สกศ.โยนเผือกร้อนให้ “สมหวัง” กำหนดรูปแบบเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาออกจากประถมศึกษา ภายใน 1 เดือน
นายพงศกร อรรณนพพร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการสภาการศึกษาเรื่องการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษาจังหวัด โดยมีคณะกรรมของสภาการศึกษาจำนวน 56 คน และผู้แทนครูโรงเรียนมัธยม 12 คน ว่า ที่ประชุมเห็นพ้องให้มีการแยกการบริหารงานระหว่างประถมศึกษาและมัธยมศึกษาออกจากกัน ภายหลังรับปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการบริหารงานและการยกระดับคุณภาพการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา
ดังนั้น ที่ประชุมได้มีมติให้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมา 1 ชุด โดยมี นายสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เป็นประธาน และ นายสุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ เป็นรองประธาน เพื่อรวบรวมปัญหาทั้งหมด และดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนรูปแบบการดำเนินการจะเป็นเช่นไรนั้นต้องรอการศึกษาจากคณะกรรมการพิเศษศึกษาข้อมูลสรุปภายใน 1 เดือน
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะดำเนินการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน คือ การบริหารงานบุคคลให้เกิดความเป็นธรรมและเกิดความพึงพอใจให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และผลักดันให้โรงเรียนมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามคำแนะนำของอาจารย์สมหวัง ส่วนระยะยาว
นายสมหวัง กล่าวว่า คณะกรรมการที่ตนเป็นประธานจะไม่แค่คิดรูปแบบการแยกประถมและมัธยมให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น แต่จะต้องมีหลักประกันได้ด้วยว่า เมื่อดำเนินการตามนั้นแล้วจะส่งผลดีต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับมัธยมที่แท้จริง ไม่ใช่มุ่งแต่แก้ปัญหาโครงสร้างโดยไม่สนใจเรื่องคุณภาพ อย่างไรก็ตาม กรรมการชุดนี้ยังไม่มีธงใดๆ ทั้งสิ้น รวมไปถึงข้อเสนอขององค์กรครูมัธยมก็ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าจะได้ตามที่เสนอมา ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับการหารือของคณะกรรมการชุดนี้
นายพงศกร อรรณนพพร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการสภาการศึกษาเรื่องการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษาจังหวัด โดยมีคณะกรรมของสภาการศึกษาจำนวน 56 คน และผู้แทนครูโรงเรียนมัธยม 12 คน ว่า ที่ประชุมเห็นพ้องให้มีการแยกการบริหารงานระหว่างประถมศึกษาและมัธยมศึกษาออกจากกัน ภายหลังรับปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการบริหารงานและการยกระดับคุณภาพการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา
ดังนั้น ที่ประชุมได้มีมติให้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมา 1 ชุด โดยมี นายสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เป็นประธาน และ นายสุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ เป็นรองประธาน เพื่อรวบรวมปัญหาทั้งหมด และดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนรูปแบบการดำเนินการจะเป็นเช่นไรนั้นต้องรอการศึกษาจากคณะกรรมการพิเศษศึกษาข้อมูลสรุปภายใน 1 เดือน
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะดำเนินการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน คือ การบริหารงานบุคคลให้เกิดความเป็นธรรมและเกิดความพึงพอใจให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และผลักดันให้โรงเรียนมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามคำแนะนำของอาจารย์สมหวัง ส่วนระยะยาว
นายสมหวัง กล่าวว่า คณะกรรมการที่ตนเป็นประธานจะไม่แค่คิดรูปแบบการแยกประถมและมัธยมให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น แต่จะต้องมีหลักประกันได้ด้วยว่า เมื่อดำเนินการตามนั้นแล้วจะส่งผลดีต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับมัธยมที่แท้จริง ไม่ใช่มุ่งแต่แก้ปัญหาโครงสร้างโดยไม่สนใจเรื่องคุณภาพ อย่างไรก็ตาม กรรมการชุดนี้ยังไม่มีธงใดๆ ทั้งสิ้น รวมไปถึงข้อเสนอขององค์กรครูมัธยมก็ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าจะได้ตามที่เสนอมา ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับการหารือของคณะกรรมการชุดนี้