อธ.มศว เผยผลประชุมอธิการบดี ระบุ มีแนวคิดอยากเห็นการขับเคลื่อนงานสำคัญ จึงมีการเสนอการจัดตั้งสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ชี้ ช่วงแรกอาจใช้เงินก้นถุง สกอ.เล็งสถานที่ทำการอาจจะเป็นอาคารจามจุรีแสควร์ หรือตึกใหม่ย่านอโศก ของ มศว
ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวถึงที่ประชุมอธิการบดีได้นำเสนอเรื่องการจัดตั้งสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยขึ้น เพราะอยากเห็นการขับเคลื่อนงานที่ทปอ.ดำเนินการอยู่มีความชัดเจน เกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น และมีความเป็นหน่วยงานที่มีความเป็นองค์กรที่แท้จริง
อธิการบดี มศว กล่าวต่อไปอีกว่า ที่ผ่านมา ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เป็นการรวมตัวกันโดยเอาตัวบุคคล ซึ่งได้แก่ อธิการบดีเข้ามาร่วมประชุม ซึ่งก็สามารถทำงานได้ในระดับหนึ่ง แต่เมื่อจะทำงานเพื่อผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรม มีแรงในการขับเคลื่อนมากขึ้นทปอ.ก็มีจุดอ่อน เชื่อว่า ถ้าสมาคมที่ประชุมอธิการบดีถูกจัดตั้งขึ้นมา จะทำให้งานในหลายๆ เรื่องอาทิระบบแอดมิชชัน การคัดเด็กเข้าเรียนด้วยระบบโควตา ตลอดถึงการสอบตรง
อีกทั้งเรื่องจำนวนการผลิตบัณฑิตแต่ละสาขา ในประเทศไทย เราก็สามารถทำได้โดยตรง ซึ่งแต่เดิมระบบแอดมิชชันสำนักงานการอุดมศึกษารับผิดชอบ ต่อแต่นี้ต่อไปสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ต้องรับผิดชอบในเรื่องเหล่านี้ คาดว่า ปลายปี 2551 สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยคงจะเป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งขณะนี้ที่ประชุมอธิการบดีได้มอบหมายให้ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดูในเรื่องกรอบข้อบังคับทางกฎหมายในการจัดตั้งสมาคม
“ในส่วนของคณะกรรมการและระเบียบอื่นๆ ของสมาคม คงต้องมาประชุมกันอีกหลายครั้ง แต่โดยหลักการตอนนี้ที่ประชุม ทปอ.เห็นฟ้องกันแล้วว่าควรจะจัดตั้งเป็นสมาคม ซึ่งในช่วงแรกของการจัดตั้งเราจะของบประมาณบางส่วนจาก สกอ.ถือเป็นเงินก้นถุง ที่นำมาบริหารจัดการสมาคมในช่วงแรก ส่วนสถานที่ตั้งนั้นตอนในที่ประชุมก็เสนอที่จามจุรีสแควร์ และตึกใหม่ริมถนนอโศกมนตรี ของ มศว ซึ่งก็แล้วแต่ที่ประชุมว่าจะเลือกที่ใดก็ได้ แต่สิ่งสำคัญควรตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร”
ศ.ดร.วิรุณ กล่าวอีกว่า ส่วนสมาชิกของสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยนั้น ในช่วงแรกจะมีอธิการบดีในมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งได้เข้าร่วมในที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ส่วนมหาวิทยาลัยอื่นๆ อาทิมหาวิทยาลัยเอกชน มหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จะเข้ามาร่วมเราก็ไม่ได้จำกัด ซึ่งมหาวิทยาลัยเหล่านั้นเขาก็มีที่ประชุมของเขาอยู่แล้ว ซึ่งบทบาทของสมาคมฯในอนาคตนั้นผมหวังว่าเราจะขยายระบบการทำงานไปสู่การเรียนข้ามมหาวิทยาลัย ข้ามรายวิชา อาทิวิชาการศึกษาทั่วไป การสร้างคุณภาพทางการศึกษา การเรียนรวม หรือการเรียนด้วยสื่อทางไกล ถ้าดูจากภาระงานของสมาคม จะเห็นว่า สมาคมจะทำงานเพิ่มขึ้น และต้องรับผิดชอบงานใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย
ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวถึงที่ประชุมอธิการบดีได้นำเสนอเรื่องการจัดตั้งสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยขึ้น เพราะอยากเห็นการขับเคลื่อนงานที่ทปอ.ดำเนินการอยู่มีความชัดเจน เกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น และมีความเป็นหน่วยงานที่มีความเป็นองค์กรที่แท้จริง
อธิการบดี มศว กล่าวต่อไปอีกว่า ที่ผ่านมา ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เป็นการรวมตัวกันโดยเอาตัวบุคคล ซึ่งได้แก่ อธิการบดีเข้ามาร่วมประชุม ซึ่งก็สามารถทำงานได้ในระดับหนึ่ง แต่เมื่อจะทำงานเพื่อผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรม มีแรงในการขับเคลื่อนมากขึ้นทปอ.ก็มีจุดอ่อน เชื่อว่า ถ้าสมาคมที่ประชุมอธิการบดีถูกจัดตั้งขึ้นมา จะทำให้งานในหลายๆ เรื่องอาทิระบบแอดมิชชัน การคัดเด็กเข้าเรียนด้วยระบบโควตา ตลอดถึงการสอบตรง
อีกทั้งเรื่องจำนวนการผลิตบัณฑิตแต่ละสาขา ในประเทศไทย เราก็สามารถทำได้โดยตรง ซึ่งแต่เดิมระบบแอดมิชชันสำนักงานการอุดมศึกษารับผิดชอบ ต่อแต่นี้ต่อไปสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ต้องรับผิดชอบในเรื่องเหล่านี้ คาดว่า ปลายปี 2551 สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยคงจะเป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งขณะนี้ที่ประชุมอธิการบดีได้มอบหมายให้ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดูในเรื่องกรอบข้อบังคับทางกฎหมายในการจัดตั้งสมาคม
“ในส่วนของคณะกรรมการและระเบียบอื่นๆ ของสมาคม คงต้องมาประชุมกันอีกหลายครั้ง แต่โดยหลักการตอนนี้ที่ประชุม ทปอ.เห็นฟ้องกันแล้วว่าควรจะจัดตั้งเป็นสมาคม ซึ่งในช่วงแรกของการจัดตั้งเราจะของบประมาณบางส่วนจาก สกอ.ถือเป็นเงินก้นถุง ที่นำมาบริหารจัดการสมาคมในช่วงแรก ส่วนสถานที่ตั้งนั้นตอนในที่ประชุมก็เสนอที่จามจุรีสแควร์ และตึกใหม่ริมถนนอโศกมนตรี ของ มศว ซึ่งก็แล้วแต่ที่ประชุมว่าจะเลือกที่ใดก็ได้ แต่สิ่งสำคัญควรตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร”
ศ.ดร.วิรุณ กล่าวอีกว่า ส่วนสมาชิกของสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยนั้น ในช่วงแรกจะมีอธิการบดีในมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งได้เข้าร่วมในที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ส่วนมหาวิทยาลัยอื่นๆ อาทิมหาวิทยาลัยเอกชน มหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จะเข้ามาร่วมเราก็ไม่ได้จำกัด ซึ่งมหาวิทยาลัยเหล่านั้นเขาก็มีที่ประชุมของเขาอยู่แล้ว ซึ่งบทบาทของสมาคมฯในอนาคตนั้นผมหวังว่าเราจะขยายระบบการทำงานไปสู่การเรียนข้ามมหาวิทยาลัย ข้ามรายวิชา อาทิวิชาการศึกษาทั่วไป การสร้างคุณภาพทางการศึกษา การเรียนรวม หรือการเรียนด้วยสื่อทางไกล ถ้าดูจากภาระงานของสมาคม จะเห็นว่า สมาคมจะทำงานเพิ่มขึ้น และต้องรับผิดชอบงานใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย