“หมอวิชัย” เดินหน้าซีแอลที่ค้างคาเต็มสูบ เซ็นอนุมัติจัดซื้อยามะเร็ง เอดส์ ทันที พร้อมส่งรายงานการประชุมให้รัฐมนตรีตามปกติ พร้อมเสนอตั้งคณะกรรมการบอร์ดเพิ่ม ด้าน “ไชยา” เนื้อหอมเตรียมเดินสายขึ้นศาล อ้างท้องเสีย ยกเลิกงานกระทรวงกะทันหัน แถมโยนเผือกร้อน อภ.ให้ “วิชาญ” ดูแล
วันที่ 30 มิ.ย.ที่องค์การเภสัชกรรม (อภ.) นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ดเป็นครั้งแรก ภายหลังศาลปกครองตัดสินทุเลาคำสั่งมติ ครม.การแต่งตั้งคณะกรรมการบอร์ด อภ.โดยใช้เวลานานกว่า 2 ชั่วโมง ว่า การประชุมในครั้งนี้ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติงานกับผู้บริหาร และพนักงาน เจ้าหน้าที่ อภ.เนื่องจากการที่ศ่าลที่คำสั่งเช่นนี้ ถือเป็นกรณีแรกในประเทศไทย นอกจากนี้ คณะกรรมการยังต้องเร่งหารือวาระเร่งด่วนต่างๆ โดยได้ดำเนินการเรื่อง การบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) ที่ยังค้างอยู่ คือ ได้ลงนามอนุมัติการจัดซื้อยาที่ทำซีแอล 2 รายการ คือ ยาต้านไวรัสเอดส์ เอฟฟาไวเรนซ์ สั่งซื้อเป็นครั้งที่ 5 จำนวน 1 แสนขวด ในราคาขวดละ 300 บาท จากบริษัท เอ็มเคียว ประเทศอินเดีย ซึ่งถูกกว่าเดิม 50% ประหยัดงบประมาณได้ 10 กว่าล้านบาท สำหรับผู้ป่วย 3 แสนรายเพื่อใช้ใน 1 เดือน
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ได้อนุมัติการสั่งซื้อยารักษามะเร็งปอดและเต้านม โดซีแท็กเซล จากบริษัท ดาเบอร์ ประเทศอินเดีย ในราคา 1,245 บาท ต่อเข็ม จาก 25,000 บาท ต่อเข็ม สำหรับผู้ป่วย 1,000 ราย จากที่ผู้ป่วยต้องใช้คนละ 400,000 บาท เหลือเพียง 20,000 บาท หรือถูกลง 20 เท่า โดยวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ได้อนุมัติการขึ้นทะเบียนยาดังกล่าว และคาดว่า จะได้รับยาภายใน 1-2 สัปดาห์ นอกจากนี้ ได้ประสานให้สำนักงานโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตรวจสอบจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องการใช้ยา โดซีแท็กเซล เพิ่มเติมเชื่อว่าจะมีมากกว่า 1,000 ราย เพราะยามีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์สามารถใช้ได้กับมะเร็งถึง 6 ชนิด เพื่อเป็นข้อมูลในการสั่งซื้อยาครั้งต่อไป
“ราคายาที่ถูกลงเรื่อยๆ เป็นผลมาจากการทำซีแอล ที่ทำให้บริษัทยาสามัญเข้ามาแข่งขันได้มากขึ้น โดยมีบริษัทยาสามัญที่ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ เข้ามาขึ้นทะเบียนยาอีก 4 บริษัท ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันและทำให้แนวโน้มราคายาต่ำลงอีก ซึ่งการเดินหน้าทำซีแอล ตามกระบวนการ สปสช.จะต้องเป็นผู้พิจารณาและเสนอให้กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการ ส่วน อภ.เป็นผู้ปฏิบัติตาม ทำหน้าที่ในการจัดหายาราคาถูก แม้ รมต.กระทรวงสาธารณสุข จะไม่เห็นด้วยกับนโยบายการทำซีแอล แต่โครงสร้างคณะกรรมการ สปสช.มีตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ มีอิสระมากกว่าหน่วยงานรัฐ ที่ต้องขึ้นกับ รมต.” นพ.วิชัย กล่าว
“ที่ประชุมไม่มีการพูดถึงคำสั่งศาลปกครอง เพราะมีนักกฎหมายที่ดูแลอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องนำมาหารืออีก โดยการประชุมในวันนี้ จะมีการส่งรายงานการประชุมให้ นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข ตามปกติ ซึ่งจะรายงานผลการดำเนินการทุกอย่าง รวมถึงการเสนอให้ตั้งคณะกรรมการเพิ่ม โดยเฉพาะสัดส่วนจากกระทรวงการคลัง ถือเป็นหน้าที่ของนายไชยา ที่ต้องดำเนินการ หากนิ่งเฉย นายไชยา ก็ต้องรับผิดชอบเอง”นพ.วิชัย กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามกำหนดการณ์ ในวันนี้ นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข ต้องเดินทางไปตรวจเยี่ยมพื้นที่ จ.อุบลราชธานี และ จ.ยโสธรแต่ได้ยกเลิกงานทั้งหมด โดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ทั้งนี้ นายไชยา ให้สัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์ ว่า สาเหตุที่ยกเลิกงานเพราะไม่สบาย ท้องเสีย เนื่องจากไปรับประทานขนมจีนในงานบวชเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กำลังเร่งร่างหนังสือชี้แจงศาลรัฐธรรมนูญ กรณีขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี ซึ่งจะมีการพิจารณาเรื่องภายในสัปดาห์นี้ ส่วนการยื่นอุทรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด กรณีมีคำสั่งทุเลามติ ครม.แต่งตั้งคณะกรรมการ อภ.นั้น ยืนยันว่า จะยื่นอุทธรณ์ ภายใน 15 วันตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งจะยื่นอุทธรณ์กรณีความสมบูรณ์ของบอร์ด อภ.ชุดที่มี นพ.วิชัย เป็นประธาน เนื่องจากขาดคณะกรรมการที่มาจากกระทรวงการคลัง นอกจากนี้ กรณีที่ศาลปกครองนัดไต่สวนกรณีให้สัมภาษณ์หมิ่นศาล ในวันที่ 2 กรกฎาคม นี้ ยืนยันว่า จะเดินทางไปให้ปากคำด้วยตนเอง
“การที่บอร์ด อภ.มีการประชุมในวันนี้ก็ประชุมได้ เพราะศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ส่วนการที่บอร์ดจะเสนอคณะกรรมการอื่นมทาเพิ่มเติมนั้นก็ลองเสนอมาให้ดูแต่นี่ผมยังไม่ห็น อย่างไรก็ตามคงให้รัฐมนตรีช่วย (นายวิชาญ มีนชัยนันท์)เป็นผู้พิจารณา”นายไชยา กล่าว และว่า ส่วนกรณี นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตรียมฟ้องศาลปกครองกรณีถูกโยกย้ายไม่เป็นธรรมนั้น ยังไม่รู้ ไม่ทราบเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น
ด้าน นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ อภ.กล่าวว่า พนักงาน อภ.จะทำตามนโยบายและมติของบอร์ด เพราะถือว่ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยการทำงานของบอร์ด ชุด นายถิรชัย วุฒิธรรม ยังไม่มีการออกคำสั่งหรือนโยบายใด เพียงแต่มีการเตรียมตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ และปรับนโยบายบางอย่างเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่า ไม่มีการกดดันให้ตนลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งตนถือว่าทำงานตามมติ ครม. โดยในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมนี้ จะมีการประชุมพนักงานของ อภ.เพื่อกำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานปี 2552
วันที่ 30 มิ.ย.ที่องค์การเภสัชกรรม (อภ.) นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ดเป็นครั้งแรก ภายหลังศาลปกครองตัดสินทุเลาคำสั่งมติ ครม.การแต่งตั้งคณะกรรมการบอร์ด อภ.โดยใช้เวลานานกว่า 2 ชั่วโมง ว่า การประชุมในครั้งนี้ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติงานกับผู้บริหาร และพนักงาน เจ้าหน้าที่ อภ.เนื่องจากการที่ศ่าลที่คำสั่งเช่นนี้ ถือเป็นกรณีแรกในประเทศไทย นอกจากนี้ คณะกรรมการยังต้องเร่งหารือวาระเร่งด่วนต่างๆ โดยได้ดำเนินการเรื่อง การบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) ที่ยังค้างอยู่ คือ ได้ลงนามอนุมัติการจัดซื้อยาที่ทำซีแอล 2 รายการ คือ ยาต้านไวรัสเอดส์ เอฟฟาไวเรนซ์ สั่งซื้อเป็นครั้งที่ 5 จำนวน 1 แสนขวด ในราคาขวดละ 300 บาท จากบริษัท เอ็มเคียว ประเทศอินเดีย ซึ่งถูกกว่าเดิม 50% ประหยัดงบประมาณได้ 10 กว่าล้านบาท สำหรับผู้ป่วย 3 แสนรายเพื่อใช้ใน 1 เดือน
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ได้อนุมัติการสั่งซื้อยารักษามะเร็งปอดและเต้านม โดซีแท็กเซล จากบริษัท ดาเบอร์ ประเทศอินเดีย ในราคา 1,245 บาท ต่อเข็ม จาก 25,000 บาท ต่อเข็ม สำหรับผู้ป่วย 1,000 ราย จากที่ผู้ป่วยต้องใช้คนละ 400,000 บาท เหลือเพียง 20,000 บาท หรือถูกลง 20 เท่า โดยวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ได้อนุมัติการขึ้นทะเบียนยาดังกล่าว และคาดว่า จะได้รับยาภายใน 1-2 สัปดาห์ นอกจากนี้ ได้ประสานให้สำนักงานโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตรวจสอบจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องการใช้ยา โดซีแท็กเซล เพิ่มเติมเชื่อว่าจะมีมากกว่า 1,000 ราย เพราะยามีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์สามารถใช้ได้กับมะเร็งถึง 6 ชนิด เพื่อเป็นข้อมูลในการสั่งซื้อยาครั้งต่อไป
“ราคายาที่ถูกลงเรื่อยๆ เป็นผลมาจากการทำซีแอล ที่ทำให้บริษัทยาสามัญเข้ามาแข่งขันได้มากขึ้น โดยมีบริษัทยาสามัญที่ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ เข้ามาขึ้นทะเบียนยาอีก 4 บริษัท ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันและทำให้แนวโน้มราคายาต่ำลงอีก ซึ่งการเดินหน้าทำซีแอล ตามกระบวนการ สปสช.จะต้องเป็นผู้พิจารณาและเสนอให้กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการ ส่วน อภ.เป็นผู้ปฏิบัติตาม ทำหน้าที่ในการจัดหายาราคาถูก แม้ รมต.กระทรวงสาธารณสุข จะไม่เห็นด้วยกับนโยบายการทำซีแอล แต่โครงสร้างคณะกรรมการ สปสช.มีตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ มีอิสระมากกว่าหน่วยงานรัฐ ที่ต้องขึ้นกับ รมต.” นพ.วิชัย กล่าว
“ที่ประชุมไม่มีการพูดถึงคำสั่งศาลปกครอง เพราะมีนักกฎหมายที่ดูแลอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องนำมาหารืออีก โดยการประชุมในวันนี้ จะมีการส่งรายงานการประชุมให้ นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข ตามปกติ ซึ่งจะรายงานผลการดำเนินการทุกอย่าง รวมถึงการเสนอให้ตั้งคณะกรรมการเพิ่ม โดยเฉพาะสัดส่วนจากกระทรวงการคลัง ถือเป็นหน้าที่ของนายไชยา ที่ต้องดำเนินการ หากนิ่งเฉย นายไชยา ก็ต้องรับผิดชอบเอง”นพ.วิชัย กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามกำหนดการณ์ ในวันนี้ นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข ต้องเดินทางไปตรวจเยี่ยมพื้นที่ จ.อุบลราชธานี และ จ.ยโสธรแต่ได้ยกเลิกงานทั้งหมด โดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ทั้งนี้ นายไชยา ให้สัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์ ว่า สาเหตุที่ยกเลิกงานเพราะไม่สบาย ท้องเสีย เนื่องจากไปรับประทานขนมจีนในงานบวชเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กำลังเร่งร่างหนังสือชี้แจงศาลรัฐธรรมนูญ กรณีขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี ซึ่งจะมีการพิจารณาเรื่องภายในสัปดาห์นี้ ส่วนการยื่นอุทรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด กรณีมีคำสั่งทุเลามติ ครม.แต่งตั้งคณะกรรมการ อภ.นั้น ยืนยันว่า จะยื่นอุทธรณ์ ภายใน 15 วันตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งจะยื่นอุทธรณ์กรณีความสมบูรณ์ของบอร์ด อภ.ชุดที่มี นพ.วิชัย เป็นประธาน เนื่องจากขาดคณะกรรมการที่มาจากกระทรวงการคลัง นอกจากนี้ กรณีที่ศาลปกครองนัดไต่สวนกรณีให้สัมภาษณ์หมิ่นศาล ในวันที่ 2 กรกฎาคม นี้ ยืนยันว่า จะเดินทางไปให้ปากคำด้วยตนเอง
“การที่บอร์ด อภ.มีการประชุมในวันนี้ก็ประชุมได้ เพราะศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ส่วนการที่บอร์ดจะเสนอคณะกรรมการอื่นมทาเพิ่มเติมนั้นก็ลองเสนอมาให้ดูแต่นี่ผมยังไม่ห็น อย่างไรก็ตามคงให้รัฐมนตรีช่วย (นายวิชาญ มีนชัยนันท์)เป็นผู้พิจารณา”นายไชยา กล่าว และว่า ส่วนกรณี นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตรียมฟ้องศาลปกครองกรณีถูกโยกย้ายไม่เป็นธรรมนั้น ยังไม่รู้ ไม่ทราบเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น
ด้าน นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ อภ.กล่าวว่า พนักงาน อภ.จะทำตามนโยบายและมติของบอร์ด เพราะถือว่ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยการทำงานของบอร์ด ชุด นายถิรชัย วุฒิธรรม ยังไม่มีการออกคำสั่งหรือนโยบายใด เพียงแต่มีการเตรียมตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ และปรับนโยบายบางอย่างเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่า ไม่มีการกดดันให้ตนลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งตนถือว่าทำงานตามมติ ครม. โดยในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมนี้ จะมีการประชุมพนักงานของ อภ.เพื่อกำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานปี 2552