xs
xsm
sm
md
lg

ระบบขาเทียม (2) (Prosthetic Knee Systems)/ชิต เหล่าวัฒนา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ระบบขาเทียมแบบแกนเดียว (Single-axis)
ระบบขาเทียมแบบแกนเดียว (Single-axis) และหลายแกน (Polycentric)

1.ระบบขาเทียมแบบแกนเดียว (Single-axis) หรือแบบบานพับ เป็นแบบที่มีความซับซ้อนน้อยที่สุด ซึ่งทำให้แบบนี้มีราคาถูกที่สุด มีอายุการใช้งานมากที่สุด แต่มีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งน้อยที่สุด สำหรับขาเทียมแกนเดียวแบบธรรมดานี้ การเคลือนไหวในช่วงแกว่งขา (Free-swinging) ของระบบขาเทียมแบบนี้ จะไม่มีการควบคุมท่าทางของขาเทียม (Stance control) ผู้พิการจะต้องใช้แรงจากกล้ามเนื้อของตัวเองในการควบคุมขาเทียมให้มีความสมดุลเมื่อทำการยืน ด้วยเหตุนี้นี้ นักวิจัยจึงได้ทำการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยใช้การควบคุมแรงเสียดทานแบบคงที่และใช้การการล็อกแบบ Manual มาช่วยให้ผู้พิการให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น

2.ระบบขาเทียมแบบหลายแกน (Polycentric) หรือขาเทียมแบบ “Four bar” ซึ่งจะมีการออกแบบให้มีแกนหมุนหลายแกน ทำให้ขาเทียมแบบนี้มีความสมดุลอย่างมากในช่วงแรกของ Stance phase และยังง่ายต่อการงอในช่วงเริ่มต้นของ Swing phase หรือเพื่อทำการนั่ง นอกจากนี้ ขาเทียมแบบนี้ยังมีข้อดีที่ช่วงเริ่มต้น โดยความยาวของขาจะสั้นเมื่อเข้าสู่ช่วงเริ่มต้น เพื่อลดการปัญหาการเดินสะดุด ดังนั้น ระบบขาเทียมแบบนี้จึงเหมาะสมกับผู้พิการส่วนใหญ่ หรือผู้พิการที่ไม่สามารถใช้ขาเทียมแบบอื่นได้ ถึงแม้ว่าขาเทียมแบบหลายแกนมีกลไกที่ใช้ควบคุมการแกว่ง ซึ่งจะทำให้การเดินในแต่ละช่วงของการก้าวมีความเร็วที่เหมาะสม แต่ได้มีขาเทียมแบบหลายแกนจำนวนมากที่ใช้การควบคุมการแกว่งด้วยของไหล ทั้งแบบนิวเมติกและไฮดรอลิก มาช่วยในการควบคุมเพิ่มเติมเพื่อปรับความเร็วในการเดิน แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ขาเทียมแบบหลายแกนยังมีข้อจำกัดในด้านช่วงการเคลื่อนที่ของเข่าในบางมุมถึงแม้จะไม่จุดสำคัญในการเคลื่อนที่ นอกจากนี้ ขาเทียมแบบนี้ต้องการการบำรุงรักษาหรือเปลี่ยนทดแทนที่บ่อยครั้งมากกว่าแบบอื่น
 ระบบขาเทียมแบบหลายแกน (Polycentric)
วิธีการสร้างความสมดุล
Manual Vs Weight-Activated Locking Systems
ผู้พิการบางคนต้องการให้ข้อเข้ามีการล็อกเพิ่มเติม เพื่อป้องการการเคลื่อนที่ที่เร็วเกินความต้องการ ซึ่งวิธีการล็อคสามารถแบ่งวิธีการป้องกันอยู่ 2 วิธีหลักๆ ได้แก่
วิธีที่แรก ทำการล็อกเข่าแบบ Manual ซึ่งจะทำงานร่วมกับการล็อกอัตโนมัติที่สามารถทำการปลดล็อกได้เอง เนื่องจากว่าการเดินปกติมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการล็อก โดยระบบการล็อกแบบนี้เหมาะสำหรับผู้พิการที่รักษาสมดุลไม่ได้ วิธีที่สอง คือ Weight-activated stance-control knee ซึ่งจะทำการโดยใช้หลักการของน้ำหนักที่วางบนขาเทียม โดยเมื่อมีน้ำหนักกดลงที่ที่เข่า เข่าเทียมจะงอ ซึ่งลักษณะขาเทียมแบนี้เหมาะสำหรับผู้พิการที่อายุมากหรือมีกิจกรรมน้อย

(อ่านต่อฉบับวันอังคารหน้า)




 

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th
กำลังโหลดความคิดเห็น