ทีมแพทย์ไทยชุด 2 เดินทางกลับจากประเทศพม่าแล้ว เผยสถานการณ์ที่พม่าเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ หม่องดูแลปัญหาสาธารณสุขได้เอง ขณะที่พบผู้ป่วยซึมเศร้าจากการสูญเสียเพิ่มขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 11.30 น.วันนี้ (15 มิ.ย.) ทีมแพทย์ไทยชุดที่ 2 จำนวน 6 คน ที่เดินทางไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย “นาร์กีส” ที่ประเทศพม่า ทยอยเดินทางกลับไทยแล้ว โดยสายการบินไทย TG 304 และในคืนนี้ ทีมแพทย์ไทยชุดที่ 2 ที่เหลืออีก 21 คนจะเดินทางกลับถึงไทยพร้อมกันในเวลา 21.45 น.วันนี้
นพ.บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์ จิตแพทย์ จากกรมสุขภาพจิต ทีมแพทย์ไทยชุด 2 ที่กลับจากพม่า กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ที่พม่าสงบลงมากแล้ว ชาวบ้านบางส่วนกลับไปดำเนินชีวิตในพื้นที่อยู่อาศัยเดิม และมีระบบรองรับ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆของพม่าเข้าไปดูแล ดังนั้น ปัญหาสาธารณสุขจึงไม่น่าเป็นห่วง พม่าจัดการได้เองแล้ว
สำหรับแพทย์ทีมที่ 2 ของไทยที่ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพม่า ประกอบด้วย แพทย์อายุรกรรม จิตแพทย์ กุมารแพทย์ และพยาบาล โดยปัญหาของผู้ป่วยในระยะหลังประสบภัย 4-6 สัปดาห์ จะเน้นไปที่ปัญหาทางจิต ซึ่งจะพบเพิ่มขึ้นกว่าในช่วงแรก บางคนยังหวาดกลัว และซึมเศร้าจากความสูญเสีย เพราะสถานการณ์นิ่งลง ทำให้ชาวบ้านมีเวลาคิดถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้น ปัญหาทางจิตวิทยาจึงพบมากขึ้นประมาณร้อยละ 10 ทั้งจิตวิทยาเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนปัญหาโรคทางเดินหายใจ ลดน้อยลง โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์ด้วยอาการโรคทางกล้ามเนื้อ และอาการซึมเศร้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 11.30 น.วันนี้ (15 มิ.ย.) ทีมแพทย์ไทยชุดที่ 2 จำนวน 6 คน ที่เดินทางไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย “นาร์กีส” ที่ประเทศพม่า ทยอยเดินทางกลับไทยแล้ว โดยสายการบินไทย TG 304 และในคืนนี้ ทีมแพทย์ไทยชุดที่ 2 ที่เหลืออีก 21 คนจะเดินทางกลับถึงไทยพร้อมกันในเวลา 21.45 น.วันนี้
นพ.บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์ จิตแพทย์ จากกรมสุขภาพจิต ทีมแพทย์ไทยชุด 2 ที่กลับจากพม่า กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ที่พม่าสงบลงมากแล้ว ชาวบ้านบางส่วนกลับไปดำเนินชีวิตในพื้นที่อยู่อาศัยเดิม และมีระบบรองรับ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆของพม่าเข้าไปดูแล ดังนั้น ปัญหาสาธารณสุขจึงไม่น่าเป็นห่วง พม่าจัดการได้เองแล้ว
สำหรับแพทย์ทีมที่ 2 ของไทยที่ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพม่า ประกอบด้วย แพทย์อายุรกรรม จิตแพทย์ กุมารแพทย์ และพยาบาล โดยปัญหาของผู้ป่วยในระยะหลังประสบภัย 4-6 สัปดาห์ จะเน้นไปที่ปัญหาทางจิต ซึ่งจะพบเพิ่มขึ้นกว่าในช่วงแรก บางคนยังหวาดกลัว และซึมเศร้าจากความสูญเสีย เพราะสถานการณ์นิ่งลง ทำให้ชาวบ้านมีเวลาคิดถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้น ปัญหาทางจิตวิทยาจึงพบมากขึ้นประมาณร้อยละ 10 ทั้งจิตวิทยาเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนปัญหาโรคทางเดินหายใจ ลดน้อยลง โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์ด้วยอาการโรคทางกล้ามเนื้อ และอาการซึมเศร้า