กทม.เพิ่มความสะดวกคนกรุง ปรับระบบโทร.หมายเลขเดียว 199 แจ้งได้ทั้งไฟไหม้ เจ็บป่วยฉุกเฉิน เผยตั้งแต่ ส.ค.50 ช่วยชีวิตคนไปแล้วเกือบ 30,000 ราย เตรียมลดเวลาเข้าถึงที่หมายให้ได้ใน 7 นาที จากเดิม 8 นาที ขณะที่สถิติการโทร.เฉลี่ยกว่า 400 สายต่อวัน แต่ 70% โทร.มาก่อกวน รอง ผอ.สปภ กร้าวเตรียมเอาผิดพวกมือบอน
นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือร่วมกับ สำนักการแพทย์ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และ บริษัท ทีโอที คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เกี่ยวกับระบบเชื่อมต่อการรับแจ้งเหตุ 199 ว่า ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2550 กทม.ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลภูมิพล และโรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งสิ้น 44 แห่ง รวมถึงมูลนิธิอีก 8 แห่ง ในการสร้างเครือข่ายบริการการแพทย์ฉุกเฉิน มีการกำหนดโวนให้บริการ 9 เขตทั้ง กทม.มีโรงพยาบาลแม่ข่าย 9 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลภูมิพล โรงพยาบาลนพรัตน์ โรงพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลวชิระพยาบาล และ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
ทำให้การบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินเป็นระบบ และออกการช่วยเหลือได้รวดเร็ว แต่ในการแจ้งเหตุซึ่งปัจจุบันเป็นหมายเลข 4 หลักและเป็นของหลายหน่วยงาน เช่น หมายเลข 1646 ของศูนย์เอราวัณ 1699 ของศูนย์นเรนทร ทำให้ยากในการจดจำ กทม.จึงหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาระบบการแจ้งเหตุให้เป็นมาตรฐานสากล ในหมายเลข 3 หลัก คือ 199 ที่ปัจจุบันเป็นหมายเลขแจ้งเหตุเพลิงไหม้ อุบัติภัยต่างๆ ของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) กทม.ซึ่งหลังจากนี้ ประชาชนจะสามารถแจ้งได้ทั้งอุบัติเหตุและการให้บริการฉุกเฉินมีทั้งสิ้น 20 คู่สาย มีเครื่องตอบรับอัตโนมัติ กด 1 เป็นการแจ้งเหตุเพลิงไหม้ กด 2 เป็นการให้บริการฉุกเฉินโดยจะโอนสายต่อไปที่ศูนย์เอราวัณเพื่อแจ้งไปยังโรงพยาบาลเครือข่ายออกไปให้บริการโดยเร็ว
นายวัลลภ กล่าวด้วยว่า และตั้งแต่เดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา การทำงานร่วมกันของโรงพยาบาลในเครือข่ายได้ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินกว่า 28,000 ราย สถิติโดยเฉลี่ยเมื่อรับแจ้งเหตุเจ้าหน้าที่จะถึงจุดเกิดเหตุและเข้าช่วยเหลือได้ภายใน 8 นาทีจากเกณฑ์มาตรฐานกำหนด 12 นาที ซึ่งในอนาคตจะพัฒนาการเข้าถึงที่หมายให้ได้ภายใน 7 นาที อย่างไรก็ตาม ในแต่ละวันประชาชนจะโทรศัพท์แจ้งเหตุฉุกเฉินเป็นจำนวนกว่า 400 สาย ดังนั้น ขอความร่วมมืออย่ากดโทรศัพท์เล่น เนื่องจากที่ผ่านมามีโทรศัพท์เข้ามาก่อกวน และกดเล่น สูงถึงร้อยละ 70 นอกจากจะทำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานติดขัด และคู่สายเต็ม อาจส่งผลให้สายด่วนที่รอรับการช่วยเหลือเป็นอันตรายรุนแรงมากขึ้น และอาจเสียชีวิต หากไม่ได้รับการช่วยเหลือทันท่วงที นอกจากนี้ ยังขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนหากพบเห็นรถพยาบาลเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินโปรดให้ทางเพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลด้วย
ด้าน นายธนิก ยูถะสุนทร์ รอง ผอ.สปภ.กล่าวว่า กทม.จะดำเนินมาตรการกับผู้โทรศัพท์เข้ามาก่อกวนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน โดยจัดระบบบันทึกเสียงและหมายเลขโทรศัพท์เพื่อตรวจสอบบุคคล จากนั้นจะแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือร่วมกับ สำนักการแพทย์ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และ บริษัท ทีโอที คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เกี่ยวกับระบบเชื่อมต่อการรับแจ้งเหตุ 199 ว่า ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2550 กทม.ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลภูมิพล และโรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งสิ้น 44 แห่ง รวมถึงมูลนิธิอีก 8 แห่ง ในการสร้างเครือข่ายบริการการแพทย์ฉุกเฉิน มีการกำหนดโวนให้บริการ 9 เขตทั้ง กทม.มีโรงพยาบาลแม่ข่าย 9 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลภูมิพล โรงพยาบาลนพรัตน์ โรงพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลวชิระพยาบาล และ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
ทำให้การบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินเป็นระบบ และออกการช่วยเหลือได้รวดเร็ว แต่ในการแจ้งเหตุซึ่งปัจจุบันเป็นหมายเลข 4 หลักและเป็นของหลายหน่วยงาน เช่น หมายเลข 1646 ของศูนย์เอราวัณ 1699 ของศูนย์นเรนทร ทำให้ยากในการจดจำ กทม.จึงหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาระบบการแจ้งเหตุให้เป็นมาตรฐานสากล ในหมายเลข 3 หลัก คือ 199 ที่ปัจจุบันเป็นหมายเลขแจ้งเหตุเพลิงไหม้ อุบัติภัยต่างๆ ของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) กทม.ซึ่งหลังจากนี้ ประชาชนจะสามารถแจ้งได้ทั้งอุบัติเหตุและการให้บริการฉุกเฉินมีทั้งสิ้น 20 คู่สาย มีเครื่องตอบรับอัตโนมัติ กด 1 เป็นการแจ้งเหตุเพลิงไหม้ กด 2 เป็นการให้บริการฉุกเฉินโดยจะโอนสายต่อไปที่ศูนย์เอราวัณเพื่อแจ้งไปยังโรงพยาบาลเครือข่ายออกไปให้บริการโดยเร็ว
นายวัลลภ กล่าวด้วยว่า และตั้งแต่เดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา การทำงานร่วมกันของโรงพยาบาลในเครือข่ายได้ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินกว่า 28,000 ราย สถิติโดยเฉลี่ยเมื่อรับแจ้งเหตุเจ้าหน้าที่จะถึงจุดเกิดเหตุและเข้าช่วยเหลือได้ภายใน 8 นาทีจากเกณฑ์มาตรฐานกำหนด 12 นาที ซึ่งในอนาคตจะพัฒนาการเข้าถึงที่หมายให้ได้ภายใน 7 นาที อย่างไรก็ตาม ในแต่ละวันประชาชนจะโทรศัพท์แจ้งเหตุฉุกเฉินเป็นจำนวนกว่า 400 สาย ดังนั้น ขอความร่วมมืออย่ากดโทรศัพท์เล่น เนื่องจากที่ผ่านมามีโทรศัพท์เข้ามาก่อกวน และกดเล่น สูงถึงร้อยละ 70 นอกจากจะทำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานติดขัด และคู่สายเต็ม อาจส่งผลให้สายด่วนที่รอรับการช่วยเหลือเป็นอันตรายรุนแรงมากขึ้น และอาจเสียชีวิต หากไม่ได้รับการช่วยเหลือทันท่วงที นอกจากนี้ ยังขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนหากพบเห็นรถพยาบาลเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินโปรดให้ทางเพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลด้วย
ด้าน นายธนิก ยูถะสุนทร์ รอง ผอ.สปภ.กล่าวว่า กทม.จะดำเนินมาตรการกับผู้โทรศัพท์เข้ามาก่อกวนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน โดยจัดระบบบันทึกเสียงและหมายเลขโทรศัพท์เพื่อตรวจสอบบุคคล จากนั้นจะแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป