แถลงการณ์ เรื่อง ขอให้รัฐบาลยุติการใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ชุมนุม
ตามที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีแห่งรัฐบาลได้ออกอากาศรายการพิเศษผ่านทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที เมื่อวันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม 2551 ในเวลา 09.00 น. ประกาศและข่มขู่ว่าจะดำเนินการขั้นแตกหัก โดยการเตรียมการตำรวจ ทหารไว้พร้อมแล้วเพื่อสลายการชุมนุมของประชาชนที่เข้าร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ประกอบด้วยองค์กรสมาชิกแรงงานกว่า 30 องค์กร ขอคัดค้านการกระทำใดใดที่ส่อต่อการใช้ควมรุนแรงต่อการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ อันเป็นสิทธิและเสรีภาพอันชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 ที่บัญญัติเอาไว้ว่า มาตรา 63 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ซึ่งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ได้มีการชุมนุมอยู่
ที่ผ่านมารัฐได้มีการละเลยในการแก้ไขปัญหาและดูแลความสงบเรียบร้อยในการชุมนุม ปล่อยให้มีการทำร้ายผู้ชุมนุมโดยไม่มีการดำเนินการห้ามปรามดำเนินคดี
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) มีข้อเสนอ ดังนี้
1.ขอคัดค้านการใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย การประกาศของนายกรัฐมนตรีเป็นการคุกคามการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชน
2.ขอให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยึดหลักการชุมนุมโดยสงบ เปิดเผย ปราศจากอาวุธ ตามสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในรัฐธรรมนูญ และคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุม
3.ขอให้ทุกฝ่ายที่กำลังเผชิญหน้ากันหลีกเลี่ยงการยั่วยุ และให้หาหนทางเพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งและวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ด้วยสันติวิธี
4.ขอให้ฝ่ายทหารอย่าฉกฉวยสถานการณ์ก่อการรัฐประหาร เพราะประชาชนทุกฝ่ายจะต่อต้าน จนนำไปสู่ความรุนแรงต่อชาติและประชาชน เศรษฐกิจ
ด้วยความสมานฉันท์
นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย
ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
31 พฤษภาคม 2551
ตามที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีแห่งรัฐบาลได้ออกอากาศรายการพิเศษผ่านทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที เมื่อวันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม 2551 ในเวลา 09.00 น. ประกาศและข่มขู่ว่าจะดำเนินการขั้นแตกหัก โดยการเตรียมการตำรวจ ทหารไว้พร้อมแล้วเพื่อสลายการชุมนุมของประชาชนที่เข้าร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ประกอบด้วยองค์กรสมาชิกแรงงานกว่า 30 องค์กร ขอคัดค้านการกระทำใดใดที่ส่อต่อการใช้ควมรุนแรงต่อการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ อันเป็นสิทธิและเสรีภาพอันชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 ที่บัญญัติเอาไว้ว่า มาตรา 63 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ซึ่งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ได้มีการชุมนุมอยู่
ที่ผ่านมารัฐได้มีการละเลยในการแก้ไขปัญหาและดูแลความสงบเรียบร้อยในการชุมนุม ปล่อยให้มีการทำร้ายผู้ชุมนุมโดยไม่มีการดำเนินการห้ามปรามดำเนินคดี
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) มีข้อเสนอ ดังนี้
1.ขอคัดค้านการใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย การประกาศของนายกรัฐมนตรีเป็นการคุกคามการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชน
2.ขอให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยึดหลักการชุมนุมโดยสงบ เปิดเผย ปราศจากอาวุธ ตามสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในรัฐธรรมนูญ และคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุม
3.ขอให้ทุกฝ่ายที่กำลังเผชิญหน้ากันหลีกเลี่ยงการยั่วยุ และให้หาหนทางเพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งและวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ด้วยสันติวิธี
4.ขอให้ฝ่ายทหารอย่าฉกฉวยสถานการณ์ก่อการรัฐประหาร เพราะประชาชนทุกฝ่ายจะต่อต้าน จนนำไปสู่ความรุนแรงต่อชาติและประชาชน เศรษฐกิจ
ด้วยความสมานฉันท์
นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย
ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
31 พฤษภาคม 2551