“คุณหญิงไขศรี” อดีต รมว.วัฒนธรรม ชี้ “นพดล” พูดข้อเท็จจริงครึ่งเดียว ยัน รัฐบาล “พล.อ.สุรยุทธ์” แค่มีท่าทีให้ขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ร่วม ไทย-กัมพูชา พร้อมเจรจาบริหารจัดการร่วม แต่ไทยถูกปฏิเสธจากกัมพูชามาโดยตลอด เชื่อถ้าไทยยืนยันไม่ยอม กัมพูชาคงไม่ผ่านได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกประสาทเขาพระวิหาร
คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวถึงกรณี นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่า รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ให้การสนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกว่า สมัยนั้นตนรับผิดชอบกำกับดูแลกรมศิลปากร ซึ่งจะต้องเข้าร่วมประชุมและให้ข้อเสนอแนะด้านข้อมูลประวัติศาสตร์ โบราณคดี ในขณะนั้นรัฐบาลมีท่าทีปฏิบัติตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 ที่เมืองไครสท์เชิร์ช นิวซีแลนด์ ระบุให้ไทยและกัมพูชาร่วมกันจัดทำแผนบริหารจัดการร่วมกัน และการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของทางการกัมพูชา ต้องได้รับความร่วมมือจากไทย หลังจากนั้น มีการประชุมเจรจาร่วมกันของทั้งสองฝ่าย แต่ทางการกัมพูชาปฏิเสธการหารือร่วมกันระหว่างทั้งสองประเทศ แต่ทางการไทยก็ยังพยายามเดินหน้าหาความร่วมมือกัน
“กรมศิลปากรเสนอเป็นเจ้าภาพจัดอบรมพัฒนาบุคลากรด้านโบราณสถาน และโบราณคดี ให้กับกัมพูชา ก็ไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควร นายนพดล ออกมาพูดพาดพิงถึงการทำงานในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ ไม่ได้พูดถึงข้อเท็จจริงทั้งหมด ว่า รัฐบาลที่แล้วสนับสนุนกัมพูชาอย่างมีเงื่อนไขเท่านั้น ไม่อย่างนั้นทางฝ่ายไทยจะเสนอคัดค้านในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่ประเทศนิวซีแลนด์ ทำไม และการที่คัดค้านนั้นเราต้องพูดให้เห็นด้วยว่ากัมพูชาจะมีทางออกอย่างไร” คุณหญิงไขศรี กล่าว
คุณหญิงไขศรี กล่าวอีกว่า ในช่วงที่อยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรมาตลอด ซึ่งเดินทางไปประชุมกับกัมพูชาเกี่ยวกับการทำแผนบริหารจัดการร่วมกัน ปรากฏว่า ทางกัมพูชาจัดทำขึ้นมาแล้วให้ไทยแค่รับรู้เท่านั้น เมื่อถึงรัฐบาลปัจจุบันเพิ่งจะมีการตอบรับสนับสนุนการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ตามที่ นายนพดล ไปลงนามในแถลงการณ์ร่วม ส่วนตัวแล้วยังเห็นว่าถ้าไทยยังไม่เห็นชอบด้วย คณะกรรมการมรดกโลกจะยังไม่พิจารณาแน่นอน เพราะที่ประชุมไม่อยากมีปัญหาระหว่างประเทศ
คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวถึงกรณี นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่า รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ให้การสนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกว่า สมัยนั้นตนรับผิดชอบกำกับดูแลกรมศิลปากร ซึ่งจะต้องเข้าร่วมประชุมและให้ข้อเสนอแนะด้านข้อมูลประวัติศาสตร์ โบราณคดี ในขณะนั้นรัฐบาลมีท่าทีปฏิบัติตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 ที่เมืองไครสท์เชิร์ช นิวซีแลนด์ ระบุให้ไทยและกัมพูชาร่วมกันจัดทำแผนบริหารจัดการร่วมกัน และการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของทางการกัมพูชา ต้องได้รับความร่วมมือจากไทย หลังจากนั้น มีการประชุมเจรจาร่วมกันของทั้งสองฝ่าย แต่ทางการกัมพูชาปฏิเสธการหารือร่วมกันระหว่างทั้งสองประเทศ แต่ทางการไทยก็ยังพยายามเดินหน้าหาความร่วมมือกัน
“กรมศิลปากรเสนอเป็นเจ้าภาพจัดอบรมพัฒนาบุคลากรด้านโบราณสถาน และโบราณคดี ให้กับกัมพูชา ก็ไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควร นายนพดล ออกมาพูดพาดพิงถึงการทำงานในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ ไม่ได้พูดถึงข้อเท็จจริงทั้งหมด ว่า รัฐบาลที่แล้วสนับสนุนกัมพูชาอย่างมีเงื่อนไขเท่านั้น ไม่อย่างนั้นทางฝ่ายไทยจะเสนอคัดค้านในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่ประเทศนิวซีแลนด์ ทำไม และการที่คัดค้านนั้นเราต้องพูดให้เห็นด้วยว่ากัมพูชาจะมีทางออกอย่างไร” คุณหญิงไขศรี กล่าว
คุณหญิงไขศรี กล่าวอีกว่า ในช่วงที่อยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรมาตลอด ซึ่งเดินทางไปประชุมกับกัมพูชาเกี่ยวกับการทำแผนบริหารจัดการร่วมกัน ปรากฏว่า ทางกัมพูชาจัดทำขึ้นมาแล้วให้ไทยแค่รับรู้เท่านั้น เมื่อถึงรัฐบาลปัจจุบันเพิ่งจะมีการตอบรับสนับสนุนการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ตามที่ นายนพดล ไปลงนามในแถลงการณ์ร่วม ส่วนตัวแล้วยังเห็นว่าถ้าไทยยังไม่เห็นชอบด้วย คณะกรรมการมรดกโลกจะยังไม่พิจารณาแน่นอน เพราะที่ประชุมไม่อยากมีปัญหาระหว่างประเทศ