กทม.จับมือบริษัทผู้ผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ของไทยเข้าสู่ระบบตรวจสอบย้อนกลับเนื้อสัตว์สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค ควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ด้วยการตรวจสอบผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่แค่ส่งข้อความแป๊บเดียวรู้ผล
นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการระบบตรวจสอบย้อนกลับเนื้อสัตว์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ระหว่าง กทม.กับ รอง ศ.ดร.ชัยรงค์ คันธพนิต ประธานสหกรณ์โคเนื้อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน จำกัด พ.อ.หญิง มัทนา โอสทหงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ นายวีระชัย รัตนบานชื่น รองกรรมการผู้จัดการบริหารสายงานอาหารสัตว์บก และ นายธีระศักดิ์ อรุนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการบริหารสายงานอาหารแปรรูปครบวงจร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด ซึ่งการลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ สืบเนื่องจาก กทม.ได้ร่วมกับศูนย์วิจัยโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และเครือเบทาโกร จัดทำต้นแบบของระบบตรวจสอบย้อนกลับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบและเฝ้าระวังโรคที่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค โดยก่อนที่จะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงทางกทม.โดยกองสัตวแพทย์ สาธารณสุข ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบมาตรฐานของทางบริษัทตามข้อกำหนดสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มอช.) เช่น การตรวจสอบสารตกค้าง สวัสดิภาพสัตว์และการดูแลสัตว์ มีโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน กระบวนการผลิตถูกสุขลักษณะทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เครื่องมือเครื่องใช้ และบุคลากร มาตรฐานการเชือด การขนส่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ และการตรวจสอบย้อนกลับไปยังผู้ผลิตได้ ซึ่งหลังจากผ่านเกณฑ์ดังกล่าวแล้วกทม.ได้มอบใบรับรองและตราสัญลักษณ์เพื่อนำไปติดบนบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุเนื้อสัตว์ซึ่งประชาชนสามารถตรวจสอบย้อนกลับที่มาของเนื้อสัตว์ได้ทาง www.bangkok.go.th/vet หรือ www.bangkok.go.th/vet_bma.com หรือล่าสุดสามารถตรวจสอบได้ทางโทรศัพทืมือถือด้วยการส่ง SMS พิมพ์ TM ตามด้วยเลขชุดการผลิต แล้วส่งมาที่หมายเลข 4545111 จากนั้นจะมีข้อความตอบกลับมาว่าเนื้อสัตว์ดังกล่าวผลิตจากสถานที่ใด บริษัทใด
นายวัลลภ กล่าวว่า ระบบตรวจสอบย้อนกลับเนื้อสัตว์จะเป็นประโยชน์ในการเฝ้าระวังโรค เนื่องจากปัจจุบันประชาชนยังมีโอกาสได้รับความเสี่ยงอันตรายจากการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ไม่สะอาด และปนเปื้อนเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตของผู้บริโภคได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาดของสัตว์ที่สามารถติดต่อสู่คน เช่น โรคไข้หวัดนก โรคแอนแทรกซ์ รวมถึงอันตรายจากยา หรือสารที่ตกค้างในเนื้อสัตว์ เช่น สารเร่งเนื้อแดง ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น ซึ่งเมื่อมีระบบนี้จะทำให้ประชาชนมั่นใจว่าเนื้อสัตว์มาจากแหล่งผลิตที่มีความปลอดภัยได้มาตรฐาน และจะเป็นการเฝ้าระวังโรค รวมถึงสามารถบ่งชี้แหล่งที่มาของเนื้อสัตว์ที่มีปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถช่วยควบคุมโรคไม่ให้แพร่ขยายออกไป ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวสามารถตรวจสอบเนื้อสัตว์ที่วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าเท่านั้น ส่วนเนื้อสัตว์ที่จำหน่ายตามตลาดสดขณะนี้ยังไม่สามารถใช้ระบบดังกล่าวได้แต่จะมีการผลักดันให้เข้าสู่ระบบในอนาคต แต่อย่างไรก็ตาม กทม.ได้มีการสุ่มตรวจเนื้อสัตว์เป็นประจำอยู่แล้ว
นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการระบบตรวจสอบย้อนกลับเนื้อสัตว์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ระหว่าง กทม.กับ รอง ศ.ดร.ชัยรงค์ คันธพนิต ประธานสหกรณ์โคเนื้อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน จำกัด พ.อ.หญิง มัทนา โอสทหงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ นายวีระชัย รัตนบานชื่น รองกรรมการผู้จัดการบริหารสายงานอาหารสัตว์บก และ นายธีระศักดิ์ อรุนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการบริหารสายงานอาหารแปรรูปครบวงจร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด ซึ่งการลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ สืบเนื่องจาก กทม.ได้ร่วมกับศูนย์วิจัยโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และเครือเบทาโกร จัดทำต้นแบบของระบบตรวจสอบย้อนกลับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบและเฝ้าระวังโรคที่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค โดยก่อนที่จะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงทางกทม.โดยกองสัตวแพทย์ สาธารณสุข ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบมาตรฐานของทางบริษัทตามข้อกำหนดสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มอช.) เช่น การตรวจสอบสารตกค้าง สวัสดิภาพสัตว์และการดูแลสัตว์ มีโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน กระบวนการผลิตถูกสุขลักษณะทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เครื่องมือเครื่องใช้ และบุคลากร มาตรฐานการเชือด การขนส่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ และการตรวจสอบย้อนกลับไปยังผู้ผลิตได้ ซึ่งหลังจากผ่านเกณฑ์ดังกล่าวแล้วกทม.ได้มอบใบรับรองและตราสัญลักษณ์เพื่อนำไปติดบนบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุเนื้อสัตว์ซึ่งประชาชนสามารถตรวจสอบย้อนกลับที่มาของเนื้อสัตว์ได้ทาง www.bangkok.go.th/vet หรือ www.bangkok.go.th/vet_bma.com หรือล่าสุดสามารถตรวจสอบได้ทางโทรศัพทืมือถือด้วยการส่ง SMS พิมพ์ TM ตามด้วยเลขชุดการผลิต แล้วส่งมาที่หมายเลข 4545111 จากนั้นจะมีข้อความตอบกลับมาว่าเนื้อสัตว์ดังกล่าวผลิตจากสถานที่ใด บริษัทใด
นายวัลลภ กล่าวว่า ระบบตรวจสอบย้อนกลับเนื้อสัตว์จะเป็นประโยชน์ในการเฝ้าระวังโรค เนื่องจากปัจจุบันประชาชนยังมีโอกาสได้รับความเสี่ยงอันตรายจากการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ไม่สะอาด และปนเปื้อนเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตของผู้บริโภคได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาดของสัตว์ที่สามารถติดต่อสู่คน เช่น โรคไข้หวัดนก โรคแอนแทรกซ์ รวมถึงอันตรายจากยา หรือสารที่ตกค้างในเนื้อสัตว์ เช่น สารเร่งเนื้อแดง ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น ซึ่งเมื่อมีระบบนี้จะทำให้ประชาชนมั่นใจว่าเนื้อสัตว์มาจากแหล่งผลิตที่มีความปลอดภัยได้มาตรฐาน และจะเป็นการเฝ้าระวังโรค รวมถึงสามารถบ่งชี้แหล่งที่มาของเนื้อสัตว์ที่มีปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถช่วยควบคุมโรคไม่ให้แพร่ขยายออกไป ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวสามารถตรวจสอบเนื้อสัตว์ที่วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าเท่านั้น ส่วนเนื้อสัตว์ที่จำหน่ายตามตลาดสดขณะนี้ยังไม่สามารถใช้ระบบดังกล่าวได้แต่จะมีการผลักดันให้เข้าสู่ระบบในอนาคต แต่อย่างไรก็ตาม กทม.ได้มีการสุ่มตรวจเนื้อสัตว์เป็นประจำอยู่แล้ว