มธ.รับนักศึกษาพิการ 19 รายเข้าศึกษาต่อ “สุรพล” แย้มนักศึกษาพิการที่เรียนจบไปแล้วมีงานดีที่มั่นคงทำเพราะมีประสิทธิภาพเทียบเท่าคนปกติ แต่มีนักศึกษาบางรายเรียนไม่ไหวต้องดร็อปเอาต์ ด้าน “ศิริพร” สานฝันอยากเป็นครูเพื่อสอนเด็กเยาวชน ประชาชนเข้าใจระบอบประชาธิปไตย ขณะที่รุ่นพี่แนะน้องปรับตัวเข้ากับเพื่อน ขอให้ขยัน อดทน ตั้งใจเรียน
ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดแถลงข่าวโครงการจัดการศึกษาให้กับนักศึกษาพิการในปีการศึกษา 2551 กล่าวว่า ปีนี้มีนักศึกษาพิการสมัครเข้าเรียนทั้งสิ้น 19 คน เลือกเข้าศึกษาต่อในคณะต่างๆ ดังนี้ 1.คณะนิติศาสตร์ จำนวน 3 คน พิการทางสายตา 2.คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 1 คน ใช้รถวิลแชร์ 3.คณะรัฐศาสตร์ 3 คน พิการทางสายตา, แขนพิการทั้ง 2 ข้าง 4.คณะเศรษฐศาสตร์ 1 คน หูพิการ 5.คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 2 คน พิการทางสายตา 6.คณะศิลปศาสตร์ 4 คน ขาพิการ และพิการทางสายตา 7.คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน 3 คน พิการทางสายตา, พิการแขนและใช้รถวิลแชร์ 8.คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1 คน พิการขา 9.คณะวิศวกรรมศาสตร์ 1 คน พิการทางการได้ยิน
ซึ่ง มธ.เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยที่จัดการศึกษาแก่นักศึกษาพิการมาตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา เพื่อขยายโอกาสแก่นักศึกษาพิการ โดยในปี 2546 นั้นมีนักศึกษาพิการจำนวน 12 คน ปี 2547 มีนักศึกษาพิการจำนวน 6 คน ปี 2548 มีนักศึกษาพิการ จำนวน 12 คน ปี 2549 มีนักศึกษาพิการจำนวน 22 คน และปี 2550 มีนักศึกษาพิการจำนวน 16 คน
ขณะนี้ มธ.มีนักศึกษาพิการที่สำเร็จการศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2549 แล้วจำนวน 6 คน ซึ่งในจำนวนนี้ มีนักศึกษาพิการทางสายตา ได้รับเกียรตินิยมอันดับสองจากคณะนิติศาสตร์ 1 คน ปี 2550 มีนักศึกษาพิการจบการศึกษา จำนวน 4 คน อย่างไรก็ดี ขณะนี้มีนักศึกษาพิการที่จบไปแล้วมีงานทำทุกคน เช่น เป็นพนักงานบริษัทดีแทค, บจม.ธนาคารไทยพาณิชย์ พนักงานบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส เป็นผู้ช่วยวุฒิสมาชิก เป็นต้น
“มีนักศึกษาพิการจบน้อย เพราะ มธ.จัดการเรียนการสอนตามมาตรฐาน ตามเกณฑ์ปกติ นักศึกษาพิการทุกคนจะต้องเข้าเรียนกับนักศึกษาปกติ ทำให้ในแต่ละปีมีนักศึกษาพิการที่เรียนไม่ได้ตามเกณฑ์ต้องดร๊อปเอาท์ออกไปหลายคน จึงมั่นใจได้ว่าทุกคนที่จบการศึกษาออกไปมีคุณภาพเต็มร้อยอย่างแน่นอน” ศ.ดร.สุรพล ระบุ
ศ.ดร.สุรพล กล่าวด้วยว่า สำหรับปีการศึกษา 2552 นั้น มธ.วางแผนจะรับสมัครนักศึกษาพิการจำนวน 56 คน จากทั้งหมด 15 คณะ ประกอบด้วย คณะนิติศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ศิลปศาสตร์ วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ทันตแพทย์ศาสตร์ สหเวชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์
ด้านนางสาวศิริพร เล็กโสภี นักศึกษาพิการทางสายตา เข้าศึกษาต่อคณะรัฐศาสตร์สาขาการเมืองการปกครอง กล่าวว่า ดีใจมากที่ มธ.เปิดโอกาสด้านการศึกษาให้ผู้พิการ ทำให้ตนได้การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ระหว่างเรียนรู้ดีว่าจะต้องมาเผชิญกับอะไรบ้าง แต่ปณิธานไว้แล้วว่าจะต้องตั้งใจเรียน มุ่งมั่นและไม่ย่อท้อ ต้องการสานฝันของตนเอง เพราะฝันไว้ว่าเรียนจบจะไปเป็นครู และนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับเด็ก เยาวชน ตลอดจนผู้ปกครอง และประชาชนในชุมชนให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
“วางแผนไว้ว่าหากได้เป็นครูเมื่อไหร่ ตนจะให้ความรู้เรื่องการเมือง การปกครองประเทศตามแนวทางในระบอบประชาธิปไตย เพราะปัจจุบันนี้ เมื่อมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น เช่น การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับทราบข้อมูล ไม่รู้ว่าจะเลือกใคร บางครั้งใครมาให้เงินก็รับแล้วก็ไปลงคะแนนให้ รู้สึกเศร้าใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงอยากจะเข้าไปความรู้ที่ถูกต้องแก่เด็ก เยาวชน และประชาชน” นางสาวศิริพร กล่าว
ส่วน น.ส.สุชาดา เหล่าศรีวิจิตรหรือน้องด้า นักศึกษาคณะวิศวคอมพิวเตอร์ ปี 2 รุ่นพี่จากโครงการนักศึกษาพิการ (wheel Chair) เผยปัญหาสำคัญของกลุ่มเด็กพิการว่า มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการเรียน ซึ่งต้องอาศัยเครื่องไม้เครื่องมือในลักษณะพิเศษมากกกว่าคนปกติ หรือบางเรื่องต้องให้เพื่อนคอยช่วยเหลือ จึงอยากแนะนำน้อง ๆ ที่เพิ่งเข้ามาใหม่ว่า ขอให้ปรับตัวเข้ากับเพื่อนๆ เพราะต้องใช้ชีวิตร่วมกันหอพัก หรือระหว่างเรียน และอยากให้ทุกคนมีกำลังใจและตั้งใจเรียน อย่าท้อ โดยเฉพาะในช่วงแรกเข้าที่อาจต้องมีการปรับตัวในหลายๆ เรื่องทั้งการใช้ชีวิตในสังคม และการเรียน
ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดแถลงข่าวโครงการจัดการศึกษาให้กับนักศึกษาพิการในปีการศึกษา 2551 กล่าวว่า ปีนี้มีนักศึกษาพิการสมัครเข้าเรียนทั้งสิ้น 19 คน เลือกเข้าศึกษาต่อในคณะต่างๆ ดังนี้ 1.คณะนิติศาสตร์ จำนวน 3 คน พิการทางสายตา 2.คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 1 คน ใช้รถวิลแชร์ 3.คณะรัฐศาสตร์ 3 คน พิการทางสายตา, แขนพิการทั้ง 2 ข้าง 4.คณะเศรษฐศาสตร์ 1 คน หูพิการ 5.คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 2 คน พิการทางสายตา 6.คณะศิลปศาสตร์ 4 คน ขาพิการ และพิการทางสายตา 7.คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน 3 คน พิการทางสายตา, พิการแขนและใช้รถวิลแชร์ 8.คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1 คน พิการขา 9.คณะวิศวกรรมศาสตร์ 1 คน พิการทางการได้ยิน
ซึ่ง มธ.เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยที่จัดการศึกษาแก่นักศึกษาพิการมาตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา เพื่อขยายโอกาสแก่นักศึกษาพิการ โดยในปี 2546 นั้นมีนักศึกษาพิการจำนวน 12 คน ปี 2547 มีนักศึกษาพิการจำนวน 6 คน ปี 2548 มีนักศึกษาพิการ จำนวน 12 คน ปี 2549 มีนักศึกษาพิการจำนวน 22 คน และปี 2550 มีนักศึกษาพิการจำนวน 16 คน
ขณะนี้ มธ.มีนักศึกษาพิการที่สำเร็จการศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2549 แล้วจำนวน 6 คน ซึ่งในจำนวนนี้ มีนักศึกษาพิการทางสายตา ได้รับเกียรตินิยมอันดับสองจากคณะนิติศาสตร์ 1 คน ปี 2550 มีนักศึกษาพิการจบการศึกษา จำนวน 4 คน อย่างไรก็ดี ขณะนี้มีนักศึกษาพิการที่จบไปแล้วมีงานทำทุกคน เช่น เป็นพนักงานบริษัทดีแทค, บจม.ธนาคารไทยพาณิชย์ พนักงานบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส เป็นผู้ช่วยวุฒิสมาชิก เป็นต้น
“มีนักศึกษาพิการจบน้อย เพราะ มธ.จัดการเรียนการสอนตามมาตรฐาน ตามเกณฑ์ปกติ นักศึกษาพิการทุกคนจะต้องเข้าเรียนกับนักศึกษาปกติ ทำให้ในแต่ละปีมีนักศึกษาพิการที่เรียนไม่ได้ตามเกณฑ์ต้องดร๊อปเอาท์ออกไปหลายคน จึงมั่นใจได้ว่าทุกคนที่จบการศึกษาออกไปมีคุณภาพเต็มร้อยอย่างแน่นอน” ศ.ดร.สุรพล ระบุ
ศ.ดร.สุรพล กล่าวด้วยว่า สำหรับปีการศึกษา 2552 นั้น มธ.วางแผนจะรับสมัครนักศึกษาพิการจำนวน 56 คน จากทั้งหมด 15 คณะ ประกอบด้วย คณะนิติศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ศิลปศาสตร์ วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ทันตแพทย์ศาสตร์ สหเวชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์
ด้านนางสาวศิริพร เล็กโสภี นักศึกษาพิการทางสายตา เข้าศึกษาต่อคณะรัฐศาสตร์สาขาการเมืองการปกครอง กล่าวว่า ดีใจมากที่ มธ.เปิดโอกาสด้านการศึกษาให้ผู้พิการ ทำให้ตนได้การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ระหว่างเรียนรู้ดีว่าจะต้องมาเผชิญกับอะไรบ้าง แต่ปณิธานไว้แล้วว่าจะต้องตั้งใจเรียน มุ่งมั่นและไม่ย่อท้อ ต้องการสานฝันของตนเอง เพราะฝันไว้ว่าเรียนจบจะไปเป็นครู และนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับเด็ก เยาวชน ตลอดจนผู้ปกครอง และประชาชนในชุมชนให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
“วางแผนไว้ว่าหากได้เป็นครูเมื่อไหร่ ตนจะให้ความรู้เรื่องการเมือง การปกครองประเทศตามแนวทางในระบอบประชาธิปไตย เพราะปัจจุบันนี้ เมื่อมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น เช่น การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับทราบข้อมูล ไม่รู้ว่าจะเลือกใคร บางครั้งใครมาให้เงินก็รับแล้วก็ไปลงคะแนนให้ รู้สึกเศร้าใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงอยากจะเข้าไปความรู้ที่ถูกต้องแก่เด็ก เยาวชน และประชาชน” นางสาวศิริพร กล่าว
ส่วน น.ส.สุชาดา เหล่าศรีวิจิตรหรือน้องด้า นักศึกษาคณะวิศวคอมพิวเตอร์ ปี 2 รุ่นพี่จากโครงการนักศึกษาพิการ (wheel Chair) เผยปัญหาสำคัญของกลุ่มเด็กพิการว่า มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการเรียน ซึ่งต้องอาศัยเครื่องไม้เครื่องมือในลักษณะพิเศษมากกกว่าคนปกติ หรือบางเรื่องต้องให้เพื่อนคอยช่วยเหลือ จึงอยากแนะนำน้อง ๆ ที่เพิ่งเข้ามาใหม่ว่า ขอให้ปรับตัวเข้ากับเพื่อนๆ เพราะต้องใช้ชีวิตร่วมกันหอพัก หรือระหว่างเรียน และอยากให้ทุกคนมีกำลังใจและตั้งใจเรียน อย่าท้อ โดยเฉพาะในช่วงแรกเข้าที่อาจต้องมีการปรับตัวในหลายๆ เรื่องทั้งการใช้ชีวิตในสังคม และการเรียน