xs
xsm
sm
md
lg

กลโกงหลอกขายรถยนต์มือสอง อะไรบ้างที่ผู้บริโภคต้องระวัง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ปัจจุบันเมืองไทยแต่ละปีมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์ใช้แล้วมากถึง 700,000-800,000 คัน แน่นอนว่า ต้องมีทั้งสมหวังและผิดหวัง เท่าที่พบปัญหาที่ผู้บริโภคต้องระวังไว้มีด้วยกันหลายประการ ได้แก่
(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)
1.ส่วนใหญ่เป็นการหลอกขายรถแบบย้อมแมว คือเจ้าของเต็นท์รถจะนำรถยนต์ที่ประสบอุบัติเหตุ โดยนำซากรถมาซ่อม และปรับปรุงให้ดูดีขึ้น ซึ่งอาจจะทำสีใหม่หรืออื่นๆ แต่การปรับซ่อมนี้เองจะทำให้ระบบอีเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ภายในรถรวน ไม่สามารถใช้งานได้เหมือนเดิม และก่อปัญหาขึ้นภายหลัง

2.มีการปรับเลขไมล์ให้น้อยลงจากเดิม เช่น จาก 200,000 ไมล์ อาจปรับลดลงเหลือเพียง 150,000 ไมล์ เพื่อให้ดูว่าผ่านการใช้งานมาน้อย และผู้บริโภคไม่สามารถตรวจสอบเองได้

3.มีการนำรถที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายมาหลอกขาย เช่น รถที่ซื้อขายเป็นคันหนึ่ง เมื่อมารับจริงเป็นอีกคันหนึ่ง หรือรถติดหนี้ไฟแนนซ์

4.มีการโฆษณารายละเอียด หรือคุณสมบัติเกินความเป็นจริง

5.รถมือสองส่วนใหญ่ปิดบัง ซ่อนเร้นประวัติรถ

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)จัดการเรื่องนี้อย่างไร
สคบ.ประกาศให้รถมือสองเป็นสินค้าควบคุมฉลาก เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2550 โดยกำหนดให้ฉลากต้องบอกรายละเอียด เช่น ประเภทของรถ หมายเลขตัวถัง เลขทะเบียน เลขตัวรถ เลขเครื่องยนต์ ยี่ห้อรถ ยี่ห้อเครื่องยนต์ สี ชนิดเชื้อเพลิง ลำดับข้าวของรถ และภาระผูกพันของรถยนต์ เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ตัดสินได้อย่างรอบคอบยิ่งขึ้น

ผู้บริโภคต้องทำอย่างไร หากสนใจซื้อรถมือสอง
หากตัดสินใจแล้วว่า จะซื้อรถมือสองแน่ๆ มีข้อแนะนำ ดังนี้

1.เตรียมทำใจไว้บ้างหากรถที่ซื้อมามีปัญหา และตั้งสติ คิดหาหนทางแก้ไข

2.เตรียมเงินสำรองเอาไว้ ในยามที่รถมีปัญหาต้องซ่อมแซม

3.ติดต่อช่างซ่อมรถยนต์ที่ไว้ใจได้ ไปดูเครื่องยนต์ของรถคันนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ

4.หาข้อมูลให้รอบด้าน โดยดูจากฉลากรถยนต์ใช้แล้วที่ติดอยู่ที่ตัวรถ

5.ตรวจสอบประวัติ รถยนต์คันที่ท่านจะตัดสินใจซื้อได้ที่กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่ระบุในเลขทะเบียนรถ

6.หากประสบปัญหาติดต่อร้องเรียนได้ที่ สคบ.หรือ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

ข้อมูล: วารสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 86
กำลังโหลดความคิดเห็น