เครือข่ายผู้ป่วยฯขู่ฟ้อง “ไชยา” ต่อ ป.ป.ช.ฐานทบทวนซีแอล ทำให้ชาติสูญเงิน 248 ล้านบาทต่อเดือน เซ็งร้องทุกช่องทางแต่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง รอฟังมติที่ประชุม 17 มิ.ย.นี้ จะเดินหน้าอย่างไร
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ในวันที่ 17 มิ.ย.นี้ เวลา 17.00 น.เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ อาทิ โรคไต โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เอดส์ ฯลฯ พร้อมด้วยนักวิชาการ นักกฎหมายจะหารือกันที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ว่า จะดำเนินการฟ้องร้อง นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข(สธ.)ต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือไม่ โดยในกรณีที่นายไชยาประกาศตอนเข้ารับตำแหน่งว่าจะทบทวนการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) จนทำให้เกิดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรัฐ ซึ่งประชาชนมีหน้าที่ในการฟ้องร้องโดยตรงกับ ป.ป.ช.ได้
“เราจะหารือกันว่า การประกาศทบทวนซีแอล ถือว่าได้ทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติแล้ว เนื่องจากบริษัทยาจากอินเดีย ไม่กล้าเซ็นสัญญานำเข้ายาสลายลิ่มเลือดหัวใจและสมอง โคลพิโดเกรล ให้กับประเทศไทย ทำให้เกิดความเสียหายจำนวน 248 ล้านบาทต่อเดือน โดยคำนวณจากราคายาโคลพิโดเกรลราคาต่ำที่สุด หากคำนวณราคายาที่ขายในท้องตลาดสูงสุดจะมีมูลค่าความเสียหายจากคำพูดของนายไชยากว่า 500 ล้านบาทต่อเดือน” น.ส.สารี กล่าว
น.ส.สารี กล่าวต่อว่า ตัวเลขมูลค่าความเสียหายนี้ เป็นการคำนวณตามหลักวิชาการอัตราการเกิดโรค และการใช้ยาในภาวะปัจจุบัน ไม่ใช่กล่าวขึ้นลอยๆ ซึ่งยาโคลพิโดเกรล มีราคา 73 บาทต่อเม็ด เมื่อมีการทำซีแอลราคาลดเหลือ 1.70 บาทต่อเม็ด แต่หากซื้อในโรงพยาบาลโดยทั่วไปจะราคา 140 บาทต่อเม็ด ซึ่งหากคิดในราคาสูงสุด จะมีค่าความเสียหายสูงเป็น 2 เท่า หรือประมาณ 500 ล้านบาท ส่วนจะอ้างว่า การทบทวนเกิดขึ้นเนื่องมากจากหนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในรัฐบาลชุดที่แล้ว ก็ไม่ควรนำมาเป็นข้ออ้างเพราะถือว่าการปฏิบัติหน้าที่ของรมว.พาณิชย์นั้นสิ้นสุดลงแล้ว อีกทั้งการส่งหนังสือฉบับดังกล่าวยังไม่ได้ส่งถึงนายไชยาอีกด้วย ขณะเดียวกัน นายไชยา ควรเป็นหลักให้กับ รมว.พาณิชย์ ในรัฐบาลของตนมากกว่า
“ที่ผ่านมา เครือข่ายฯ ได้ทำการตรวจสอบการทำงานของนายไชยา หลายหน่วยงาน หลายช่องทาง แต่ผลกับเป็นความเฉื่อยชา ตอบสนองแต่การไม่ทำอะไรเลยของรัฐบาล ร้องเรียนฟ้องร้องไป ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ป.ป.ช.จึงเป็นอีกช่องหนึ่งที่ประชาชนตัวเล็กๆ สามารถที่จะทำได้ แต่ก็ยังไม่รู้ว่า ผลจะออกมาเป็นอย่างไร สุดท้ายเครือข่ายฯ ฟ้องป.ป.ช.แล้วก็อาจไม่มีอะไรเกิดขึ้นอีกก็ได้ จึงอยู่ระหว่างการตัดสินใจ เพราะบางส่วนอาจต้องการรอการพิจารณาของวุฒิสภา ที่ก่อนหน้านี้ได้มีการเสนอถอดถอนนายไชยาไปแล้ว”น.ส.สารี กล่าว
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ในวันที่ 17 มิ.ย.นี้ เวลา 17.00 น.เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ อาทิ โรคไต โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เอดส์ ฯลฯ พร้อมด้วยนักวิชาการ นักกฎหมายจะหารือกันที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ว่า จะดำเนินการฟ้องร้อง นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข(สธ.)ต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือไม่ โดยในกรณีที่นายไชยาประกาศตอนเข้ารับตำแหน่งว่าจะทบทวนการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) จนทำให้เกิดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรัฐ ซึ่งประชาชนมีหน้าที่ในการฟ้องร้องโดยตรงกับ ป.ป.ช.ได้
“เราจะหารือกันว่า การประกาศทบทวนซีแอล ถือว่าได้ทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติแล้ว เนื่องจากบริษัทยาจากอินเดีย ไม่กล้าเซ็นสัญญานำเข้ายาสลายลิ่มเลือดหัวใจและสมอง โคลพิโดเกรล ให้กับประเทศไทย ทำให้เกิดความเสียหายจำนวน 248 ล้านบาทต่อเดือน โดยคำนวณจากราคายาโคลพิโดเกรลราคาต่ำที่สุด หากคำนวณราคายาที่ขายในท้องตลาดสูงสุดจะมีมูลค่าความเสียหายจากคำพูดของนายไชยากว่า 500 ล้านบาทต่อเดือน” น.ส.สารี กล่าว
น.ส.สารี กล่าวต่อว่า ตัวเลขมูลค่าความเสียหายนี้ เป็นการคำนวณตามหลักวิชาการอัตราการเกิดโรค และการใช้ยาในภาวะปัจจุบัน ไม่ใช่กล่าวขึ้นลอยๆ ซึ่งยาโคลพิโดเกรล มีราคา 73 บาทต่อเม็ด เมื่อมีการทำซีแอลราคาลดเหลือ 1.70 บาทต่อเม็ด แต่หากซื้อในโรงพยาบาลโดยทั่วไปจะราคา 140 บาทต่อเม็ด ซึ่งหากคิดในราคาสูงสุด จะมีค่าความเสียหายสูงเป็น 2 เท่า หรือประมาณ 500 ล้านบาท ส่วนจะอ้างว่า การทบทวนเกิดขึ้นเนื่องมากจากหนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในรัฐบาลชุดที่แล้ว ก็ไม่ควรนำมาเป็นข้ออ้างเพราะถือว่าการปฏิบัติหน้าที่ของรมว.พาณิชย์นั้นสิ้นสุดลงแล้ว อีกทั้งการส่งหนังสือฉบับดังกล่าวยังไม่ได้ส่งถึงนายไชยาอีกด้วย ขณะเดียวกัน นายไชยา ควรเป็นหลักให้กับ รมว.พาณิชย์ ในรัฐบาลของตนมากกว่า
“ที่ผ่านมา เครือข่ายฯ ได้ทำการตรวจสอบการทำงานของนายไชยา หลายหน่วยงาน หลายช่องทาง แต่ผลกับเป็นความเฉื่อยชา ตอบสนองแต่การไม่ทำอะไรเลยของรัฐบาล ร้องเรียนฟ้องร้องไป ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ป.ป.ช.จึงเป็นอีกช่องหนึ่งที่ประชาชนตัวเล็กๆ สามารถที่จะทำได้ แต่ก็ยังไม่รู้ว่า ผลจะออกมาเป็นอย่างไร สุดท้ายเครือข่ายฯ ฟ้องป.ป.ช.แล้วก็อาจไม่มีอะไรเกิดขึ้นอีกก็ได้ จึงอยู่ระหว่างการตัดสินใจ เพราะบางส่วนอาจต้องการรอการพิจารณาของวุฒิสภา ที่ก่อนหน้านี้ได้มีการเสนอถอดถอนนายไชยาไปแล้ว”น.ส.สารี กล่าว