เผย 73 สถาบันการศึกษาปล่อยกู้นักเรียน นักศึกษาซ้ำซ้อนทั้ง กยศ.-กรอ. แจ้งให้ติดต่อกลับเพื่อชี้แจงเหตุผล และคืนเงินกองทุนใดกองทุนหนึ่ง ภายใน 30 มิ.ย.นี้ ก่อนทำหนังสือเตือนถึงสถาบันที่ยังนิ่งเฉย หากยังไม่ติดต่อกลับเตรียมฟ้องเอาผิดทั้งทางวินัยและกฎหมาย
นายเสริมเกียรติ ทัศนสุวรรณ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ ได้ กยศ.ได้ทำการตรวจสอบพบว่ามีสถานศึกษาจำนวน 73 แห่งที่ให้กู้ยืมซ้ำซ้อนทั้งกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต(กรอ.) และ กยศ.ในปีการศึกษา 2549 ดังนั้น ขอให้สถานศึกษาเหล่านั้น ติดต่อขอคืนเงินมายังกองทุนฯ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน มิเช่นนั้นกองทุนฯ จะแจ้งต้นสังกัดและนำเสนอคณะกรรมการ กยศ.เพื่อดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการดำเนินงาน หลักเกณฑ์และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2546 หมวด 10 มาตรการกำกับผู้กู้ยืมเงิน และผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งจะมีลำดับขั้นในการลงโทษดังนี้
กรณีเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ จะมีโทษตั้งแต่เตือนเป็นหนังสือให้ปรับปรุงแก้ไข แจ้งต้นสังกัดให้ดำเนินการลงโทษทางวินัยข้าราชการ และดำเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นโทษระดับใดก็แล้วแต่ลักษณะความผิด
ส่วนกรณีที่เป็นสถาบันการศึกษาของเอกชน จะมีโทษตั้งแต่เตือนเป็นหนังสือให้ปรับปรุงแก้ไข กำกับและควบคุมการดำเนินงานกองทุนของสถานศึกษานั้น ระงับการดำเนินการให้กู้ยืมในคณะ/สาขาวิชา เพิกถอนการมอบอำนาจการดำเนินการตามพ.ร.บ. กยศ. พ.ศ.2541 เพิกถอนการให้ความเห็นชอบการดำเนินงานกองทุนและดำเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ในเบื้องต้นกองทุนฯ ได้นำรายชื่อสถานศึกษาทั้ง 73 แห่งขึ้นเว็บไซต์ของกยศ. http://www.studentloan.or.th เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา แต่จนถึงขณะนี้มีสถานศึกษาติดต่อกลับมาน้อยมาก ฉะนั้น หลังวันที่ 30 มิถุนายน หากสถานศึกษาใดยังไม่ติดต่อคืนเงิน กองทุนฯ จะทำหนังสือแจ้งเตือนถึงสถานศึกษาเป็นรายแห่งต่อไป
“การให้เด็กกู้ทั้ง 2 กองทุนเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง จะต้องส่งคืนเงินกองทุนใดกองทุนหนึ่งกลับมา แต่เบื้องต้นเราไม่ปักใจเชื่อว่าสถานศึกษาเจตนาไม่ดี เพราะเด็กอาจมาลงทะเบียนเรียนกับที่หนึ่งและกู้กองทุนหนึ่ง แล้วต่อมาก็อาจเปลี่ยนใจไปลงทะเบียนเรียนกับอีกที่หนึ่งและกู้กับอีกกองทุนหนึ่งก็ได้ การที่สถานศึกษาไม่คืนเงิน อาจเพราะเห็นว่าเด็กได้ลงทะเบียนเรียนไปแล้ว แต่ที่จริงสถานศึกษาใดที่เด็กไม่ได้เรียนจริง ก็จะต้องส่งคืนเงินกลับมายังกองทุนฯ ซึ่งหากส่งเงินคืนมา ถือว่าเรื่องก็จบและจะไม่มีการดำเนินการลงโทษ อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นยังไม่ทราบเหตุผลแท้จริงที่สถานศึกษายังไม่คืนเงิน กองทุนฯ จึงต้องการให้สถานศึกษาติดต่อกลับมาเพื่อชี้แจง แต่หากไม่ติดต่อกลับมาเลย แล้วกองทุนฯ ไปตรวจสอบพบความผิดในความหลัง ก็จะมีการเสนอคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายเพื่อพิจารณาลงโทษตามขั้นตอนต่อไป” นายเสริมเกียรติ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายชื่อ 73 สถานศึกษาที่กยศ.นำขึ้นเว็บไซต์ http://www.studentloan.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=318&Itemid=167 มีดังนี้ 1.วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 2.วิทยาลัยพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร 3.วิทยาลัยการอาชีพปัตตานี 4.ขอนแก่น 5.ขอนแก่นบริหารธุรกิจ 6.คริสเตียน 7.เชียงใหม่ 8. ไชยพันธ์พงษ์เทคโนโลยี 9. เซนต์จอห์น 10. ดุสิตธานี 11. ทองสุข 12. เทคนิคภูพานบริหารธุรกิจ 13. เทคนิคสกลนคร 14. เทคโนโลยีน้ำโสม 15. เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 16. เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 17. เทคโนโลยีภาคใต้ 18. เทคโนโลียีมหานคร 19. เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตน่าน 20. เทคโนโลยีวังสามหมอ 21. เทคโนโลยีศรีสะเกษเฉลิมหล้า 22. เทคโนโลยีสุรนารี 23. ธีรภาดาเทคโนโลยี 24. ธุรกิจบัณฑิตย์ 25. นครราชสีมา 26. นเรศวร 27. บัณฑิตบริหารธุรกิจ 28. บูรพา 29. ปทุมธานี 30. โปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
31. โปลีเทคอำนาจเจริญ 32. พณิชยการพลาญชัยร้อยเอ็ด 33. พิษณุโลก 34. มหาสารคาม 35. มหิดล 36. แม่โจ้ 37. แม่ฟ้าหลวง 38. รังสิต 39. รัตนบัณฑิต 40. ราชธานี 41. ราชภัฏกาญจนบุรี 42. ราชภัฎกำแพงเพชร 43. ราชภัฏจันทรเกษม 44. ราชภัฏเชียงราย 45. ราชภัฏเชียงใหม่ 46. ราชภัฏเทพสตรี 47. ราชภัฏนครราชสีมา 48. ราชภัฏนครศรีธรรมราช 49. ราชภัฏนครสวรรค์ 50. ราชภัฏบุรีรัมย์ 51. ราชภัฏพระนคร 52. ราชภัฏเพชรบุรี 53. ราชภัฏภูเก็ต 54. ราชภัฏมหาสารคาม 55. ราชภัฏรำไพพรรณี 56. ราชภัฏลำปาง 57. ราชภัฏเลย 58. ราชภัฏสกลนคร 59. ราชภัฏสงขลา 60. ราชภัฏสวนดุสิต 61. ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 62. ราชภัฏอุบลราชธานี 63. รามคำแหง 64. วงษ์ชวลิตกุล 65. สงขลาเทคโนโลยี 66. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 67. โสภณเทคโนโลยี 68. หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 69. อรรถวิทย์พณิชยการ 70. อินเตอร์เทคลำปาง 71. อิสเทิร์นเอเชีย 72. อุบลราชธานี และ73. เอเซียอาคเนย์
นายเสริมเกียรติ ทัศนสุวรรณ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ ได้ กยศ.ได้ทำการตรวจสอบพบว่ามีสถานศึกษาจำนวน 73 แห่งที่ให้กู้ยืมซ้ำซ้อนทั้งกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต(กรอ.) และ กยศ.ในปีการศึกษา 2549 ดังนั้น ขอให้สถานศึกษาเหล่านั้น ติดต่อขอคืนเงินมายังกองทุนฯ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน มิเช่นนั้นกองทุนฯ จะแจ้งต้นสังกัดและนำเสนอคณะกรรมการ กยศ.เพื่อดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการดำเนินงาน หลักเกณฑ์และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2546 หมวด 10 มาตรการกำกับผู้กู้ยืมเงิน และผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งจะมีลำดับขั้นในการลงโทษดังนี้
กรณีเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ จะมีโทษตั้งแต่เตือนเป็นหนังสือให้ปรับปรุงแก้ไข แจ้งต้นสังกัดให้ดำเนินการลงโทษทางวินัยข้าราชการ และดำเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นโทษระดับใดก็แล้วแต่ลักษณะความผิด
ส่วนกรณีที่เป็นสถาบันการศึกษาของเอกชน จะมีโทษตั้งแต่เตือนเป็นหนังสือให้ปรับปรุงแก้ไข กำกับและควบคุมการดำเนินงานกองทุนของสถานศึกษานั้น ระงับการดำเนินการให้กู้ยืมในคณะ/สาขาวิชา เพิกถอนการมอบอำนาจการดำเนินการตามพ.ร.บ. กยศ. พ.ศ.2541 เพิกถอนการให้ความเห็นชอบการดำเนินงานกองทุนและดำเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ในเบื้องต้นกองทุนฯ ได้นำรายชื่อสถานศึกษาทั้ง 73 แห่งขึ้นเว็บไซต์ของกยศ. http://www.studentloan.or.th เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา แต่จนถึงขณะนี้มีสถานศึกษาติดต่อกลับมาน้อยมาก ฉะนั้น หลังวันที่ 30 มิถุนายน หากสถานศึกษาใดยังไม่ติดต่อคืนเงิน กองทุนฯ จะทำหนังสือแจ้งเตือนถึงสถานศึกษาเป็นรายแห่งต่อไป
“การให้เด็กกู้ทั้ง 2 กองทุนเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง จะต้องส่งคืนเงินกองทุนใดกองทุนหนึ่งกลับมา แต่เบื้องต้นเราไม่ปักใจเชื่อว่าสถานศึกษาเจตนาไม่ดี เพราะเด็กอาจมาลงทะเบียนเรียนกับที่หนึ่งและกู้กองทุนหนึ่ง แล้วต่อมาก็อาจเปลี่ยนใจไปลงทะเบียนเรียนกับอีกที่หนึ่งและกู้กับอีกกองทุนหนึ่งก็ได้ การที่สถานศึกษาไม่คืนเงิน อาจเพราะเห็นว่าเด็กได้ลงทะเบียนเรียนไปแล้ว แต่ที่จริงสถานศึกษาใดที่เด็กไม่ได้เรียนจริง ก็จะต้องส่งคืนเงินกลับมายังกองทุนฯ ซึ่งหากส่งเงินคืนมา ถือว่าเรื่องก็จบและจะไม่มีการดำเนินการลงโทษ อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นยังไม่ทราบเหตุผลแท้จริงที่สถานศึกษายังไม่คืนเงิน กองทุนฯ จึงต้องการให้สถานศึกษาติดต่อกลับมาเพื่อชี้แจง แต่หากไม่ติดต่อกลับมาเลย แล้วกองทุนฯ ไปตรวจสอบพบความผิดในความหลัง ก็จะมีการเสนอคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายเพื่อพิจารณาลงโทษตามขั้นตอนต่อไป” นายเสริมเกียรติ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายชื่อ 73 สถานศึกษาที่กยศ.นำขึ้นเว็บไซต์ http://www.studentloan.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=318&Itemid=167 มีดังนี้ 1.วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 2.วิทยาลัยพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร 3.วิทยาลัยการอาชีพปัตตานี 4.ขอนแก่น 5.ขอนแก่นบริหารธุรกิจ 6.คริสเตียน 7.เชียงใหม่ 8. ไชยพันธ์พงษ์เทคโนโลยี 9. เซนต์จอห์น 10. ดุสิตธานี 11. ทองสุข 12. เทคนิคภูพานบริหารธุรกิจ 13. เทคนิคสกลนคร 14. เทคโนโลยีน้ำโสม 15. เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 16. เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 17. เทคโนโลยีภาคใต้ 18. เทคโนโลียีมหานคร 19. เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตน่าน 20. เทคโนโลยีวังสามหมอ 21. เทคโนโลยีศรีสะเกษเฉลิมหล้า 22. เทคโนโลยีสุรนารี 23. ธีรภาดาเทคโนโลยี 24. ธุรกิจบัณฑิตย์ 25. นครราชสีมา 26. นเรศวร 27. บัณฑิตบริหารธุรกิจ 28. บูรพา 29. ปทุมธานี 30. โปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
31. โปลีเทคอำนาจเจริญ 32. พณิชยการพลาญชัยร้อยเอ็ด 33. พิษณุโลก 34. มหาสารคาม 35. มหิดล 36. แม่โจ้ 37. แม่ฟ้าหลวง 38. รังสิต 39. รัตนบัณฑิต 40. ราชธานี 41. ราชภัฏกาญจนบุรี 42. ราชภัฎกำแพงเพชร 43. ราชภัฏจันทรเกษม 44. ราชภัฏเชียงราย 45. ราชภัฏเชียงใหม่ 46. ราชภัฏเทพสตรี 47. ราชภัฏนครราชสีมา 48. ราชภัฏนครศรีธรรมราช 49. ราชภัฏนครสวรรค์ 50. ราชภัฏบุรีรัมย์ 51. ราชภัฏพระนคร 52. ราชภัฏเพชรบุรี 53. ราชภัฏภูเก็ต 54. ราชภัฏมหาสารคาม 55. ราชภัฏรำไพพรรณี 56. ราชภัฏลำปาง 57. ราชภัฏเลย 58. ราชภัฏสกลนคร 59. ราชภัฏสงขลา 60. ราชภัฏสวนดุสิต 61. ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 62. ราชภัฏอุบลราชธานี 63. รามคำแหง 64. วงษ์ชวลิตกุล 65. สงขลาเทคโนโลยี 66. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 67. โสภณเทคโนโลยี 68. หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 69. อรรถวิทย์พณิชยการ 70. อินเตอร์เทคลำปาง 71. อิสเทิร์นเอเชีย 72. อุบลราชธานี และ73. เอเซียอาคเนย์