ทปอ.ฟุ้งแก้ปัญหาการศึกษา 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้ผล มหาวิทยาลัยรัฐ และเอกชน ร่วมมือให้ทุนการศึกษา และกันที่เรียนให้เด็กใน 3 จ.ส่งผลให้เด็กในพื้นที่ดังกล่าวเลือกเรียนในสถาบัน และสาขากระจายตัวมากขึ้น หลังเรียนจบมีโอกาสได้งานทำสูง ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาความรุนแรงได้
ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(มอ.) เปิดเผยว่า จากที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) โดย มหาวิทยาลัยของรัฐทั้ง 26 แห่ง ได้ร่วมกันทำ “ปฏิญญาหาดใหญ่” เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาภาคใต้เมื่อเดือนตุลาคม 2550 ที่ผ่านมา ซึ่ง มอ.รับเป็นศูนย์ประสานงาน ทปอ.ในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวนั้น ในการประชุม ทปอ.ครั้งล่าสุด ตนได้สรุปผลการแก้ปัญหาภาคใต้รายงานต่อ ทปอ.โดยสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด ได้พิจารณาให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปีการศึกษา 2551 จำนวน 1,100 ทุน มีทั้งที่เป็นทุนยกเว้นค่าเล่าเรียน ทุนหอพัก และทุนค่าใช้จ่ายประจำวันของนักศึกษา นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยต่างๆ ยังได้กันที่นั่งเรียนสำหรับรับนักเรียนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าเรียนด้วย ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่าในปีนี้เด็กจากพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เลือกเข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษาที่หลากหลายทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชน จากเดิมที่กระจุกตัวอยู่ที่ มอ.แห่งเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ เด็กก็ยังเลือกศึกษาต่อในสาขาที่หลากหลายมากขึ้นด้วย ไม่เฉพาะในสาขาด้านศาสนาอิสลามเหมือนในอดีตเท่านั้น
“การที่เด็กกระจายตัวไปเรียนในมหาวิทยาลัยต่างๆ นอกพื้นที่ และเรียนสาขาที่หลากหลายขึ้นนั้น เป็นผลมาจากความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมดที่ต้องการนำการศึกษาช่วยแก้ปัญหาในภาคใต้ จึงได้มีการจัดสรรที่เรียนให้เด็กใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ทำให้เด็กรู้ว่าเขามีโอกาสมากขึ้นที่จะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย และสามารถเรียนที่ไหนได้บ้าง ที่สำคัญ การเลือกเรียนสาขาที่หลากหลายมากขึ้นของเด็กใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เป็นเรื่องดี เพราะหลังศึกษาจบเด็กเหล่านี้จะมีโอกาสได้งานทำมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาเด็กจะเลือกเรียนสาขาเกี่ยวกับศาสนาอิสลามส่วนใหญ่ ทำให้ไม่มีงานรองรับ ซึ่งการมีงานทำของเด็กในพื้นที่ดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญ จะสามารถแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้อย่างยั่งยืน”ดร.บุญสม กล่าว
อธิการบดี มอ.กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยในภาคเหนือหลายแห่ง ได้แจ้งความจำนงว่าต้องการให้โควตาสำหรับเด็กใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เด็กได้ไปเรียนที่ภาคเหนือ ซึ่งจะทำให้สถาบันของเขามีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ดังนั้น เด็กใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จึงได้รับการตอบรับดีมาก ทำให้เขารู้สึกว่าสังคมไทยไม่ได้ทอดทิ้ง อีกทั้งเรื่องนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สกอ.โดยบรรจุเรื่องดังกล่าวอยู่ในระบบงบประมาณแล้ว จึงเชื่อว่า ความร่วมมือของสถาบันการศึกษาที่เกิดขึ้น เป็นความร่วมมือที่จะดำเนินต่อไปอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ตนอยากให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ทุนการศึกษากับเด็กในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย เพราะปัจจุบันภาคเอกชนยังไม่ค่อยมีการสนับสนุนส่วนนี้เข้ามา หากเด็กในพื้นที่ได้รับการศึกษาด้วยการหยิบยื่นโอกาสของคนในสังคม เชื่อว่า ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จะลดน้อยลงได้ ซึ่งหากเอกชนรายใดต้องการให้ทุนการศึกษาหรือสนับสนุนด้านการศึกษาอื่นๆ สามารถติดต่อได้โดยตรงที่ สกอ.
ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(มอ.) เปิดเผยว่า จากที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) โดย มหาวิทยาลัยของรัฐทั้ง 26 แห่ง ได้ร่วมกันทำ “ปฏิญญาหาดใหญ่” เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาภาคใต้เมื่อเดือนตุลาคม 2550 ที่ผ่านมา ซึ่ง มอ.รับเป็นศูนย์ประสานงาน ทปอ.ในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวนั้น ในการประชุม ทปอ.ครั้งล่าสุด ตนได้สรุปผลการแก้ปัญหาภาคใต้รายงานต่อ ทปอ.โดยสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด ได้พิจารณาให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปีการศึกษา 2551 จำนวน 1,100 ทุน มีทั้งที่เป็นทุนยกเว้นค่าเล่าเรียน ทุนหอพัก และทุนค่าใช้จ่ายประจำวันของนักศึกษา นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยต่างๆ ยังได้กันที่นั่งเรียนสำหรับรับนักเรียนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าเรียนด้วย ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่าในปีนี้เด็กจากพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เลือกเข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษาที่หลากหลายทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชน จากเดิมที่กระจุกตัวอยู่ที่ มอ.แห่งเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ เด็กก็ยังเลือกศึกษาต่อในสาขาที่หลากหลายมากขึ้นด้วย ไม่เฉพาะในสาขาด้านศาสนาอิสลามเหมือนในอดีตเท่านั้น
“การที่เด็กกระจายตัวไปเรียนในมหาวิทยาลัยต่างๆ นอกพื้นที่ และเรียนสาขาที่หลากหลายขึ้นนั้น เป็นผลมาจากความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมดที่ต้องการนำการศึกษาช่วยแก้ปัญหาในภาคใต้ จึงได้มีการจัดสรรที่เรียนให้เด็กใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ทำให้เด็กรู้ว่าเขามีโอกาสมากขึ้นที่จะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย และสามารถเรียนที่ไหนได้บ้าง ที่สำคัญ การเลือกเรียนสาขาที่หลากหลายมากขึ้นของเด็กใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เป็นเรื่องดี เพราะหลังศึกษาจบเด็กเหล่านี้จะมีโอกาสได้งานทำมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาเด็กจะเลือกเรียนสาขาเกี่ยวกับศาสนาอิสลามส่วนใหญ่ ทำให้ไม่มีงานรองรับ ซึ่งการมีงานทำของเด็กในพื้นที่ดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญ จะสามารถแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้อย่างยั่งยืน”ดร.บุญสม กล่าว
อธิการบดี มอ.กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยในภาคเหนือหลายแห่ง ได้แจ้งความจำนงว่าต้องการให้โควตาสำหรับเด็กใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เด็กได้ไปเรียนที่ภาคเหนือ ซึ่งจะทำให้สถาบันของเขามีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ดังนั้น เด็กใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จึงได้รับการตอบรับดีมาก ทำให้เขารู้สึกว่าสังคมไทยไม่ได้ทอดทิ้ง อีกทั้งเรื่องนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สกอ.โดยบรรจุเรื่องดังกล่าวอยู่ในระบบงบประมาณแล้ว จึงเชื่อว่า ความร่วมมือของสถาบันการศึกษาที่เกิดขึ้น เป็นความร่วมมือที่จะดำเนินต่อไปอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ตนอยากให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ทุนการศึกษากับเด็กในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย เพราะปัจจุบันภาคเอกชนยังไม่ค่อยมีการสนับสนุนส่วนนี้เข้ามา หากเด็กในพื้นที่ได้รับการศึกษาด้วยการหยิบยื่นโอกาสของคนในสังคม เชื่อว่า ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จะลดน้อยลงได้ ซึ่งหากเอกชนรายใดต้องการให้ทุนการศึกษาหรือสนับสนุนด้านการศึกษาอื่นๆ สามารถติดต่อได้โดยตรงที่ สกอ.