราชชนก ที่ปัจจุบันเป็นหน่วยงานผลิตบุคลาการทางการแพทย์อยู่แล้ว โดยการให้ทุนการศึกษา แต่นำเด็กนักเรียนไปฝากเรียนไว้กับโรงเรียนแพทย์ต่างๆ ทั้ง 37 แห่งทั่วประเทศ แต่ต่อไปจะพิจารณาให้สถาบันพระบรมราชชนก ดำเนินการเปิดการเรียนการสอนแพทย์เองทั้งหมด ซึ่งทำให้แพทย์ในสธ. ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ เปลี่ยนบทบาทมาเป็นอาจารย์แพทย์ทำงานสอนนักเรียนแพทย์ให้กับ สธ.โดยไม่จำเป็นต้องไปทำงานให้กับหน่วยงานอื่นๆ ช่วยให้คนเก่งอยู่ใน สธ. มากขึ้น