กฟผ.ดำเนินมาตรการประหยัดพลังงงาน จัดกิจกรรมรณรงค์เปลี่ยนหลอดประหยัดไฟกับวัด-มัสยิด ทั่วประเทศ 1 ล้านหลอด โดยใช้หลอดตะเกียบประหยัดไฟเบอร์ 5 โดยจะสามารถประหยัดไฟได้ถึง 70 ล้านหน่วยต่อปี ลดค่าใช้ไฟฟ้าได้ปีละกว่า 200 ล้านบาท
นางจุฬารัตน์ บุณยากร ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า วันที่ 15 พ.ค.สำนักงานพระพุทธศาสนาฯ จะลงนามความร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อดำเนินการตามโครงการ มาตรการประหยัดพลังงานเพื่อประชาชน “วัด-มัสยิด...ประหยัดไฟ...รวมใจสมานฉันท์” ที่หอประชุมพุทธมณฑล จ.นครปฐม โดย กฟผ. จะจัดกิจกรรมรณรงค์เปลี่ยนหลอดไฟประหยัดพลังงานให้กับวัด 400 แห่งทั่วประเทศ และมัสยิดอีก 100 แห่ง ใช้หลอดไฟที่จะนำมาเปลี่ยนให้รวม 1 ล้านหลอด เริ่มตั้งแต่ พ.ค.-ธ.ค.2552 ซึ่งทาง กฟผ.จะเป็นฝ่ายอุดหนุนงบประมาณทั้งหมดในการดำเนินการ
พร้อมทั้งจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปเปลี่ยนหลอดไฟให้ด้วย ซึ่งสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ จะคัดเลือกวัดเพื่อเข้ามาร่วมโครงการจากทุกภาค และหลังจากสิ้นสุดโครงการในช่วงเดือน ธ.ค. 2552 ในส่วนของวัดทั่วประเทศที่เหลืออีกประมาณ 33,000 วัดนั้น ทาง กฟผ.จะมอบหลอดประหยัดพลังงานให้วัดละ 15-20 หลอด และจะมีกิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เช่น อาจจะมีการจัดเป็นผ้าป่าหลังงงาน หรือ กฐินเบอร์ 5
“ทาง กฟผ.มองว่า วัดจำเป็นที่จะต้องใช้ไฟฟ้ามาก เพราะต้องเปิดไฟอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งเพื่อดูแลรักษาศาสนสถาน โบราณวัตถุที่มีค่า และวัดยังเป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมต่างๆ อยู่ตลอดด้วย จึงเริ่มรณรงค์ที่วัด และ กฟผ.ยังหวังว่าวัดจะเป็นแบบอย่างในการประหยัดพลังงานให้กับประชาชน” ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาฯ กล่าว
นายบรรพต แสงเขียว ผู้ช่วยผู้ว่าการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า การที่ กฟผ.เริ่มรณรงค์ในวัดนั้น เพราะเป็นสถานที่ศูนย์รวมจิตใจของคนไทย ทั้งยังเป็นแบบอย่างให้กับชุมชน และเมื่อประชาชนเห็นว่าวัดสามารถประหยัดไฟได้ผลก็จะนำไปปฏิบัติตาม สำหรับหลอดไฟที่ กฟผ.จะไปเปลี่ยนให้กับวัด และมัสยิดนำร่องนั้น มี 2 แบบ คือ หลอดตะเกียบเบอร์ 5 ราคาหลอดละ 55 บาท ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าหลอดไส้ 5 เท่า และหลอดผอมแบบT5 ขนาด 28 วัตต์ ราคาหลอดละ 255 บาท โดยจะนำหลอดไฟดังกล่าวมาเปลี่ยนให้แบบละ 500,000 หลอด ใช้งบประมาณรวมกว่า 200 ล้านบาท จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพ.ค.เป็นต้นไป ซึ่งการเปลี่ยนหลอดประหยัดพลังงาน 1 ล้านหลอด จะสามารถประหยัดหลังงานไฟฟ้าได้ถึง 70 ล้านหน่วยต่อปี สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านหลังงานไฟฟ้าลงปีละ 210 ล้านบาท ทั้งยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 35,630 ตันต่อปี
นายบรรพต กล่าวต่อว่า ในระหว่างที่ดำเนินงานโครงการจะมีการสำรวจไปยังวัดที่เป็นวัดนำร่องด้วยว่ามีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามากเพียงใด เพราะจากการประมาณการเบื้องต้นของกฟผ. พบว่าวัดขนาดใหญ่จะมีการติดตั้งหลอดไฟมากกว่า 200 หลอด นอกจากนี้เมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานของโครงการนี้ในช่วงเดือน ธ.ค.2552 ทาง กฟผ.จะประเมินผลว่าได้รับความพอใจจากทั้งวัด และมัสยิด หรือไม่ พร้อมทั้งจะมีการรณรงค์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำบุญด้วยการถวายหลอดประหยัดไฟให้วัด
นางจุฬารัตน์ บุณยากร ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า วันที่ 15 พ.ค.สำนักงานพระพุทธศาสนาฯ จะลงนามความร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อดำเนินการตามโครงการ มาตรการประหยัดพลังงานเพื่อประชาชน “วัด-มัสยิด...ประหยัดไฟ...รวมใจสมานฉันท์” ที่หอประชุมพุทธมณฑล จ.นครปฐม โดย กฟผ. จะจัดกิจกรรมรณรงค์เปลี่ยนหลอดไฟประหยัดพลังงานให้กับวัด 400 แห่งทั่วประเทศ และมัสยิดอีก 100 แห่ง ใช้หลอดไฟที่จะนำมาเปลี่ยนให้รวม 1 ล้านหลอด เริ่มตั้งแต่ พ.ค.-ธ.ค.2552 ซึ่งทาง กฟผ.จะเป็นฝ่ายอุดหนุนงบประมาณทั้งหมดในการดำเนินการ
พร้อมทั้งจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปเปลี่ยนหลอดไฟให้ด้วย ซึ่งสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ จะคัดเลือกวัดเพื่อเข้ามาร่วมโครงการจากทุกภาค และหลังจากสิ้นสุดโครงการในช่วงเดือน ธ.ค. 2552 ในส่วนของวัดทั่วประเทศที่เหลืออีกประมาณ 33,000 วัดนั้น ทาง กฟผ.จะมอบหลอดประหยัดพลังงานให้วัดละ 15-20 หลอด และจะมีกิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เช่น อาจจะมีการจัดเป็นผ้าป่าหลังงงาน หรือ กฐินเบอร์ 5
“ทาง กฟผ.มองว่า วัดจำเป็นที่จะต้องใช้ไฟฟ้ามาก เพราะต้องเปิดไฟอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งเพื่อดูแลรักษาศาสนสถาน โบราณวัตถุที่มีค่า และวัดยังเป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมต่างๆ อยู่ตลอดด้วย จึงเริ่มรณรงค์ที่วัด และ กฟผ.ยังหวังว่าวัดจะเป็นแบบอย่างในการประหยัดพลังงานให้กับประชาชน” ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาฯ กล่าว
นายบรรพต แสงเขียว ผู้ช่วยผู้ว่าการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า การที่ กฟผ.เริ่มรณรงค์ในวัดนั้น เพราะเป็นสถานที่ศูนย์รวมจิตใจของคนไทย ทั้งยังเป็นแบบอย่างให้กับชุมชน และเมื่อประชาชนเห็นว่าวัดสามารถประหยัดไฟได้ผลก็จะนำไปปฏิบัติตาม สำหรับหลอดไฟที่ กฟผ.จะไปเปลี่ยนให้กับวัด และมัสยิดนำร่องนั้น มี 2 แบบ คือ หลอดตะเกียบเบอร์ 5 ราคาหลอดละ 55 บาท ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าหลอดไส้ 5 เท่า และหลอดผอมแบบT5 ขนาด 28 วัตต์ ราคาหลอดละ 255 บาท โดยจะนำหลอดไฟดังกล่าวมาเปลี่ยนให้แบบละ 500,000 หลอด ใช้งบประมาณรวมกว่า 200 ล้านบาท จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพ.ค.เป็นต้นไป ซึ่งการเปลี่ยนหลอดประหยัดพลังงาน 1 ล้านหลอด จะสามารถประหยัดหลังงานไฟฟ้าได้ถึง 70 ล้านหน่วยต่อปี สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านหลังงานไฟฟ้าลงปีละ 210 ล้านบาท ทั้งยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 35,630 ตันต่อปี
นายบรรพต กล่าวต่อว่า ในระหว่างที่ดำเนินงานโครงการจะมีการสำรวจไปยังวัดที่เป็นวัดนำร่องด้วยว่ามีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามากเพียงใด เพราะจากการประมาณการเบื้องต้นของกฟผ. พบว่าวัดขนาดใหญ่จะมีการติดตั้งหลอดไฟมากกว่า 200 หลอด นอกจากนี้เมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานของโครงการนี้ในช่วงเดือน ธ.ค.2552 ทาง กฟผ.จะประเมินผลว่าได้รับความพอใจจากทั้งวัด และมัสยิด หรือไม่ พร้อมทั้งจะมีการรณรงค์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำบุญด้วยการถวายหลอดประหยัดไฟให้วัด